การจำแนกสภาพภูมิอากาศ ของ ภูมิอากาศ

มีหลายวิธีในการจำแนกดินฟ้าอากาศให้เป็นระบอบการจัดการที่คล้ายกัน แต่เดิมอากาศตามฤดูกาล (อังกฤษ: en:clime) ถูกกำหนดในกรีซโบราณเพื่ออธิบายสภาพอากาศที่ขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้งของเส้นรุ้ง วิธีการจำแนกสภาพภูมิอากาศสมัยใหม่จะแบ่งกว้างๆออกเป็นวิธีทาง'พันธุกรรม'ซึ่งมุ่งเน้นไปที่สาเหตุของสภาพภูมิอากาศและวิธีการ'สังเกต'ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างของการจัดหมวดหมู่ทางพันธุกรรมจะรวมถึงวิธีการที่ขึ้นอยู่กับ'ความถี่สัมพัทธ์'ของประเภท'มวลอากาศ'ที่แตกต่างกันหรือตำแหน่งภายในสภาพอากาศรบกวนแบบสรุป (อังกฤษ: synoptic weather disturbances) ตัวอย่างของการจำแนกประเภทแบบสังเกตรวมถึงเขตภูมิอากาศที่กำหนดโดยแข็งแกร่งของพืช (อังกฤษ: plant hardiness)[11] การคายระเหย[12] หรือแบบทั่วไปมากกว่าเช่นการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ซึ่งได้รับการออกแบบเริ่มแรกมาเพื่อระบุสภาพภูมิอากาศที่เกี่ยวข้องกับชีวนิเวศ (อังกฤษ: biomes) บางอย่าง ข้อบกพร่องที่พบบ่อยของการจำแนกประเภทแบบนี้คือที่พวกเขาผลิตขอบเขตที่แตกต่างกันระหว่างโซนที่พวกเขากำหนด แทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของคุณสมบัติของสภาพภูมิอากาศที่พบทั่วไปในธรรมชาติ

Bergeron and Spatial Synoptic

บทความหลัก: มวลอากาศ

การจัดหมวดหมู่ที่ง่ายที่สุดคือการการจัดที่เกี่ยวข้องกับมวลอากาศ (อังกฤษ: air masses) การจัดหมวดหมู่แบบ Bergeron เป็นรูปแบบที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดของการจัดหมวดหมู่แบบมวลอากาศ[ต้องการอ้างอิง] การจัดหมวดหมู่แบบมวลอากาศเกี่ยวข้องกับสามตัวอักษร

  • ตัวอักษรตัวแรกอธิบายคุณสมบัติด้านความชื้นของมัน โดย c ใช้สำหรับมวลอากาศแบบทวีป (แห้ง) และ m สำหรับมวลอากาศทางทะเล (ชื้น)
  • อักษรตัวที่สองอธิบายถึงลักษณะอุณหภูมิของภูมิภาคแหล่งกำเนิดของมัน: ซึ่ง T สำหรับเขตร้อน P สำหรับขั้วโลก A สำหรับขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้ M สำหรับมรสุม E สำหรับเส้นศูนย์สูตรและ S สำหรับอากาศที่เหนือกว่า (อากาศแห้งที่เกิดจากการเคลื่อนไหวลงด้านล่างอย่างมีนัยสำคัญในชั้นบรรยากาศ)
  • อักษรตัวที่สามจะใช้ในการกำหนดความมั่นคงของชั้นบรรยากาศ ถ้ามวลอากาศเย็นกว่าพื้นดินด้านล่าง จะแสดงอักษร k ถ้ามวลอากาศะอุ่นกว่าพื้นดินด้านล่าง จะแสดงอักษร w[13] ในขณะที่การระบุมวลอากาศแต่เดิมได้ถูกใช้ในการพยากรณ์อากาศในช่วงปี 1950s, นักภูมิอากาศวิทยาเริ่มสร้าง synoptic climatologies ที่ขึ้นอยู่กับความคิดนี้ในปี 1973[14]

