สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยรังสิต

หน้าปกเอกสารโครงการวิทยาลัยปิ่นเกล้า แสดงเครื่องหมายของวิทยาลัย ที่มีรูปแบบเดียวกับของมหาวิทยาลัยรังสิต
  • พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย[1] - พระศรีศาสดา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 4 ศอก คืบ 8 นิ้ว สูง 5 ศอก คืบ 1 นิ้ว พระรัศมียาว 1 ศอก คืบ 1 นิ้ว ที่นายประสิทธิ์ อุไรรัตน์ จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมศรัทธา และเป็นที่เคารพสักการะ ของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนมณฑปพระศรีศาสดา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางของมหาวิทยาลัย เป็นมณฑปทรงจตุรมุขสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยกระจกสีอย่างงดงาม ตามแบบแผนสถาปัตยกรรมไทย
  • เครื่องหมายมหาวิทยาลัย - ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 มีรูปแบบที่สื่อสะท้อนถึงปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในอันที่จะสนองต่อวัตถุประสงค์ ของการสร้างสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ความใส่ใจกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ผนวกเข้ากับคุณธรรมและจิตสำนักอันดีงาม เพื่อสรรค์สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่สาดส่องพรายแสงแห่งปัญญา นำมรรคาเยาวชนสู่สภาวะรู้แจ้งในธรรม เพื่อเป็นพลังสร้างสรรค์สังคมธรรมาธิปไตย ที่ถือธรรมเป็นใหญ่ ยึดความถูกต้องเป็นหลัก ซึ่งมีองค์ประกอบคือ
    • โลกุตระ หมายถึง จุดมุ่งหมายอันสูงส่งของมวลมนุษย์ คือการบรรลุสภาวะแห่งความรู้แจ้งในธรรม โดยมีปัญญาเป็นแสงส่องทางสู่การบรรลุธรรมสูงสุด
    • ดวงอาทิตย์ หมายถึง ดาวฤกษ์ที่ให้แสงสว่างส่องลงมายังผืนโลก เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ สรรพสัตว์ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล
      • อนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2528-2553 เครื่องหมายของมหาวิทยาลัย เป็นการรวมวัตถุสัญลักษณ์ แทนวัตถุประสงค์ ที่จะสร้างสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า แก่สังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มสามเหลี่ยมปริซึม หมายถึง ประชาชนทุกหมู่เหล่า ที่รวมกันเป็นสังคม, ฟันเฟือง หมายถึง พลังแห่งวิทยาการ และเทคโนโลยีทุกแขนง, ดวงอาทิตย์ส่องแสง หมายถึง อำนาจ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรือง, ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึง พลังแห่งคุณธรรม และสามัคคีธรรม และ ปิ่น หมายถึง เป้าหมายอันดีงาม สูงสุดของสังคม[1]
  • ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย[1] - มีสองชนิดคือ แก้วเจ้าจอม และ พะยอม
    • แก้วเจ้าจอม
    • พะยอม (ชื่อพื้นเมือง: กะยอม ขะยอม ขะยอมดง พะยอมดง แคน เชียง เซี่ยว พะยอม พะยอมทอง ยางหยวก) เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงประมาณ 15-40 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับรูป ขอบขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ขอบใบเป็นคลื่น ออกช่อดอกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลแห้งรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก ตามตำรายาไทย ใช้เปลือกและต้น เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดิน และลำไส้อักเสบ สารออกฤทธิ์ในพะยอมคือแทนนิน ดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ และลดไข้ นอกจากนี้ ยังใช้เปลือกและต้นเป็นสารกันบูดด้วย

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม