มหาวิทยาลัยมหาสารคาม_วิทยาเขตบึงกาฬ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Mahasarakham University; อักษรย่อ: มมส – MSU) ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511 ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2517 และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54ก[5] นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 21 ของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 52 ปี ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2537[6] ตั้งอยู่ที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย (ม.ใหม่) และถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ม.เก่า) มีรองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 194 หลักสูตร ใน 19 คณะและเทียบเท่า[1] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 87 หลักสูตร ปริญญาโท 64 หลักสูตร ปริญญาเอก 43 หลักสูตร[7] มีบัณฑิตวิทยาลัยดูแลการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและเอก มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนักศึกษาอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วประมาณ 40,000 คน มีบุคลากรสายวิชาการ 1,260 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 2,337 คน[1]:2 ทำการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติและภาคพิเศษ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม_วิทยาเขตบึงกาฬ

ฉายา มอน้ำชี
เว็บไซต์ http://www.msu.ac.th/
ชื่อย่อ มมส / MSU / ม.สารคาม
ประเภท สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 (52 ปี)
(ก่อตั้งครั้งแรก)
9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (26 ปี)
(สถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
นายกสภาฯ นายสราวุธ เบญจกุล[3]
งบประมาณ 3,032,429,950 บาท
(ปีการศึกษา 2563)[1]:1
มาสคอต เสือดาว จามรี ภุมริน และมฤคมาศ
คติพจน์ พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว
(ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน)
ชื่อเดิม วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม (2511–2517)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม(2517–2537)
จำนวนเจ้าหน้าที่ 2,337 (ปีการศึกษา 2562) [1]
เพลง มาร์ชมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ร่มจามจุรี
อธิการบดี รศ.ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล[2]
ที่ตั้ง เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่)
41 หมู่​ 20​ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
เขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า)
269 หมู่ 2 ถนนนครสวรรค์​ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
สำหรับเขตพื้นที่อื่น ดูในบทความ
จำนวนผู้ศึกษา 40,249 [4] (ปีการศึกษา 2563)
สีประจำสถาบัน ██ สีเหลือง
██ สีเทา
จำนวนอาจารย์ 1,260 (ปีการศึกษา 2562) [1]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร