ลำดับเหตุการณ์ของมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

  • พ.ศ. 2432 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาและพระราชทานนามสถาบัน มหาธาตุวิทยาลัย ขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เพื่อให้เป็นสถานที่บอกพระปริยัติธรรม และเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งจากเดิมเคยใช้พื้นที่บริเวณเก๋งจีนหน้าวัดพระศรีรัตนศาสนาดาราม
  • พ.ศ. 2435 วันที่ 18 กันยายน 2435 รัชกาลที่ 5 ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระยาภาสกรวงษ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ปรารภถึงการที่ทรงจะเปลี่ยนชื่อ มหาธาตุราชวิทยาลัย เป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2439 วันที่ 13 กันยายน 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" พร้อมสถาปนาอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยทรงตั้งพระทัยจะให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของพระสงฆ์
  • พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) ประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย 57 รูป เพื่อประกาศให้มีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช 2490 พร้อมทั้งประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภามหาวิทยาลัย คณะแรก [10 มกราคม 2490]
  • พ.ศ. 2490 วันที่ 30 มกราคม 2490 ประชุมสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคร้งแรก เพื่อเลือกตั้งอธิการบดี เลขาธิการและคณบดี รวมทั้งตั้งกรรมาธิการแผนกต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 วันที่ 18 กรกฎาคม 2490 ประกอบพิธีเปิดเรียนในชั้นอบรมพื้นความรู้ใหม่แก่พระนิสิตรุ่นแรกของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2490 เปิดบริการมหาจุฬาบรรณาคาร
  • พ.ศ. 2492 วันที่ 1 กรกฎาคม 2492 เปิดดำเนินการโรงเรียนแผนกบาลีมัธยมศึกษา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2492 วันที่ 18 กรกฎาคม 2492 เปิดดำเนินการศึกษาแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อย่างเป็นรูปธรรม
  • พ.ศ. 2493 จัดตั้งคณะพุทธศาสตร์ แต่เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2494
  • พ.ศ. 2497 มีผู้สำเร็จพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) รุ่นแรก 6 รูป
  • พ.ศ. 2498 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3 ชั้น เมื่อ 20 กันยายน 2498[39]
  • พ.ศ. 2499 เมื่อ 10 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสำนักธรรมวิจัย เพื่อสนองงานเผยแผ่และกิจกรรมต่าง ๆ ของ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2500 ประกาศใช้หลักสูตรระบบทวิภาคหรือชีเมสเตอร์และระบบหน่วยกิตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ. 2501 กำเนิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทย ที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และขยายสาขาออกไปทั้งประเทศและต่างประเทศในช่วงต่อมา (13 กรกฎาคม 2501)
  • พ.ศ. 2503 คณะศรัทธานำโดยนายสำราญ กัลยาณรุจ นายปรีดา รามอินทรา และคณะ ได้มอบถวายที่ดินที่บ้านบางปลากด ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน 156 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา ให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยในชั้นแรกโอนฝากไว้กับวัดมหาธาตุ (3 มิถุนายน 2503)
  • พ.ศ. 2504 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2504 เปิดคณะครุศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคณะที่ 2
  • พ.ศ. 2506 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2506 เปิดประชุมครั้งแรกเพื่อดำเนินการสร้างพระไตรปิฎกบาลี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน ฯ เป็นประธาน 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เปิดแผนกอบรมครูศาสนศึกษาขึ้น เป็นหลักสูตรวิชาสามัญชั้น ป.กศ. และเพิ่มบาลีธรรมและยกฐานะขึ้นเป็น ป.กศ.สูง ต่อมาปี พ.ศ. 2512 ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และได้ยุบไปรวมกับคณะครุศาสตร์ในปี พ.ศ. 2530
  • พ.ศ. 2506 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 70,000 บาท สมเด็จพระบรมราชินีนาถ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 70,000 บาท สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงบริจาคจำนวน 70,000 บาท เพื่อสมทบทุนการจัดสร้างพระไตรปิฎกบาลี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2506 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2506 เปิดการศึกษาคณะเอเซียอาคเนย์ ต่อมาปี 2507 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ จนกระทั่งปีการศึกษา 2529 ได้แยกออกเป็น 2 คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์
  • พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2507 จัดตั้งมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปรากฏเป็นหลักฐานดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 82 ตอนที่ 50 ในวันที่ 22 มิถุนายน 2508 หน้า 1695 [40]
  • พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2507 นางบุญรอด ไพสิษฎิ์ บริจาคที่ดินจำนวน 7 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ตรงบริเวณปากตรอกจรเข้ ต.บางนาเกร็ง จ.สมุทรปราการ แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2511 ก่อตั้งอภิธรรมโชติกวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ฯ (ย้ายมาจากวัดระฆังโฆสิตาราม)
  • พ.ศ. 2512 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2512 ยกฐานะแผนกอบรมครูศาสนศึกษา เป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา (ป.กศ.สูง)
  • พ.ศ. 2512 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2512 มหาเถรสมาคม มีประกาศคำสั่งเรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้มหาจุฬา ฯ เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์
  • พ.ศ. 2513 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 มีการจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2513 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย มีพื้นฐานมาจาก "วิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ" [จัดตั้งมูลนิธิวิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นนิติบุคคล ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 106 ง หน้า 1816 ประกาศเมื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2515][41]
  • พ.ศ. 2514 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2514 ตั้งวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ แต่ต่อมาปี พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช [จัดตั้ง "มูลนิธิวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ" เป็นนิติบุคคล ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 93 ตอนที่ 148 ง หน้า 3602 ประกาศเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519][42]
  • พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2517 ตกลงซื้อที่ดินในามมูลนิธิ มจร. สร้างมหาจุฬาอาศรมที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
  • พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 วางศิลาฤกษ์สร้างหอประชุมศูนย์พัฒนาศาสนา มหาจุฬามหาลงกรณราชวิทยาลัยแคมป์สน ส่วนเจดีย์อิสรภาพนั้นวางศิลาฤกษ์เมื่อ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518
  • พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานงานอนุสรณ์ครบรอบปีที่ 32 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2522 จัดงานและก่อตั้งสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เนื่องในโอกาสที่ มจร.ครบรอบ 90 ปี
  • พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2524 ตั้งสถาบันวิปัสสนาธุระ
  • พ.ศ. 2525 มีการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อร้องรับการบริหารโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องให้อำนาจจัดตั้ง "มูลนิธิโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เป็นนิติบุคคล ปรากฏตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 18 ประกาศเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2525[43]
  • พ.ศ. 2526 แยกคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นคณะมนุษย์ศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์
  • พ.ศ. 2526 ประกาศใช้หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต
  • พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2527 ประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527
  • พ.ศ. 2527 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ประกาศจัดตั้งโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2529 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พ.ศ. 2529 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • พ.ศ. 2530 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี เดิมทีมีการเปิดวิทยาลัยครูศาสนศึกษา มจร. มาตั้งแต่ พ.ศ. 2527
  • พ.ศ. 2530 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2530 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2531 ตั้งบัณฑิตวิทยาลัย (ปริญญาโท)
  • พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2531 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พ.ศ. 2532 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จัดงานมหาจุฬา ฯ ในรอบ ศตวรรษ (100 ปี)
  • พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระสุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารและกรรมการชำระพระไตรปิฎก จำนวน 15 ท่าน เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายพระไตรปิฎก จำนวน 9 ชุด และอรรถกถาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 9 ชุด
  • พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานงานสัปดาห์สมโภชพระไตรปิฏก ฯ ภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬา ฯ
  • พ.ศ. 2535 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2535 ยกฐานะสถาบันบาฬีพุทธโฆส เป็ฯมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
  • พ.ศ. 2535-2536 เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (พระราชพิพัฒนน์โกศล) สร้างอาคารมหาจุฬา ฯ แห่งที่ 2 ที่วัดศรีสุดาราม กทม.
  • พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 จัดแสดงมุทิตาสักการะพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เนื่องในโอกาสที่องค์การ UNESCO ถวายรางวัล "การศึกษาเพื่อสันติภาพ"
  • พ.ศ. 2538 ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2538 มีการประกาศใช้หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2538
  • พ.ศ. 2539 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2539 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมา เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ฯ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ศูนย์วัดศรีสุดาราม
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2540 คณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 14 รูป ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เพื่อถวายพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 3 เล่ม
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2540 วุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ที่แก้ไขโดยกรรมาธิการร่วม
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 114 ตอนที่ 51 ก
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานทรงเปิดงานอนุสารณ์ครบ 50 ปี อุดมศึกษา มจร.
  • พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 จัดงานครบ 50 ปี อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2542 นายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสสรได้ถวายที่ดินจำนวน 84 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแก่มหาวิทยาลัย รวมกับที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดซื้อเพิ่มเติม ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 323 ไร่   หลังจากนั้น ในวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2542 คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทูลเกล้าถวายโฉนดที่ดินทั้ง 2 แปลง เพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย 
  • พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2542 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดี จนกระทั่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2551 มหาวิทยาลัยได้ย้ายที่ทำการจากวัดมหาธาตุและ วัดศรีสุดาราม กรุงเทพมหานคร มายังที่ทำการแห่งใหม่ ณ กิโลเมตรที่ 55 ถนนพหลโยธิน  ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในที่สุด วันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2553 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดป้ายหอประชุม มวก 48 พรรษา และเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ
  • พ.ศ. 2548 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จ.พิษณุโลก ตามที่ปรากฏในข้อกำหนดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช พุทธศักราช 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 44 ง ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548 หน้า 60 [44]
  • พ.ศ. 2552 การรับวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ประเทศสิงคโปร์ (Buddhist College of Singapore) เข้าเป็นสถาบันสมทบ ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ พิเศษ 61 ง ประกาศเมื่อ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 หน้า 106[45]
  • พ.ศ. 2552 เปลี่ยนชื่อสถาบันสมทบ Kandy Buddhist Institute for Advanced Studies (KBI) ประเทศศรีลังกา เป็น Sri Lanka International Buddhist Academy (SIBA) ประเทศศรีลังกา ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ พิเศษ 61 ง ประกาศเมื่อ 24 เมษายน พ.ศ. 2552 หน้า 107[46]
  • พ.ศ. 2553 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์[47]
  • พ.ศ. 2553 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี[48]
  • พ.ศ. 2555 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เชียงราย[49]
  • พ.ศ. 2555 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง[50]
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา (ASIAN Studies Center)[51]
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูต[52]
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ [53]
  • พ.ศ. 2556 สถาบันวิปัสสนาธุระ [54]
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ[55]
  • พ.ศ. 2558 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ [56]
  • พ.ศ. 2558 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี จ.นครปฐม[57]
  • พ.ศ. 2558 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด[58]
  • พ.ศ. 2558 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง จ.เพชรบูรณ์[59]
  • พ.ศ. 2558 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี[60]
  • พ.ศ. 2560 จัดงานครบรอบ 130 ปีการสถาปนามหาวิทยาลัย ระหว่าง 13-17 กันยายน 2560
  • พ.ศ. 2561 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี
  • พ.ศ. 2561 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ
  • พ.ศ. 2561 พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีรูปที่ 6 ต่อจากพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. ที่หมดวาระลงไป [61]
  • พ.ศ. 2561 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์สุราษฎร์ธานี [62]
  • พ.ศ. 2561 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์ระยอง [63]
  • พ.ศ. 2561 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์มหาสารคาม [64]
  • พ.ศ. 2562 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์เพชรบุรี [65]
  • พ.ศ. 2562 จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี [66]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม