อุทยานธรรมชาติ ของ มหาวิทยาลัยมหิดล

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นหลายหน้า (อภิปราย)

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในระยะแรกของการดำเนินการ ใช้ชื่อว่า “โครงการปลูกสวนสมุนไพร” โดยดำริของ ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในระยะนั้น และ ศ.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ เป็นผู้วางรากฐานและรูปแบบภูมิสถาปัตย์

ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ได้เขียนบทความในหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” ที่ว่า “ในระยะเวลาที่มีการเตรียมการก่อสร้างที่ศาลายา ได้มีแนวคิดสำคัญประการหนึ่ง คือจะใช้พื้นที่ศาลายาเป็นพื้นที่นันทนาการสำหรับนักศึกษา เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกด้วย ทั้งนี้โดยคำนึงถึงชุมชนใหม่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากับศาลายาที่คาดว่าจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป” “ท่านศาสตราจารย์พเยาว์ ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจดำเนินการสร้างสวนแห่งนี้อย่างเต็มที่ นับเป็นโชคดีที่สามารถส่งเสริมให้คนที่รู้วิชาการเภสัชพฤกษศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ได้ทำงานที่ต้องการจะทำ แม้จะไม่มีเงินทองหรือผู้ช่วยที่มากมาย แต่การทำงานด้วยใจรัก ก็สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้” ซึ่งหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” เป็นหนังสือที่ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา พ.ศ. 2539 สื่อถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ที่จะให้สวนสมุนไพรแห่งนี้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทยสำหรับการศึกษา วิจัย พัฒนาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และเป็น “ปอดสีเขียว” ให้บุคลากรในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2524 หลังจากปลูกไม้ร่มเงาแล้วจึงนำสมุนไพรไทยทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มจัดปลูกลงตามที่สถาปนิกวางรูปแบบไว้ รวบรวมสมุนไพรที่มีศักยภาพและมีรายงานการวิจัยสนับสนุนในพื้นที่ 12 ไร่ พืชสมุนไพรเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อว่า "สิรีรุกขชาติ" และเป็นสวนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสมุนไพรแห่งนี้ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ว่า

สวนสวยดี และช่างคิดที่นำสมุนไพรมาใช้เป็นไม้ประดับ

– สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปัจจุบันสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติภายใต้การดูแลและดำเนินการของภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38 ไร่ รวบรวมพันธุ์สมุนไพรไว้ประมาณ 800 ชนิด จัดปลูกไว้อย่างสวยงาม พร้อมป้ายชื่อพืชสมุนไพรที่ระบุทั้งชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ และเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ รวมทั้งผู้สนใจที่ได้เข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นทุกปี จนได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาให้เป็นโครงการดีเด่นแห่งชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านสมุนไพร) ประจำปี พ.ศ. 2539 ภายในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีทั้งพรรณไม้สมุนไพรที่พบทั่วไปและใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และสมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่หาได้ยาก พื้นที่ในสวนสมุนไพรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  • ส่วนแรก เป็นเรือนเพาะชำ ซึ่งปลูกสมุนไพรที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ไม่ต้องการแสงแดดจัด และขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น ดองดึง หญ้าหวาน รวมทั้งพืชที่มีพิษ เช่น ช้างร้อง สลอด เป็นต้น
  • ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่สวนหย่อมสมุนไพร พื้นที่ประมาณ 12 ไร่ จัดปลูกสมุนไพรเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้เลื้อย และไม้ล้มลุกที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามเหมาะกับการพักผ่อน และเรียนรู้พืชสมุนไพร ได้แก่ มะเกลือ ส้มเสี้ยว กันเกรา สารภี สีเสียด เป็นต้น
  • ส่วนสุดท้าย ปลูกในลักษณะสวนป่าในพื้นที่ประมาณ 26 ไร่ เพื่อแสดงระบบนิเวศที่สมุนไพรเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้น และไม้เล็กที่ขึ้นแซมไม้ใหญ่ ให้ความร่มรื่นเหมาะกับผู้ที่สนใจศึกษาสมุนไพรอย่างเป็นธรรมชาติ พืชในส่วนนี้ เช่น สมอไทย สมอพิเภก สมอดีงู การบูร อบเชย โมกมัน เป็นต้น

นอกจากนี้อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีสมุนไพรที่หาชมได้ยากหลายชนิด เช่น โมกราชินี สิรินธรวัลลี สามสิบกีบน้อย และจิกดง ซึ่งเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก มะลิซาไกสมุนไพรหายากที่ใช้เป็นยาคุมกำเนิดของชนเผ่าซาไก กำแพงเจ็ดชั้น กวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงสมุนไพรบำรุงกำลังของไทย รวมทั้งสมุนไพรที่เป็นพืชผักพื้นบ้านอีกหลากหลายชนิด

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อดูแล ป้องกันและรักษาสุขภาพ พร้อมไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีขณะนั้น จึงดำริที่จะยกระดับพื้นที่สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ และพื้นที่อนุรักษ์ข้างเคียงบริเวณด้านทิศใต้จำนวน 171 ไร่ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติและระดับนานาชาติ ในลักษณะ Botanical Garden เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้สามารถเป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นแหล่งรวบรวมพืช ผลิตและทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลาย เป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์และสมุนไพรของจังหวัดนครปฐม และภูมิภาคตะวันตกของประเทศ โดยเริ่มได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปี ๒๕๕๔ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อสวนสมุนไพร “สิรีรุกขชาติ” เป็น "อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ" ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553[97]

ประกอบด้วย 7 อาคาร 7 ลาน ดังนี้

  • อาคารใบไม้สามใบ อาคารต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมเข้าสู่ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการถาวร “สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล”
  • ลานนานาสมุนไพร ลานจัดแสดงสมุนไพรไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ในกระถางขนาดใหญ่รูปดอกไม้บนลานหินกว้าง
  • บ้านหมอยา อาคารให้บริการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และให้คำปรึกษาการใช้ยาสมุนไพร พร้อมการนวดรักษาแบบราชสำนัก
  • สวนสมุนไพร พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ จัดปลูกในรูปแบบสวนสาธารณะ มีไม้ยืนต้นเป็นหลัก พร้อมทั้งไม้เลื้อยขนาดใหญ่ และแซมด้วยพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้มีความร่มรื่นสามารถใช้ศึกษาพืชสมุนไพรและพักผ่อนไปพร้อมๆ กัน
  • หอดูนก 1 พื้นที่ชุ่มน้ำของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นแหล่งพักพิงของนกนานาชนิด หอดูนกทั้ง 2 หอจึงเป็นอาคารที่ใช้เพื่อ เฝ้าดูนกและสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนก กิจกรรมการศึกษาจำแนกชนิดนกสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตรอบตัว
  • หอดูนก 2
  • ลานไม้เลื้อย ลานรวบรวมไม้เลื้อยสมุนไพรขนาดกลางและเล็กปลูกไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการศึกษาเปรียบเทียบ
  • ลานสมุนไพรวงศ์ขิง ลานปลูกกลุ่มพืชหัววงศ์ขิงที่มีคุณค่าเป็นยา และเป็นพืชในเขตร้อนที่มีความสำคัญทั้งในการใช้ระดับชุมชน และการวิจัยพัฒนายาใหม่
  • อาคารใบไม้ใบเดียว อาคารสาธิต การขยายพันธุ์และห้องปฏิบัติการสำหรับการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้พิการ เพื่อการปรับใช้ด้วยตนเอง
  • ลานสมุนไพรเพื่อคนพิการ ลานสมุนไพรที่อำนวย ความสะดวกในการศึกษาสมุนไพรเป็นพิเศษสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุแห่งแรกในประเทศไทย โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ขึ้นเป็นพิเศษ ผู้พิการทางสายตาจะสามารถสัมผัส ดม และชิมให้เกิดความรู้เชิงประจักษ์
  • ศาลาหมอชีวกโกมารภัจน์ ประดิษฐานรูปหล่อหมอชีวกโกมารภัจน์แพทย์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นบรมครูแห่งการแพทย์ แผนโบราณ ซึ่งหมอแผนไทยผู้ที่กำลังศึกษาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ความเคารพ ศรัทธา และกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
  • ลานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รวบรวมสมุนไพรจำนวน 69 ชนิด ที่ผ่านการวิจัย ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ป้องกันและรักษาอาการป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้ มีลานสาธิต และทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ พร้อมลานพักผ่อนสันทนาการและเผยแพร่ความรู้
  • อาคารสัมมนาห้องอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางเรื่องการใช้ประโยชน์ สมุนไพรไทย สำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมส่วนบริการห้องอาหาร 180 ที่นั่ง ซึ่งจะเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ
  • อาคารวิจัยและพิพิธภัณฑ์พืช ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2ด้าน ได้แก่ ชั้นที่ 1 ห้องปฏิบัติการวิจัยการขยายพันธุ์สมุนไพรพืช ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชั้นที่ 2 พิพิธภัณฑ์สมุนไพร (Herbarium) ที่รวบรวมตัวอย่างพรรณไม้สมุนไพรแห้ง เพื่อเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบให้บริการตรวจสอบชนิดและสร้างเครือข่ายติดต่อกับ พิพิธภัณฑ์พืชในต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ อนุรักษ์พันธุ์พืชในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย

ในระดับนานาชาติ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการยกย่องเป็น Medicinal Plant Garden แห่งเดียวของประเทศไทย ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมร่วมอาเซียนและกำหนดขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้และจะเป็นแหล่งศึกษาดูงานที่สำคัญของภูมิภาคบริการวิชาการต่างๆ ที่สำคัญยังถือเป็นสำหรับประชาชน แหล่งเรียนรู้เพื่อปลุกกระแสให้คนไทยหันมาร่วมกันสร้างป่าสมุนไพรในเมืองนักเรียน นักศึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีนักวิชาการและความมั่นคงด้านยารักษาโรคนักวิจัย ทั้งวันนี้และอนาคตตลอดไป”


ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยมหิดล http://asiatravel.com/thailand/salaya/index.html http://maps.google.com/maps?ll=13.793406,100.32251... http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7934... http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.natureindex.com/institution-outputs/tha... http://roundranking.com/world-map.html http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.topuniversities.com/asia-rankings/metho...