ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว (อังกฤษ: tourism geography) คือการศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางและการท่องเที่ยวโดยเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวมีขอบเขตของความสนใจที่หลากหลาย เช่น ผลกระทบของการท่องเที่ยวที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจเชิงสันทนาการ การรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการจัดการประเด็นต่าง ๆ สังคมวิทยาการท่องเที่ยว และที่ตั้งของท่องเที่ยวภูมิศาสตร์เป็นพื้นฐานของการศึกษาด้านการท่องเที่ยวเนื่องมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ของธรรมชาติ การท่องเที่ยวเกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ โดยเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและกิจกรรมระหว่างสถานที่ต่าง ๆ และเป็นกิจกรรมที่มีทั้งองค์ประกอบของสถานที่และอัตลักษณ์เฉพาะตัวของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวผ่านความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นบนสถานที่ ภูมิทัศน์ และผู้คนต่าง ๆ ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นพื้นหลังสำคัญต่อการศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการจัดการการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวแนวทางการศึกษาจะแตกต่างกันไปตามจุดมุ่งเน้นที่แตกต่างกัน งานวิจัยด้านการจัดการการท่องเที่ยวส่วนใหญ่จัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณสำหรับระเบียบวิธีวิจัยและพิจารณาถึงจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยว (tourist generating areas) จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (tourist destinations) และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสถานที่เริ่มต้นและปลายทางซึ่งรวมถึงเส้นทางคมนาคม ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และแรงจูงใจในการเดินทาง[1] พัฒนาการทางภูมิศาสตร์มนุษย์ส่งผลต่อวิธีการศึกษา ตัวอย่างเช่น ภูมิศาสตร์วัฒนธรรมซึ่งช่วยให้เกิดแนวทางในทฤษฎีให้หลากหลายมากขึ้นต่อการท่องเที่ยว รวมทั้งสังคมวิทยาการท่องเที่ยวซึ่งขยายความการท่องเที่ยวว่าเป็นกิจกรรมพิเศษซึ่งพิจารณาวิธีการเดินทางที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันและการท่องเที่ยวไม่ได้เป็นเพียงการบริโภคที่เกิดขึ้นบนสถานที่เท่านั้น แต่ยังสร้างความรู้สึกต่อสถานที่บนจุดหมายปลายทางอีกด้วย[2]

ใกล้เคียง

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ไทย ภูมิศาสตร์เอเชีย ภูมิศาสตร์ยุโรป ภูมิศิลป์ ภูมิศาสตร์ไต้หวัน ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ลาว ภูมิศาสตร์กัมพูชา ภูมิศาสตร์การเมือง