การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและยั่งยืน ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยสีเขียว

ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับปี พ.ศ. 2551 คณะผู้บริหารต้องการสร้างมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น "มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน" ให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังแนวคิดที่ว่า "A promised place to live and learn with nature" ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ รื่นรมย์ เอื้อต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา บุคลากรและชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการปรับปรุงในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ภูมิทัศน์ ระบบสัญจร ระบบสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาไม่หยุดเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตขอผู้คนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม เช่น

  • การพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    • จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมประเภทเดียวกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่อเนื่องกัน
    • เพิ่มความหนาแน่นการใช้ที่ดิน รักษาพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 70% ของพื้นที่ทั้งหมด
    • จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมเป็นระบบบล็อกย่อย (Sub-block System)
    • กำหนดพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสำคัญ
  • การพัฒนาระบบภูมิทัศน์
    • อนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและระบบนิเวศของพื้นที่แต่ละส่วนให้มีสภาพความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด
    • นำพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมกีฬา นันทนาการ หรือกิจกรรมการศึกษา
    • สร้างแนวแกนสีเขียวและเส้นทางสีเขียว (Green Way) เชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน
  • การควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง
    • ควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต โดยการควบคุมระบบการวางผังอาคารและสิ่งก่อสร้างโดยคานึงถึงหลักเกณฑ์การเกิดอาคารและการออกแบบอาคาร เช่น รูปผังอาคาร ความสูง และระยะถอยร่นอาคาร
  • การพัฒนาระบบการสัญจร
    • ลดความสำคัญของการสัญจรทางรถยนต์ โดยการปรับลดผิวถนนหลัก 3 เลน เป็นทางเท้าและทางจักรยาน
    • จัดทางสัญจรทางรถให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการพัฒนาใหม่เท่าที่จำเป็น
    • ควบคุมเส้นทางสัญจรทางรถไว้ที่พื้นที่รอบนอกกลุ่มอาคาร เพื่อรักษาพื้นที่ภายในส่วนการศึกษาไว้สำหรับการเดินและการขี่จักรยาน
    • เน้นบริการรถขนส่งสารธารณะและการสัญจรในมหาวิทยาลัยด้วยการเดินและขี่จักรยาน
  • การพัฒนาระบบสารธารณูปโภคสาธารณูปการ
    • ปรับปรุงสารธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัวพื้นที่ในอนาคต โดยคำนึงถึงการลดพลังงาน การักษาสิ่งแวดล้อม และการลดการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชน[93][94]


มหาวิทยาลัยยั่งยืน

การปรับกระบวนทัศน์ความคิดในการบริหารจัดการองค์กรสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน ศตรวรรษที่ ๒๑ ด้วยเป้าหมายหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่มุ่งสร้างให้เกิดดุลยภาพขององค์ประกอบพื้นฐานในมิติสำคัญ ๓ มิติ ได้แก่ มิติเชิงเศรษฐกิจ (Economic) มิติเชิงสิ่งแวดล้อม (Ecology) และมิติเชิงสังคม (Social) โดยคาดหวังผลลัพธ์ของการก่อให้เกิดความเท่าเทียม (Equity) ความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร (Efficient) และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Quality of Life)

มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและภูมิภาค มีปณิธานสำคัญของการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมีพันธกิจของสร้างความเป็นเลิศศทางด้านสุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ [95]

มหาวิทยาลัยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558-2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ เริ่มด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (Resources Efficiency) โดยจะให้ความสำคัญกับการลดปริมาณกากของเสีย เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการควบคุมอาคาร รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพขณะเดียวกันยังมีกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Community Engagement) ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษา การวิจัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยสีเขียว ด้านความปลอดภัยและความเสี่ยง ตลอดจนการสนับสนุนโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่กำลังจะทำคือ Organic Food ให้ชาวบ้านมาปลูกผักในมหาวิทยาลัย และมีนโยบายให้นักศึกษาปลูกผักเอง เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะเทคนิคการแพทย์และสถาบันโภชนาการที่สามารถเข้ามาช่วยตรวจวัดปริมาณสารเคมี เพื่อคนจะได้กินผักปลอดสารพิษ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล, ปุ๋ยหมักชีวภาพ, แปลงผักปลอดสารพิษ, จักก้าเซ็นเตอร์และจักรยานสีขาว (จักรยานสาธารณะ), บริการขนส่งสาธารณะ (รถรางNGV), การงดใช้กล่องโฟมในพื้นที่มหาวิทยาลัย, การจัดระบบบำบัดน้ำเสียในทุกอาคาร เป็นต้น [96]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยมหิดล http://asiatravel.com/thailand/salaya/index.html http://maps.google.com/maps?ll=13.793406,100.32251... http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7934... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.natureindex.com/institution-outputs/tha... http://roundranking.com/world-map.html http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.topuniversities.com/asia-rankings/metho...