อาการ ของ ภูมิแพ้ข้าวสาลี

ภูมิแพ้ข้าวสาลีไม่ได้ต่างกับภูมิแพ้อาหารหรือภูมิแพ้ทางเดินหายใจอื่น ๆ แต่ก็มีอาการสองอย่างที่เกิดบ่อยกว่า คือ (1) การออกกำลังกายและยาแอสไพรินอาจจุดชนวนปฏิกิริยาแอนาฟิแล็กซิส (2) ลมพิษ

อาการสามัญรวมทั้ง sacroiliitis[upper-alpha 3],ผื่นแดง (eczema) หรือผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis), ลมพิษ, หืดหอบ, เยื่อจมูกอักเสบเหตุภูมิแพ้, angioedema (เนื้อเยื่อบวมเพราะน้ำที่รั่วออกจากหลอดเลือด), ตะคริวท้อง, คลื่นไส้ และอาเจียน[35]อาการที่มีไม่บ่อยรวมทั้ง[ต้องการอ้างอิง]ช็อกเพราะแอนาฟิแล็กซิส, วิตกกังวล, ข้ออักเสบ, ท้องเฟ้อ, ปวดหน้าอก, ซึมเศร้า หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย, ท้องร่วง, เวียนศีรษะ, ปวดหัว, ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ (แต่ก็อาจเป็นอาการที่เกิดกับข้ออักเสบที่ลุกลาม), ใจสั่น, สะเก็ดเงิน, ลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS), ลิ้นหรือคอบวม, เหนื่อยหรือง่วง และไอโดยไร้เหตุ

ปฏิกิริยาอาจแรงขึ้นเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ซ้ำ ๆ

หืดหอบ แอนาฟิแล็กซิส และภูมิแพ้ที่จมูก

แอนาฟิแล็กซิสที่การออกกำลังกายจุดชนวน

ไกลอะดิน โดยอาจรวมโปรตีนอะเวนิน (avenin) ในข้าวโอ๊ต สัมพันธ์กับกับอาการแอนาฟิแล็กซิสเหตุข้าวสาลีที่การออกกำลังกายกระตุ้น (WDEIA) ซึ่งคล้ายกับภูมิแพ้ของคนทำขนมปังเพราะอำนวยโดยการตอบสนองของอิมมิวโนโกลบูลินอี[36]แต่ใน WDEIA ไกลอะดินโอเมกา (ω-gliadin)[37]หรือหน่วยย่อยของกลูเตนินที่มีมวลโมเลกุลสูงในข้าวสาลี หรือโปรตีนที่คล้าย ๆ กันในพืชสกุล Triticeae อื่น ๆ จะเข้าไปในกระแสเลือดระหว่างออกกำลังกายแล้วก่อปฏิกิริยาเป็นหืดหอบหรือแพ้อย่างฉับพลัน[38]

งานศึกษาปี 2007 แสดงว่า ไกลอะดินโอเมกาคล้ายกับส่วนของอะเวนินในข้าวโอ๊ตมากกว่าไกลอะดินอัลฟา/บีตา หรือแกมมา อย่างไรก็ดี อะเวนินก็ยังไม่พบว่าสัมพันธ์กับ WDEIA ข้าวสาลีโดยเฉพาะอาจกระตุ้น WDEIA และลมพิษเรื้อรังอื่น ๆ เพราะ IgE จะตรวจจับไกลอะดินโอเมกา5 (ω5-gliadin) ที่อัลลีล Gli-B1 ของข้าวสาลีโดยมากแสดงออกแต่โปรลามินที่สกัดจากข้าวไรย์ หรือข้าวสาลีที่สับเปลี่ยนโครโมโซมจากข้าวไรย์แทบจะไม่ทำให้ตอบสนองยีน Gli-B1 ในข้าวสาลีพันธุ์ Triticum aestivum เป็นยีนอนุพันธ์จากสปีชีส์หนึ่งของบรรพบุรุษ 3 สปีชีส์ คือ Aegilops speltoides ทำให้เห็นได้ว่า มีการกลายพันธุ์ที่เกิดไม่นานที่จีโนมบีของข้าวสาลี หรือเป็นยีนจากพืชเพาะปลูกเผ่า triticeae จำนวนน้อยส่วนหนึ่ง[39]

การแพ้แอสไพรินกับข้าวสาลี

งานศึกษาเรื่อง WDEIA ปี 2007 พบว่า ทั้งแอสไพรินและการออกกำลังกาย จะเพิ่มไกลอะดินในเลือด[40]และการตอบสนองเรื้อรังดังที่ว่าอาจขยายเป็นกับยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID), สารชูรส, benzoate และสารเติมแต่งอาหารสังเคราะห์อื่น ๆ

ภูมิแพ้ของคนทำขนมปัง

ภูมิแพ้ของคนทำขนมปัง (baker's allergy) เกิดจากไกลอะดินโอเมกา และ thioredoxin hB[41]อนึ่ง สารก่อภูมิแพ้ในแป้งนอกเหนือจากกลูเตนที่ได้ระบุแล้วก็คือ aspergillus amylase ซึ่งใส่เพื่อให้อบขนมได้ดี

