พื้นที่มหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีศูนย์กลางบริหารอยู่ที่ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร และมีศูนย์ในภูมิภาคอีก 5 ศูนย์

ท่าพระจันทร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2551

ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าพระจันทร์ ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ในเริ่มแรกแห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม (เพราะบุคลากรตลอดจนทรัพย์สินของโรงเรียนกฎหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลังจากรอการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย จึงโอนมาเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด) เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงซื้อที่ดินจากกรมทหารซึ่งเป็นคลังแสงเดิม แล้วจึงย้ายมาอยู่บริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและสนามหลวง มีเนื้อที่ 49 ไร่ เป็นศูนย์แรกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงคล)

ท่าพระจันทร์แห่งนี้ เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นสถานที่ที่นักศึกษาและประชาชนได้มาชุมนุมประท้วงกัน กรณีจอมพล ประภาส จารุเสถียร และจอมพล ถนอม กิตติขจร เดินทางกลับมาประเทศไทย (หลังลี้ภัยออกนอกประเทศไปเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) และนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน[56]

สถาปัตยกรรมและสถานที่สำคัญ

ตึกโดมท่าพระจันทร์
  • ลานโพ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นสถานที่ซึ่งขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย[58]

เช้าตรู่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลานโพเป็นสถานที่เริ่มต้นของการชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวกลุ่มผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 13 คน ซึ่งถูกรัฐบาลจับกุม ต่อมามีผู้เข้าร่วมสนับสนุนการชุมนุมเพิ่มมากขึ้น จนต้องย้ายไปชุมนุมที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนหลายแสนคน ก่อนเคลื่อนขบวนออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวลาเที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516[59] และกลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม

ลานโพ ยังมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เมื่อ พ.ศ. 2519[60] คือ เป็นสถานที่แสดงละครล้อการเมืองของนักศึกษาในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่หนังสือพิมพ์ดาวสยามประโคมข่าวว่านักศึกษาแสดงละครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งมีการชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มพลังต่าง ๆ จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง ล้อมปราบสังหารนักศึกษา และประชาชน[60]

  • ลานปรีดี

ลานปรีดี และอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ เป็นอนุสรณ์แห่งแรกที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงปรีดี พนมยงค์[61] รัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำขนวนการเสรีไทย และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

  • กำแพงวังหน้า

ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หากจะกล่าวเฉพาะในสมัยรัตนโกสินทร์แล้ว วังหน้าเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช[62] เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวงใน พ.ศ. 2325 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างวังหน้าขึ้นพร้อมกันทางด้านทิศเหนือของพระราชวังหลวง และอยู่ชิดกับฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สร้างอาคารอเนกประสงค์ 2 ขึ้น จึงมีการขุดพื้นดินต่าง ๆ และจัดแสดงรูปร่างของกำแพงวังหน้าให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ชื่นชมว่ากาลครั้งหนึ่งพื้นที่บริเวณนี้เป็นสถานที่ตั้งของวังหน้า

อนึ่ง นักศึกษาและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่าการที่สถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย คือ วังหน้า มีความหมายว่า สถานที่แห่งนี้มีจิตวิญญาณของการช่วยเหลือสถาบันทางอำนาจและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ถ่วงดุลและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้นำสูงสุดตลอดมา[62]

  • สนามฟุตบอล เป็นสถานที่ที่เป็นเวทีและเป็นศูนย์กลางการจัดชุมนุมใหญ่ของนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ในระหว่างวันที่ 10–14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จากระบอบเผด็จการทหาร ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย และเป็นจุดเริ่มต้นของการตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยการเคลื่อนไหวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผลทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 คน และบาดเจ็บ 857 คน[63]
  • กำแพงเก่า ปืนใหญ่ และประตูสนามหลวง

