มนุษยศาสตร์ในปัจจุบัน ของ มนุษยศาสตร์

มนุษยศาสตร์ในสหรัฐฯ

มหาวิทยาลัยจำนวนมากในสหรัฐฯ เชื่อว่าแนวทาง "การศึกษาศิลปศาสตร์" ที่กว้างซึ่งเป็นภาคบังคับสำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยทุกสาขานั้น มีความจำเป็น ผู้บุกเบิกในด้านนี้ที่มีชื่อเสียงได้แก่ มอร์ติเมอร์ เจ แอดเลอร์ และ อี ดี เฮิร์ช

เมื่อปี พ.ศ. 2533 คณะกรรมาธิการว่าด้วยมนุษยศาสตร์แห่งสหรัฐฯ ได้กล่าวไว้ในรายงาน "มนุษยศาสตร์ในชีวิตชาวอเมริกัน" ไว้ดังนี้:


เราสะท้อนให้เห็นถึงคำถามพื้นฐานผ่านมนุษยศาสตร์ว่า: การเป็นตัวตนมนุษย์ของเราหมายความว่าอย่างไร? มนุษยศาสตร์ได้ชี้เบาะแสแต่ก็ไม่เคยให้คำตอบที่ครบถ้วนสมบูรณ์ออกมาได้ มนุษยศาสตร์แย้มให้เห็นว่ามนุษย์กำลังมีความพยายามด้านศีลธรรม จิตวิญาณและสำนึกทางปัญญาในโลกที่ไร้เหตุผล สิ้นหวัง เปล่าเปลี่ยว เต็มไปด้วยความตายเพื่อให้แลเห็นได้เด่นชัดดังเช่นการเกิด มิตรภาพและการมีเหตุผล


มีการวิพากษ์วิจารณ์หลักสูตรมนุษยศาสตร์/ศิลปศาสตร์ตามแนวประเพณีเดิมว่าสิ้นเปลือง ไม่มีประโยชน์ในตลาดงานสมัยใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งต้องการการศึกษาเฉพาะทางในทุกสาขาที่จะต้องใช้เวลานานหลายปี แนวดังกล่าวนี้ตรงข้ามกับช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีผู้มีปริญญาระดับมหาวิทยาลัยเพียง 3%-6% ผู้มีปริญญาเพียงใบเดียวก็สามารถไต่เต้าสู่ชีวิตในสายงานวิชาชีพได้ไม่ยาก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารผ่านศึกหลายล้านคนถือโอกาสเอาประโยชน์จาก "กฎหมาย จีไอ" (GI Bill) ซึ่งขยายการศึกษาของรัฐบาลกลางโดยการให้ทุนการศึกษาจำนวนมหาศาลแก่ทหารผ่านศึกให้เข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. 2546 ประมาณ 53% ของประชากรสหรัฐฯ จะได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในรูปใดรูปหนึ่งและมีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (Bachelors degree) หรือสูงกว่า 27.2% และจำนวน 8% เป็นผู้จบปริญญาโทและเอก

มนุษยศาสตร์ในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี สถานะของมนุษยศาสตร์ในวงการอุดมศึกษาไทยปัจจุบันค่อนข้างถูกละเลยความสำคัญ สาขาวิชาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งถูกลดสถานะลง หรือได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาน้อยลง เนื่องจากเป็นแขนงวิชาที่ถูกมองว่าไม่ตอบสนองโดยตรงต่อต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และการนโยบายพัฒนาที่เน้นแต่ความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]

ยุคดิจิทัล

ภาษาและวรรณคดีถือว่าเป็นเนื้อหากลางในมนุษยศาสตร์ที่ต้องพิจารณา ดังนั้นผลกระทบของการสื่อสารอีเล็กทรอนิกส์จึงเป็นที่น่าเฝ้ามอง เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่และอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเร่งอัตราความเร็วในการสื่อสารให้สูงขึ้นอย่างมหาศาลและทำให้ขอบเขตของการสื่อสารขยายไปทั่วทุกมุมโลก จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาษาและสังคมอย่างรวดเร็ว แม้โดยข้อเท็จที่ว่ามนุษยศาสตร์จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้ให้ได้ แต่ก็คาดว่าเชิงของอักษรศาสตร์ในรูปแบบประเพณีจะไม่หายไปโดยสิ้นเชิง