บทนำ ของ ภูมิศาสตร์

นักภูมิศาสตร์ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักทำแผนที่และผู้ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับลำดับและชื่อของสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่านักภูมิศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับภูมินามวิทยาและการทำแผนที่แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของนักภูมิศาสตร์ นักภูมิศาสตร์เป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่และการกระจายของฐานข้อมูลเชิงเวลาจากปรากฏการณ์ กระบวนการ คุณลักษณะ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม [8] เนื่องจากพื้นที่และสถานที่ส่งผลต่อความหลากหลายของสิ่งต่าง ๆ เช่น เศรษฐศาสตร์ สุขภาพ ภูมิอากาศ พืช และสัตว์ ทำให้ภูมิศาสตร์มีความเป็นสหวิทยาการสูง ลักษณะการเป็นสหวิทยาการของวิธีการทางภูมิศาสตร์ขึ้นอยู่กับความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ทางกายภาพและมนุษย์รวมถึงแบบรูปเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้น[9]

ภูมิศาสตร์สามารถแบ่งสาขาออกกว้างๆ ได้ออกเป็นสองสาขา คือ ภูมิศาสตร์มนุษย์และภูมิศาสตร์กายภาพ ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างว่ามนุษย์สามารถรังสรรค์ จัดการ มีมุมมองและอิทธิพลต่อพื้นที่นั้นอย่างไร ในภายหลังได้มีการมุ่งเน้นถึงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติว่าสิ่งมีชีวิต ภูมิอากาศ ดิน น้ำ และธรณีสัณฐานมีผลและปฏิสัมพันธ์อย่างไร[10] ความแตกต่างระหว่างวิธีการศึกษาเหล่านี้นำไปสู่​​การเกิดสาขาที่สามซึ่งผสานกันระหว่างภูมิศาสตร์กายภาพและภูมิศาสตร์มนุษย์คือ ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์[8]

ใกล้เคียง

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ไทย ภูมิศาสตร์เอเชีย ภูมิศาสตร์ยุโรป ภูมิศาสตร์ลาว ภูมิศาสตร์ไต้หวัน ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์กัมพูชา ภูมิศาสตร์การเมือง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิศาสตร์ http://www.etymonline.com/index.php?term=geography http://dictionary.reference.com/browse/geography http://www.geog.ucsb.edu/~kclarke/G200B/four_20tra... http://www.physicalgeography.net/fundamentals/1b.h... //doi.org/10.1080%2F00221349008979196 //www.worldcat.org/issn/0022-1341 https://books.google.com/books/about/Eratosthenes_... https://books.google.com/books/about/What_is_Geogr... https://web.archive.org/web/20061006152742/http://...