การป้องกันและรักษา ของ ภูมิแพ้ข้าวสาลี

ดูบทความหลักที่: อาหารปลอดกลูเตน

การรักษาโรคนี้รวมการงดอาหารที่มีข้าวสาลีและธัญพืชที่มีกลูเตนอื่น ๆ คือให้ทานอาหารปลอดกลูเตน[52][53]แต่คนไข้บางคนก็สามารถรับข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ หรือข้าวโอ๊ตได้[54]

ถ้ามีแอนาฟิแล็กซิสเหตุข้าวสาลีที่การออกกำลังกายกระตุ้น (WDEIA) อย่างเบา ๆ การงดทานข้าวสาลีและสารที่ก่ออาการอื่น ๆ รวมทั้งยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) และแอลกอฮอล์ก่อนออกกำลังกาย ก็อาจพอแล้ว[53]

อาหารต่าง ๆ อาจปนเปื้อนกับข้าวสาลีอย่างรู้ได้ยากที่รู้ง่าย ๆ รวมทั้งเศษขนมปัง, maltodextrin[upper-alpha 5],รำข้าว, สารสกัดจากธัญพืช, แป้งหมี่บด (อาหารแอฟริกาเหนือ, couscous, semolina), แคร็กเกอร์ (ขนมปังอบกรอบ), แป้งเสริมสารอาหาร (enriched), กลูเตน, แป้งมีกลูเตนสูง, แป้งมีโปรตีนสูง, แป้งจีน/ญี่ปุ่นที่ใช้ทำเนื้อเจ/เส้นก๋วยเตี๋ยว (ญี่ปุ่น: セイタン, อักษรจีน: 麵筋),จมูกข้าว, มอลต์ข้าวสาลี, แป้งข้าวสาลี หรือแป้งข้าวสาลีไม่ขัดสีส่วนผสมที่รู้ได้ยากอาจรวมแป้งละลายในน้ำร้อนเพื่อทำเป็นซอส ซุป หรือปรุงกับไขมันเพื่อใส่ในอาหาร (gelatinized starch), โปรตีนพืชสลายด้วยน้ำ (hydrolyzed vegetable protein), แป้งอาหารแปรรูป, แป้งแปรรูป, สารแต่งรสธรรมชาติ (natural flavoring), ซอสถั่วเหลือง, แป้งถั่วเหลืองเปียก, ซอสจิ้มเนื้อจีน/เวียดนาม (อังกฤษ: hoisin sauce, อักษรจีน: 海鮮, เวียดนาม: tương đen), แป้ง, ยางพืช โดยเฉพาะ beta-glucan และแป้งจากพืช

ธัญพืชที่ทานแทนได้

ข้าวโอ๊ตที่ไม่มีโปรตีนกลูเตนจากข้าวสกุล Triticeae คือไม่มีข้าวสาลี ข้าวไรย์ หรือข้าวบาร์เลย์ อาจทานแทนเพื่อให้ได้ใยอาหารจากธัญพืชได้บางคนสามารถทานข้าวไรย์/ขนมปังไรย์ได้แป้งข้าวเจ้าใช้แทนแป้งสาลีอย่างสามัญแป้งอย่างอื่นที่ใช้แทนได้รวมทั้งข้าวฟ่าง ลูกเดือย บักวีต เมล็ดฝ้าย ข้าวโพด คีนวา ชีอา มันสำปะหลัง เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิแพ้ข้าวสาลี http://www.elsevier.com/wps/find/bookdescription.c... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1856150 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1860040 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3452314 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13478452 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14699123 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15672478 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15783130 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15836754 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15948806