ลมพิษเพราะภูมิแพ้ที่หน้าแข้ง

ลมพิษ ความโน้มเอียงที่จะเกิดภูมิแพ้ ผื่นแดง

ลมพิษเพราะถูกสารก่อภูมิแพ้ (contact urticaria)[42]ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้ (atopic dermatitis)[43]ผื่นแดง และลมพิษ ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกัน คือโดยทั่วไปเชื่อว่ามีเหตุจากโปรลามินที่ไม่ชอบน้ำของหญ้าเพาะปลูกเผ่า Triticeae บางอย่าง และหญ้าเผ่า Aveneae บางอย่างในข้าวสาลี โปรตีนอย่างหนึ่งดังที่ว่าก็คือไกลอะดินโอเมกา ซึ่งเป็นผลผลิตของยีน Gli-B1งานศึกษาในมารดาและทารกที่ทานอาหารไร้สารก่อภูมิแพ้ได้แสดงว่า อาการเช่นนี้สามารถเลี่ยงได้ถ้ากลุ่มประชากรที่ไวแพ้ข้าวสาลีไม่ทานข้าวสาลีในช่วงปีแรกของชีวิต[44]

คล้ายกับแอนาฟิแล็กซิสเหตุข้าวสาลีที่การออกกำลังกายจุดชนวน (WDEIA) แอสไพริน (แต่ก็รวม tartrazine, sodium benzoate, สารชูรส, sodium metabisulfite, tyramine ด้วย) ก็อาจทำให้ไวแพ้ข้าวสาลีเพิ่มขึ้น[45]งานศึกษาเรื่อง WDEIA แสดงว่า ความโน้มเอียงทางกรรมพันธุ์ที่จะเกิดภูมิแพ้ (atopy)[upper-alpha 1] และ WDEIA อาจเกิดเมื่อทานแอสไพริน หรือ NSAID แล้วทำให้โปรตีนข้าวสาลีเข้าไปในเลือดได้ โดย IgE จะมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ในเนื้อเยื่อผิวหนังบางคนอาจจะไวจนกระทั่งแม้แอสไพรินเพียงเล็กน้อยก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทั้ง atopy และ WDEIA

ภูมิแพ้ข้าวสาลียังเกิดอย่างสามัญพร้อมกับผิวหนังอักเสบเหตุถูกสาร (contact dermatitis) อีกด้วยเหตุหลักอย่างหนึ่งก็คือแป้งที่ใช้กับถุงมือยางก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ปัจจุบันถุงมือมักใช้กับแป้งไร้โปรตีน

ข้ออักเสบรูมาทอยด์/เหตุภูมิต้านตนเอง

โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์/เหตุภูมิต้านตนเอง (rheumatoid arthritis, RA) ดูจะสัมพันธ์กับทั้งโรคลำไส้ไวต่อกลูเตน (gluten sensitive enteropathy, GSE) และการแพ้กลูเตน[46]ข้ออักเสบรูมาทอยด์ใน GSE/CD อาจมาจากภูมิต้านเอนไซม์ tissue transglutaminase (tTG) ของตนเอง

งานศึกษาปี 2006 ในประเทศตุรกี คนไข้ RA 8 คนจาก 20 คนมีปฏิกิริยาต่อข้าวสาลีเมื่อทดสอบด้วย radioallergosorbent test (RAST)[upper-alpha 4]เมื่อเอาอาหารที่ผสมข้าวสาลีและอาหารอื่น ๆ ที่คนไข้แพ้ (ดังกำหนดด้วย RAST) ออก คนไข้ครึ่งหนึ่งมีตัวบ่งชี้ RA ในน้ำเหลืองที่ดีขึ้นในคนไข้ที่แพ้ข้าวสาลี ก็สามารถให้ทานข้าวไรย์อย่างไม่มีปัญหา[47]ซึ่งอาจชี้ว่า ผู้มีอาการ RA สำหรับโรค GSE/CD มาจากการตอบสนองเป็นภูมิแพ้ในลำดับต่อ ๆ มา (downstream effect)อนึ่ง แอนติบอดีต้านคอลลาเจนเนื้อวัวคืออิมมิวโนโกลบูลินจี (IgG) ที่ก่อปฏิกิริยาข้ามตัวก่อภูมิแพ้ (cross-reactive) อาจเป็นเหตุของ RA โดยบางส่วน[48]

โรคทางประสาท

ไมเกรน

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 มีรายงานว่าคนไข้ไมเกรนมีปัญหากับอาหารก่อภูมิแพ้ โดยมีปฏิกิริยาสามัญที่สุดต่อข้าวสาลี (78%) ส้ม ไข่ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต นม เนื้อวัว ข้าวโพด น้ำตาลจากอ้อย และยีสต์ โดยคล้ายกับคนไข้ RAเมื่องดอาหาร 10 อย่างที่ก่อปฏิกิริยามากที่สุด ไมเกรนจะลดลงอย่างมาก และความดันโลหิตก็ลดลงด้วย[49]มีบางกรณีที่โทษข้าวสาลีโดยเฉพาะ[50]

ออทิซึม

พ่อแม่ของเด็กโรคออทิซึมบ่อยครั้งโทษปัญหาท้องและลำไส้ของเด็กว่าเป็นการแพ้ข้าวสาลีและอาหารอื่น ๆแต่ข้อมูลที่ตีพิมพ์ในเรื่องนี้ก็มีน้อยมาก โดยงานศึกษาแบบอำพรางสองฝ่ายงานเดียวที่มีก็รายงานว่าไม่มีความสัมพันธ์[51]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูมิแพ้ข้าวสาลี http://www.elsevier.com/wps/find/bookdescription.c... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1856150 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1860040 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3452314 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13478452 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14699123 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15672478 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15783130 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15836754 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15948806