กำแพงเก่า คือ กำแพงด้านถนนพระจันทร์ ซึ่งเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูนที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกกันว่า "กำแพงชรา" คือ กำแพงของพระราชวังบวรสถานมงคลที่เหลืออยู่ แต่เดิมกำแพงชราจะมีทั้งด้านถนนพระจันทร์และด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวง โดยมีประตูป้อมตรงหัวมุมถนนท่าพระจันทร์–หน้าพระธาตุ เชื่อมกำแพงทั้งสองด้านและเป็นประตูสำหรับการเข้าออก ต่อมาในสมัยที่ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดี กำแพงและประตูป้อมด้านถนนพระธาตุ–สนามหลวงได้ถูกรื้อลงเพื่อก่อสร้างหอประชุมใหญ่

ใน พ.ศ. 2527 ได้มีการจัดสร้างประตูป้อมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมฉลองการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบรอบ 50 ปี ในการก่อสร้างประตูป้อมในครั้งนั้น ได้มีการขุดค้นพบปืนใหญ่ของวังหน้าจำนวน 9 กระบอก ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้าทาง โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้นำขึ้นมาบูรณะแล้วจัดตั้งแสดงไว้ที่ริมรั้วหน้าหอประชุมใหญ่ด้านสนามหลวง

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประติมากรรม 6 ตุลาคม 2519 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • หอประชุมใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นอธิการบดี ในราว พ.ศ. 2506 โดยหอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น[64] ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น หอประชุมเล็ก อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า หอประชุมศรีบูรพา ตามนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย

หอประชุมใหญ่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัยและนักศึกษาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับพิธีไหว้ครู พิธีพระราชทานปริญญาบัตร และที่สำคัญได้แก่การจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หอประชุมใหญ่กลายเป็นสถานที่ที่มีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ สภาพการเมืองและสังคม ผ่านการอภิปรายและการจัดนิทรรศการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นเสมือนด่านหน้าในการป้องกันการโจมตี จากกลุ่มอันธพาลการเมือง และการล้อมปราบนิสิตนักศึกษา และประชาชน ในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[64]

  • สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อยู่ลานกว้างด้านหน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วยชิ้นงานประติมากรรมที่รังสรรค์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ทางการเมืองและประชาธิปไตยที่ผ่านมา[65] โดยสวนประติมากรรมแห่งนี้เป็นสวนประติมากรรมกลางแจ้ง มีประติมากรรม 8 ชิ้น ใน 11 เหตุการณ์สำคัญ เพื่อความเข้าใจที่กระชับลงตัว โดยให้ผลงานประติมากรรมชิ้นหนึ่งรวม 3 เหตุการณ์ไว้ด้วยกัน มีประติมากรรม ได้แก่ การอภิวัฒน์ 2475, การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ธรรมศาสตร์กับขบวนการเสรีไทย, ขบวนการนักศึกษา พ.ศ. 2494–พ.ศ. 2500, ยุคสายลมแสงแดดและยุคแสวงหา, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519, ธรรมศาสตร์กับเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ทั้งนี้ ประติมากรรมเป็นฝีมือของสุรพล ปัญญาวชิระ

การขยายไปศูนย์รังสิต

แต่เดิมท่าพระจันทร์นี้ เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาตรีด้วย แต่ในปัจจุบันหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวได้ขยายไปอยู่ที่ศูนย์รังสิตแล้วตามนโยบายมหาวิทยาลัย เหลือเพียงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรควบปริญญาตรี–โท และปริญญาตรีโครงการพิเศษ

ในช่วงของการพิจารณาขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิตดังกล่าวนั้น ได้มีการต่อต้านอย่างหนักจากประชาคมธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ และชุมชนท่าพระจันทร์[66][67] (ดูจิตวิญญาณธรรมศาสตร์)

ศูนย์รังสิต

ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 1,757 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน”[68] โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียและอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง

ตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อธิการบดีในขณะนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินทุ่งรังสิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีใน พ.ศ. 2518 ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ มหาวิทยาลัยจึงวางแผนการขยายวิทยาเขตไปที่ชานเมือง

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์อาคารโดมบริหาร และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และปลูกต้นยูงทอง ณ บริเวณอาคารโดมบริหาร พร้อมทั้งทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในคราวเดียวกันด้วย และต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

อาคารปิยชาติ

จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2528 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528 จึงเป็นคณะแรกที่เปิดสอนที่ศูนย์รังสิต ในปีการศึกษา 2529

17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณค่าก่อสร้างจากรัฐบาลญี่ปุ่น และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอาคารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร[69]

สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต

ต่อมาใน พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณเดียวกับองค์พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อพระ จำนวน 4 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้งพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า .พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอพระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542[70] และต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระดังกล่าว ภายในศูนย์ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียนต่าง ๆ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อาคารอำนวยการ อาคารบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา โรงพิมพ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ร้านอาหาร ร้านค้าและธนาคาร กลุ่มหอพักนักศึกษาและบุคลากร โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาคารระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้าย่อย และโรงบำบัดน้ำเสีย ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[71] ซึ่งเป็นศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นสนามกีฬารองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 และ กีฬามหาวิทยาลัยโลก พ.ศ. 2550

ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2548 วันที่ 20 มิถุนายน 2548 ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับหลักสูตรภาคปกติทุกกลุ่มวิชา โดยเริ่มต้นสำหรับนักศึกษาที่รับเข้าในปีการศึกษา 2549 และหลักสูตรบัณฑิตศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ

และในเดือนธันวาคม 2562 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ได้เปิด อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หลังจากเริ่มการสร้างตั้งแต่ปี 2017 โดยหัวเรือใหญ่อย่าง อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเปิดให้ทั้งนักศึกษาและคนทั่วไปเข้าใช้งานบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ภายใต้การทำงานร่วมกันกับทีมออกแบบผังแม่บท CIDAR (Center of Innovative Design and Research) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมสถาปนิกจากสถาบันอาศรมศิลป์ นำโดยอาจารย์ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) และอาจารย์กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกแห่ง LANDPROCESS เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอย ที่ยังคงไว้เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม [72]

ศูนย์ลำบากมาก

อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดมแก้ว) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

ตั้งอยู่ที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 52190 อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง–เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ "อาคารสิรินธรารัตน์"

ศูนย์พัทยา

พิพิธภัณฑ์ในมหาวิทยาลัย

ภายในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น นอกจากเป็นที่ตั้งของคณะต่าง ๆ แล้ว ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทั้งในเชิงวิชาการและการอนุรักษ์ ดังนี้

พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่อาศัยในแผ่นดินไทยปัจจุบัน ตั้งอยู่ ณ ศูนย์รังสิต ในความดูแลของคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา[74] สืบเนื่องจากการที่คณะฯ ได้รับโบราณวัตถุจากการขุดค้นภาคสนามในโครงการขุดค้นวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่บ้านอ้อมแก้วและบ้านธาตุ จังหวัดอุดรธานี และมีโบราณวัตถุเพิ่มเติมขึ้นจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ในช่วงระยะเวลาต่อมาอนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ อยู่ในพื้นที่จัดแสดงทั้งหมดราว 400 ตารางเมตร บนชั้น 2 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าถึงชีวิตนายปรีดี พนมยงค์ และสะท้อนวิวัฒนาการทางการเมืองของไทย ทั้งยังแฝงบางแง่มุมของอุดมการณ์ที่ควรค่าแก่การเอาเยี่ยงอย่าง[75]หอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อยู่ในพื้นที่จัดแสดง บนชั้น 3 ของตึกโดม ณ ท่าพระจันทร์ บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของมหาวิทยาลัย แสดงถึงตัวตนและจิตวิญญาณมหาวิทยาลัยซึ่งมีส่วนสร้างสรรค์จิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทเคียงข้างสังคมไทยสมัยใหม่ และยังเป็นแหล่งสืบค้น และศูนย์รวมข้อมูลของประชาคมธรรมศาสตร์[76]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ http://board.212cafe.com/view.php?user=economics&i... http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?p... http://www.bangkokbiznews.com/2006/02/28/news_2003... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.chemistrytu.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://maps.google.com/maps?ll=13.755853,100.49087... http://www.inseepolicefc.com/sanam.php http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7558... http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.ph... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst...