มุมมองต่อเอเชีย ของ ภูมิศาสตร์เอเชีย

มุมมองทางภูมิศาสตร์หรือแบบดั้งเดิม

ชาวยุโรปในยุคกลางถือว่าเอเชียเป็นทวีปที่อยู่ในโลกเก่าซึ่งทวีปโลกเก่านั้นมีสามทวีปคือ ทวีปเอเชีย, ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาแนวความคิดของชาวยุโรปต่อทวีปเอเชียคือเป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรมที่แปลกประหลาดเป็นแหล่งเครืองเทศและสมุนไพร่ เมื่อก่อนนั้นนักภูมิศาสตร์ยุคคลาสสิกนั้นคิดว่าทวีปนั้นมีความหมายว่าทั้ง3นั้นเป็นทวีปเดี่ยวกันซึ่งมีการเขียนลงแผนที่เล่มและสือสิ่งพิมพ์มากมาย ซึ่งได่มีการตีพิมพ์ลงนิตยสาร National Geographic และCIA World Factbook รวมไปถึง ดิกชันนารีของMerriam-Webster ด้วย

ต้นกำเนิด

ชายฝั่งทะเลของตุรกีซึ่งถือเป็นชายฝั่งของเอเชียดั้งเดิมที่สามารถเห็นได้บนชายหาดของเกาะโรดส์แผนที่ของเฮอรอโดทัสเป็นแผนที่โบราณของโลก (Oikumene) ในประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล

ระบบสามทวีปเป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นในสมัยกรีซโบรานซึ่งเป็นยุคของการขยายอาณานิคมและการค้าทั่วไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและการเขียนเรื่องราวที่มีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเขียนบันทึกเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องสำคัญของนักภูมิศาสตร์ซึ่งต่อมาการเขียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นั้นภูกห้ามเนื่องจากเหยุผลเพื่อป้องการแบ่งแยกดินแดนในสมันก่อนนั้นกรีกจะไม่ตอนรับคนจากทวีปเอเชียซักเท่าไหร่และเรียกคนที่มาจากเอเชียว่า "mainland ēpeiros" และกรีกก็มีดินแดนบนทวีปแอฟริกาตรงที่เป็นประเทศลิเบียในปัจจุบันซึ่งในสมัยนั้นจะเรียกว่าเกาะ"nēsoi" ส่วนเอเชียจะเรียกว่า"ēpeiros" เพราะยังไม่มีคำนิยามในคำว่า"ทวีป"[8] รากศัพท์ของคำว่า "ēpeir" มาจากกลุ่มภาษาอินโด - ยูโรเปียน ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับภาษาอังกฤษว่า "over" หรือแปลเป็นไทยว่า "มา" และความหมายของคำว่า "mainland ēpeiros" ซึ่งเป็นคำเรียกคนจากเอเชียนั้นแปลว่า"มาจากแผ่นดินใหญ่"[9] และคำว่า"ēpeiros"ในภาษาอาร์เมเนียนั้นหมายถึง "ชายฝั่ง" ส่วนในภาษาลาติน มันแปลเป็น "ทวีปดินแดน"

เรือส่วนใหญ่ในยุคโบราณนั้นไม่ได้ท่องออกไปในมหาสมุทรแต่จะแล่นไปแค่ชายฝั่งในบริเวณนั้นจึงทำให้มันเป็นเรื่องที่ไม่แปลกถ้าคนสมัยนั้นจะเรียกชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงนั้นว่าทวีป จนกระทั่งเฮอรอโดทัสได้เริ่มสร้างแผ่นที่ในยุคโบราณขึ้นโดยมีการเรียกทวีปเอเชียว่า "bluffs" และ "shores" และมีการวาดแผนที่ซึ่งพอเป็นที่รู้จักโดยเริ่มจากเมือง Phasis ของอาณาจักร Colchis ซึ่งเป็นประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน แล้วค่อยๆไล่ไปตามทะเลดำและก็ไล่ไปจนถึงอานาโตเลียไปถึงฟินิเชียและไปถึงทะเลPhoenicia (คือทะเลแดงร่วมกับอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย) ไปจนถึงอินเดีย (ซึ่งในสมัยนั้นอินเดียยังเป็นดินแดนที่ยังไม่มีคนรู้จัก)[10]

มุมมองธรณีวิทยา

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก
  สีเขียว แผ่นยูเรเซีย
  สีแดง แผ่นอินเดีย
  สีเหลือง แผ่นอาหรับ
สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ เอเชียเหนือ และ อนุทวีปอินเดีย

จากการศึกษาทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแผ่นเปลือกโลกนั้นทำให้พบว่าอนุทวีปอินเดียนั้นถือว่าเป็นทวีปเนื่องจากอยู่ในแผ่นเปลือกโลกอินเดียซึ่งได้มาชนกับแผ่นยูเรเซียจนรวมกันกลายเป็นทวีปเอเชียโดยการชนในครั่งนี้ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึ้น[11]

ถ้าตามความหมายของแผ่นทวีปนั้นจะถือว่าทวีปยุโรปนั้นเป็นคาบสมุทรของทวีปเอเชียเนืองจากทั้งสองทวีปนี้อยู่ในแผ่นยูเรเซียและทวีปยุโรปก็ถูกทะเลล้อมทั้ง3ด้านซึ่งถือว่าเป็นคาบสมุทรทำให้เรียกยุโรปว่าเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย

ในการแบ่งทวีปนั้นถ้าแบ่งตามแผ่นเปลือกโลกนั้นยุโรปจะถือว่าเป็นทวีปเดียวกันกับทวีปเอเชียแต่อินเดียและอาหรับจะกลายเป็นทวีปใหม่เนืองจากอยู่กันคนละแผ่นเปลือกกับทวีปเอเชีย

มุมมองภูมิภาค

นักภูมิศาสตร์หลายคนคิดว่าควรแบ่งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปออกจากันด้วยสาเหตุทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และนั้นจึงทำให้มีการแยกเอเชียออกเป็บภูมิภาคต่างๆโดยใช้หลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์,วัฒนธรรม,และวิถีการดำเนินชีวิตในการแบ่งเพื่อจะได้สามารถวิเคาระห์ได้อย่างระเอียดไปตามภูมิภาคนั้นๆได้ดีขึ้น

มุมมองของชาติพันธุ์

ในภาษายุโรปคำว่า "เอเชีย" โดยทั่วไปหมายถึงมรดกทางชาติพันธุ์มากกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน "เอเชีย" มักหมายถึงชาวเอเชียตะวันออกในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษเอเชียมักหมายถึงชาวเอเชียใต้

เอเชียแปซิฟิกโดยทั่วไปหมายถึงการรวมกันของเอเชียตะวันออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะ]ในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือโอเชียเนีย ทวีปเอเชียจะประกอบด้วยแผ่นยูเรเซีย,อนุทวีปอินเดีย,คาบสมุทรอาหรับรวมทั้งแผ่นอเมริกาเหนือในเขตไซบีเรียอีกด้วย

ใกล้เคียง

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ไทย ภูมิศาสตร์เอเชีย ภูมิศาสตร์ยุโรป ภูมิศิลป์ ภูมิศาสตร์ไต้หวัน ภูมิศาสตร์ลาว ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์การเมือง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิศาสตร์เอเชีย http://www.economist.com/diversions/millennium/dis... http://www.merriam-webster.com/dictionary/transcon... http://adsabs.harvard.edu/abs/2006GeoJI.164..176W http://www.geodesy.miami.edu/articles/2006/Wdowins... http://www.lib.utexas.edu/maps/asia.html http://europa.eu/abc/european_countries/others/ind... http://www.coe.int/aboutCoe/index.asp?page=47pays1... http://eusoils.jrc.it/esdb_archive/EuDASM/asia/ind... http://www.stat.go.jp/english/info/meetings/cambod... http://www.grida.no/prog/global/cgiar/images/asia....