ปัจจัยภูมิอากาศในประเทศไทย ของ ภูมิอากาศไทย

แม้ว่าประเทศไทยจะมีพื้นที่อยู่ในเขตร้อน แต่ก็มีสภาพอากาศที่แตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้[1]

  • ที่ตั้งตามละติจูด: ตามปกติตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดต่ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าตำแหน่งที่ตั้งที่มีค่าละติจูดสูงกว่า เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
  • ความสูงของพื้นที่: ตามปกติพื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ที่เป็นที่ราบ เช่น ยอดดอยอินทนนท์จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ล่างที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  • แนวทิวเขาที่ขวางกั้นทิศทางลมประจำ: การวางตัวของทิวเขาบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ส่งผลทำให้จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี มีอุณหภูมิสูงและมีปริมาณน้ำฝนน้อย โดยเรียกพื้นที่นี้ว่า "พื้นที่อับฝน"
  • ระยะห่างจากทะเล: พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเลจะมีโอกาสได้รับความชื้นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ห่างไกลทะเลออกไป เช่น จังหวัดระนองและตราด อยู่ใกล้ทะเล และเป็นด้านรับลม จะมีปริมาณฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
  • ทิศทางของลมประจำ: บริเวณภาคตะวันออกช่วงที่ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีฝนตกชุก แต่เมื่อลมเปลี่ยนทิศเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณน้ำฝนจะลดลงจนเห็นความแตกต่างชัดเจน
  • อิทธิพลของลมพายุหมุน: ลมพายุที่พัดผ่านประเทศไทย จะนำฝนมาตกเป็นปริมาณสูงและมักเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง แต่บางปีที่มีพายุหมุนเข้าน้อยจะมีปริมาณน้ำฝนน้อย อาจถึงการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ใกล้เคียง

ภูมิอากาศไทย ภูมิอากาศ ภูมิอากาศจุลภาค ภูมิอากาศวิทยา ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศแบบอบอุ่น