การจัดหมวดหมู่แบบ Bergeron คือระบบจำแนกสรุปเชิงพื้นที่ (อังกฤษ: Spatial Synoptic Classification system (SSC)) แบ่งออกเป็นหกประเภทได้แก่ แห้งขั้วโลก (คล้ายกับขั้วโลกทวีป) แห้งปานกลาง (คล้ายกับทะเลที่เหนือกว่า) แห้งเขตร้อน (คล้ายกับเขตร้อนทวีป) ชื้นขั้วโลก (คล้ายกับทะเลขั้วโลก) ชื้นปานกลาง (ไฮบริดระหว่างขั้วโลกทะเลและเขตร้อนทะเล) และชื้นเขตร้อน (คล้ายกับเขตร้อนทะเล มรสุมทะเลหรือเส้นศูนย์สูตรทะเล)[15]

เคิปเปน

อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยรายเดือนจากปี 1961-1990 นี่คือตัวอย่างของสภาพภูมิอากาศมีการแปรเปลี่ยนไปตามสถานที่และฤดูกาลได้อย่างไรภาพรายเดือนของโลกจากหอสังเกตการณ์โลกองค์การนาซ่า (interactive SVG)

บทความหลัก: การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยรายเดือนของอุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า รูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดมีห้าประเภทหลักที่มีอักษรย่อจาก A ถึง F โดยที่ A หมายถึงเขตร้อน B หมายถึงแห้ง C หมายถึงเย็นกึ่งละติจูด D หมายถึงหนาวกึ่งละติจูด และ E หมายถึงขั้วโลก ห้าจำแนกประเภทหลักเหล่านี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทรอง เช่น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น, ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน, ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา, ค่อนข้างร้อนชื้น ชื้นภาคพื้นทวีป ภูมิอากาศแบบมหาสมุทร ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ที่ราบกว้างใหญ่ซึ่งไม่มีต้นไม้ (อังกฤษ: steppe) ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกเหนือ, ทุนดรา(ที่ราบที่ไม่มีต้นไม้ในขั้วโลกเหนือ) จุกน้ำแข็งขั้วโลกและทะเลทราย

ป่าฝน มีลักษณะที่มีปริมาณน้ำฝนสูง ที่มีการตั้งค่าปริมาณน้ำฝนประจำปีขั้นต่ำตามปกติระหว่าง 1,750 มิลลิเมตร (69 นิ้ว) จนถึง 2,000 มิลลิเมตร (79 นิ้ว) ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิรายเดือนเกิน 18 °C (64 ° F) ในทุกช่วงเดือนของปี[16]

มรสุม เป็นลมตามฤดูกาลซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนซึ่งนำไปสู่​​ฤดูฝนของภูมิภาค[17] ภูมิภาคอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ กึ่งทะเลทรายสหาราแอฟริกา ออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภูมิอากาศแบบมรสุม[18]

สะวันนาเขตร้อน เป็นนิเวศวิทยาแบบทุ่งหญ้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สภาพภูมิอากาศที่กึ่งแห้งแล้งจนถึงกึ่งชื้นของละติจูดกึ่งเขตร้อนและเขตร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่หรือสูงกว่า 18 °C (64 °F) ตลอดทั้งปีและมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 750 มิลลิเมตร (30 นิ้ว) และ 1,270 มิลลิเมตร (50 นิ้ว) ต่อปี บริเวณเหล่านี้กระจายอยู่ในทวีปแอฟริกาและในอินเดีย ภาคเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มาเลเซียและออสเตรเลีย[19]

ชื้นกึ่งร้อน จะมีฝน(และบางครั้งหิมะ)ในช่วงฤดู​​หนาว พร้อมกับพายุขนาดใหญ่ที่ลมตะวันตก (อังกฤษ: westerlies) จะพัดจากตะวันตกไปตะวันออก ปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดู​​ร้อนส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงพายุฝนฟ้าคะนองและจากพายุไซโคลนเขตร้อนเป็นครั้งคราว[20] ภูมิอากาศแบบชื้นกึ่งทอดไปทางด้านตะวันออกของทวีปประมาณระหว่างเส้นรุ้ง 20 องศาและ 40 องศาห่างจากเส้นศูนย์สูตร[21]

ภูมิอากาศแบบชื้นทวีปทั่วโลก

ชื้นทวีป มีสภาพอากาศที่แปรปรวนและอุณหภูมิตามฤดูกาลที่แปรปรวนขนาดใหญ่ บริเวณที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อวันสูงกว่า 10 °C (50 °F) มากกว่าสามเดือน และเดือนที่อุณหภูมิต่ำสุดต่ำกว่า -3 °C (27 °F) และมีสภาพภูมิอากาศที่ไม่ตรงตามเกณฑ์สำหรับสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้งจะถูกจัดให้อยู่ในประเภททวีป[22]

มหาสมุทร มักพบตามชายฝั่งตะวันตกที่ละติจูดกลางของทุกทวีปในโลกและในออสเตรเลียตะวันออกเฉียงใต้และจะมาพร้อมกับหยาดน้ำฟ้าที่อุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี[23]

เมดิเตอร์เรเนียน คล้ายกับสภาพภูมิอากาศของดินแดนในลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน หลายส่วนของทวีปอเมริกาเหนือตะวันตก หลายส่วนของออสเตรเลียตะวันตกและออสเตรเลียใต้ ในตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกาใต้ และในหลายส่วนของภาคกลางของชิลี สภาพภูมิอากาศจะเป็นลักษณะที่ร้อน ฤดูร้อนที่แห้งแล้งและเย็น ในฤดูหนาวที่เปียก[24]

steppe เป็นทุ่งหญ้าแห้งที่มีอุณหภูมิในช่วงฤดู​​ร้อนถึง 40 °C (104 °F) และในช่วงฤดู​​หนาวอุณหภูมิจะลดลงไปที่ -40 °C (-40 °F)[25]

กึ่งขั้วโลกเหนือ มีหยาดน้ำฟ้าน้อย[26] และอุณหภูมิรายเดือนที่สูงกว่า 10 °C (50 °F) แค่ 1-3 เดือนของปี มีชั้นดินเยือกแข็งคงตัว (อังกฤษ: permafrost) ในส่วนใหญ่ของพื้นที่เนื่องจากฤดูหนาวที่หนาวเย็น ฤดูหนาวที่อยู่ในภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลกเหนือนี้มักจะมีถึงหกเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 0 °C (32 °F)[27]

แผนที่ของภูมิอากาศแบบอาร์กติกทุนดรา

ทุนดรา เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือที่ห่างไกล ทางตอนเหนือของเข็มขัดไทกา (อังกฤษ: taiga belt) รวมทั้งพื้นที่กว้างใหญ่ทางภาคเหนือของรัสเซียและแคนาดา[28]

จุกน้ำแข็งขั้วโลก หรือแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก เป็นภูมิภาคละติจูดสูงของโลกหรือดวงจันทร์ที่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง จุกน้ำแข็งก่อตัวเพราะภูมิภาคละติจูดสูงได้รับพลังงานแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์น้อยกว่าประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร เป็นผลให้มีอุณหภูมิที่พื้นผิวที่ต่ำกว่า[29]

ทะเลทราย เป็นรูปแบบหรือภูมิภาคภูมิทัศน์ท​​ี่ได้รับหยาดน้ำฟ้าน้อยมาก ทะเลทรายมักจะมีช่วงอุณหภูมิในเวลากลางวันและตามฤดูกาลที่ต่างกันมาก สูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเวลากลางวันของสถานที่ตั้ง (ในฤดูร้อนสูงได้ถึง 45 องศาเซลเซียสหรือ 113 °F) และอุณหภูมิในเวลากลางคืนที่ต่ำ (ในช่วงฤดู​​หนาวลงไปที่ 0 °C หรือ 32 °F) เนื่องจากความชื้นที่ต่ำมากๆ ทะเลทรายหลายแห่งจะเกิดขึ้นจาก'เงาฝน' เมื่อแนวภูเขาปิดกั้นเส้นทางของความชื้นและหยาดน้ำฟ้าที่จะให้กับทะเลทราย[30]

Thornthwaite

ดูเพิ่มเติม: Microthermal, mesothermal และ Megathermal

น้ำหยาดฟ้ารายเดือน

ได้รับการคิดค้นโดยนักภูมิอากาศและนักภูมิศาสตร์ขาวอเมริกัน C.W.​​ Thornthwaite วิธีการจัดหมวดหมู่ของสภาพภูมิอากาศนี้จะตรวจสอบปริมาณของน้ำในดินที่ใช้ในการคายระเหย[31] มันจะเฝ้าตรวจสอบส่วนของหยาดน้ำฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในการบำรุงพืชในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง[32] มันจะใช้หลายดัชนีเช่นดัชนีความชื้นและดัชนีความแห้งแล้งในการกำหนดลักษณะความชื้นของพื้นที่ที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเฉลี่ยของมันรวมทั้งปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยและชนิดพืชโดยเฉลี่ย[33] ค่าของดัชนีในพื้นที่ใดก็ตามยิ่งต่ำ พื้นที่นั้นยิ่งแห้ง

การจัดหมวดหมู่ความชุ่มชื้นจะรวมถึงระดับชั้นของสภาพภูมิอากาศที่มีตัวอธิบายเช่น ชิ้นมาก (อังกฤษ: hyperhumid) ชื้น (อังกฤษ: humid) กึ่งชื้น (อังกฤษ: subhumid) ่ค่อนข้างแห้งแล้ง (อังกฤษ: subarid) กึ่งแห้งแล้ง (อังกฤษ: semi-arid) (ค่าของ -20 ถึง -40) และแห้งแล้ง (อังกฤษ: arid) (ค่าต่ำกว่า -40)[34] ภูมิภาคที่ชื้นจะประสบกับหยาดน้ำฟ้ามากกว่าการระเหยในแต่ละปี ในขณะที่ภูมิภาคแห้งแล้งจะประสบกับการระเหยมากกว่าหยาดน้ำฟ้าเป็นประจำทุกปี รวมแล้วร้อยละ 33 ของพื้นดินทั่วโลกได้รับการพิจารณาว่าแห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง ซึ่งรวมถึงตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาใต้ ส่วนใหญ่ของภาคเหนือและส่วนเล็กๆของภาคใต้ของแอฟริกา ตะวันตกเฉียงใต้และหลายส่วนของเอเชียตะวันออก เช่นเดียวกับส่วนมากของออสเตรเลีย[35] หลายการศึกษาได้แนะนำว่าประสิทธิภาพหยาดน้ำฟ้า (อังกฤษ: precipitation effectiveness (PE)) ภายในดัชนีความชื้นแบบ Thornthwaite มีการประเมินมากเกินไปในช่วงฤดูร้อนและประเมินต่ำเกินไปในช่วงฤดู​​หนาว[36] ดัชนีนี้สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกำหนดจำนวนของสัตว์กินพืชและจำนวนสายพันธ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมภายในพื้นที่ที่กำหนด[37] ดัชนีนี้ยังถูกนำมาใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกด้วย[36]

การจำแนกประเภทอุณหภูมิภายในกรรมวิธีของ Thornthwaite จะรวมถึง microthermal, mesothermal และ megathermal สภาพภูมิอากาศ microthermal เป็นหนึ่งในที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประจำปีที่ต่ำโดยทั่วไประหว่าง 0 °C (32 °F) และ 14 °C (57 °F) ซึ่งจะประสบกับช่วงฤดู​​ร้อนที่สั้นและมีการระเหยที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง 14 เซนติเมตร (5.5 นิ้ว) และ 43 เซนติเมตร (17 นิ้ว)[38] สภาพภูมิอากาศแบบ mesothermal จะขาดความร้อนถาวรหรือความเย็นถาวรด้วยการระเหยอาจเกิดขึ้นระหว่าง 57 เซนติเมตร (22 นิ้ว) และ 114 เซนติเมตร (45 นิ้ว)[39] สภาพภูมิอากาศ megathermal เป็นหนึ่งในที่มีอุณหภูมิสูงถาวรและปริมาณน้ำฝนที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยการระเหยของน้ำประจำปีที่อาจมีเกินกว่า 114 เซนติเมตร (45 นิ้ว)[40] ตัวอย่างเช่นสภาพภูมิอากาศในประเทศเนปาลจะร้อนมากในขณะที่สภาพภูมิอากาศในประเทศสหรัฐอเมริกาจะหนาวมาก

ใกล้เคียง

ภูมิอากาศ ภูมิอากาศไทย ภูมิอากาศจุลภาค ภูมิอากาศวิทยา ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศแบบอบอุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิอากาศ http://www.ipcc.ch/publications_and_data/ar4/syr/e... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://amsglossary.allenpress.com/glossary/search?... http://www.britannica.com/eb/article-53358/climate