อุณหภูมิ ของ ภูมิอากาศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก ระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว และระหว่างกลางวันกับกลางคืน โดยในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสูงสุดในตอนบ่าย ปกติจะสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบปี ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้ามืดจะลดลงอยู่ในเกณฑ์หนาวถึงหนาวจัด โดยเฉพาะเดือนธันวาคมถึงมกราคมเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุดในรอบปี ซึ่งในช่วงดังกล่าวอุณหภูมิอาจลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นเทือกเขาหรือบนยอดเขาสูง สำหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเลได้แก่ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน[2]

สถิติอุณหภูมิของประเทศไทยในฤดูกาลต่าง ๆ
ภาคฤดูร้อนฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อนฤดูฝนฤดูหนาวฤดูร้อนฤดูฝนฤดูหนาว
อุณหภูมิเฉลี่ย (°C)อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย (°C)อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย (°C)
เหนือ28.027.323.135.832.230.821.423.717.1
ตะวันออกเฉียงเหนือ28.527.723.935.032.330.323.024.218.3
กลาง29.628.326.135.532.831.724.624.821.1
ตะวันออก28.928.126.433.932.131.725.025.021.8
ใต้ฝั่งตะวันออก28.127.726.332.832.129.923.223.722.0
ใต้ฝั่งตะวันตก28.327.426.834.031.431.923.724.122.9
หมายเหตุ: เป็นค่าเฉลี่ยในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543)
อ้างอิง: [3][4]
สถิติอุณหภูมิสูงที่สุดของประเทศไทย
ภูมิภาคอุณหภูมิ (°C)วัน/เดือน/ปีจังหวัด
เหนือ44.628 เมษายน 2559แม่ฮ่องสอน
ตะวันออกเฉียงเหนือ43.928 เมษายน 2503อุดรธานี
กลาง43.529 เมษายน 2501
14 เมษายน 2526
14 เมษายน 2535
20 เมษายน 2535
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
กาญจนบุรี
ตะวันออก42.923 เมษายน 2533อำเภอกบินทร์บุรี, ปราจีนบุรี
ใต้ฝั่งตะวันออก41.215 เมษายน 2541อำเภอหัวหิน, ประจวบคีรีขันธ์
ใต้ฝั่งตะวันตก40.529 มีนาคม 2535ตรัง
หมายเหตุ: เป็นข้อมูลในคาบ 60 ปี (พ.ศ. 2494 - 2556)
อ้างอิง: [3]


สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุดของประเทศไทย (บนพื้นราบ)
ภูมิภาคอุณหภูมิ (°C)วัน/เดือน/ปีเมือง
เหนือ0.8
1.0
1.0
27 ธันวาคม 2542
2 มกราคม 2517
25 ธันวาคม 2542
อำเภออุ้มผาง, ตาก
อำเภอเมือง, น่าน
อำเภอเมือง, จังหวัดเชียงราย
ตะวันออกเฉียงเหนือ-1.4
-1.3
2 มกราคม 2517
2 มกราคม 2517
อำเภอเมือง, สกลนคร
อำเภอเมือง, จังหวัดเลย
กลาง5.227 มกราคม 2536อำเภอทองผาภูมิ, จังหวัดกาญจนบุรี
ตะวันออก7.616 มกราคม 2506อำเภออรัญประเทศ, จังหวัดสระแก้ว
ใต้ฝั่งตะวันออก6.426 ธันวาคม 2542อำเภอหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ใต้ฝั่งตะวันตก13.721 มกราคม 2499อำเภอเมือง, จังหวัดระนอง
หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
อ้างอิง: [3] สถิติภูมิอากาศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494


สถิติอุณหภูมิต่ำที่สุด (บนภูเขา)
ภูมิภาคอุณหภูมิ (°C)วัน/เดือน/ปีเมือง
เหนือ-10
-12
-4
22 มกราคม 2542
22 มกราคม 2542
24 มกราคม 2557
ยอดดอยหลวงเชียงดาว,อำเภอเชียงดาว, จังหวัดเชียงใหม่
จุดสูงสุดแดนสยาม, ยอดดอยอินทนนท์, อำเภอจอมทอง, จังหวัดเชียงใหม่
กิ่วแม่ปาน, ดอยอินทนนท์, อำเภอจอมทอง, จังหวัดเชียงใหม่
เหนือตอนล่าง-424 มกราคม 2557หมูบ้านร่องกล้า, อำเภอนครไทย, จังหวัดพิษณุโลก
ตะวันออกเฉียงเหนือ-6
-3
24 มกราคม 2557
29 ธันวาคม 2556
เส้นทางผาหล่มสัก-ลิงก์ ทอ., ภูกระดึง, อำเภอภูกระดึง, จังหวัดเลย
ยอดภูเรือ, อำเภอภูเรือ, จังหวัดเลย
ใต้227 ธันวาคม 2555ภูผาหมอก, อำเภอย่านตาขาว, จังหวัดตรัง
หมายเหตุ: ข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494 - ปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
  • วันที่ 24 มกราคม 2557 เส้นทางผาหล่มสัก-ลิงก์ ทอ. ภูกระดึง จังหวัดเลย สามารถวัดอุณหภูมิยอดหญ้าได้ที่ติดลบ-6องศา ในเวลาตี5ครึ่ง เกิดแม่คะนิ้งเป็นบริเวณกว้าง
  • วันที่ 24 มกราคม 2557 หมู่บ้านร่องกล้า ใกล้อุทยาแห่งชาติภูหินร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก สามารถวัดอุณหภูมิยอดหญ้าได้ติดลบ-4องศา เกิดแม่คะนิ้งเป็นบริเวณกว้าง (จังหวัดพิษณุโลกอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพื่อลดความกำกวมระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ)

ใกล้เคียง

ภูมิอากาศไทย ภูมิอากาศ ภูมิอากาศจุลภาค ภูมิอากาศวิทยา ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศแบบอบอุ่น