มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล

เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เลขที่ 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เลขที่ 402/1 หมู่ 5 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 โรงเรียนราชแพทยาลัยได้ถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ในเวลาต่อมา[5] คณะแพทย์แห่งนี้ได้รับการพัฒนาวิชาการจนได้มาตรฐานแพทยศาสตร์ศึกษาสมัยใหม่ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ ผ่านการดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[6] จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตรได้[7] โดยปริญญาบัตรอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[8]ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีการแยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์ อันประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์มาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] มหาวิทยาลัยมหิดลจึงไม่สามารถนับอายุตั้งแต่การก่อตั้ง "โรงเรียนแพทยากร" เพราะไม่ได้มีสถานะเป็น "มหาวิทยาลัย" ทั้งตามนิยามของราชบัณฑิตยสภา[9] และตามกฎหมายจัดตั้ง คือ "แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกกรมพยาบาล เปิดโรงเรียนแพทยากร" ซึ่งกฎหมายนี้ไม่มีคำใดที่มอบสถานะ "มหาวิทยาลัย" หรือ "สถาบันอุดมศึกษา" แก่โรงเรียนแพทยากร[10] ดังนั้นตามหลักนิติรัฐ ประเทศสยามในขณะนั้นจึงไม่ได้ก่อตั้ง "มหาวิทยาลัย" ชื่อ "โรงเรียนแพทยากร" ขึ้นด้วยอำนาจของรัฐบนดินแดนอธิปไตยของประเทศ ทั้งโดย "สถานะ" และโดย "นาม" ต่อมา แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ และแผนกอิสระเภสัชศาสตร์ ได้ถูกโอนกลับไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 121 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ถูกโอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512[11]มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จากกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN)ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีที่ตั้งหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอำนาจเจริญ ฯลฯอดีตผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ต่อมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล

เครือข่าย AUN, ASAIHL
เว็บไซต์ www.mahidol.ac.th
ชื่อย่อ MU
สถาปนา 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (76 ปี)[1]
2 มีนาคม พ.ศ. 2512 (50 ปี) (วันพระราชทานนาม)
นายกสภามหาวิทยาลัย ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร[2](19 พ.ย.2562 - ปัจจุบัน)
ประเภท สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
คติพจน์ อตฺตานํ อุปมํ กเร (พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง)
Wisdom of the Land (ปัญญาของแผ่นดิน)
อธิการบดี ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ (รักษาการ)
วิทยาเขต มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เลขที่ 199 หมู่ 9 ถนนแสงชูโต ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เลขที่ 402/1 หมู่ 5 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ เลขที่ 259 หมู่ 13 ถนนชยางกูร ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท เลขที่ 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
จำนวนผู้ศึกษา 32,675 คน[3] (ปีการศึกษา 2558)
สีประจำสถาบัน      สีน้ำเงิน[4]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยมหิดล http://asiatravel.com/thailand/salaya/index.html http://maps.google.com/maps?ll=13.793406,100.32251... http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7934... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.natureindex.com/institution-outputs/tha... http://roundranking.com/world-map.html http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.topuniversities.com/asia-rankings/metho...