การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี พุทธศาตรบัณฑิต

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นพระภิกษุ และสามเณร

  1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยคและต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
  3. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
  5. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) หรือ
  6. เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
  7. เป็นผู้สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  8. เป็นผู้สำเร็จระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลี ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  9. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
  10. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษาที่เป็นคฤหัสถ์ หรือประชาชนทั่วไป

  1. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
  2. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
  3. เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา 3 ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยอื่นรับรอง หรือ
  4. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
  5. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และต้องศึกษาวิชาภาษาบาลีไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรสาขาวิชาภาษาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
  6. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
  7. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย (ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2542 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 3) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551)


ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม