พื้นที่การศึกษา ของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 5 ส่วน กับ 1 วิทยาเขต และ 1 ศูนย์การศึกษา (วิทยาเขต)

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนของพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี (กองคลัง กองแผนงาน), อาคารวิทยบริการและบริหาร (กองบริการการศึกษา), อาคารเรียนรวม (เวียงคำ), อาคารเรียนรวม (เวียงผา), ธนาคารทหารไทย สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะรัฐศาสตร์ 1, อาคารศรีศรัทธา (อาคารคณะรัฐศาสตร์ 2), อาคารจอดรถพิเศษ 8 ชั้น, อาคารสำนักพิมพ์, สถาบันการศึกษานานาชาติ, โรงกลาง (โรงอาหารกลาง), อาคารนพมาศ (บัณฑิตศึกษา), หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช, อาคารบรรยายรวม (กงไกรลาศ), อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, อาคารบรรยายรวม (ศิลาบาตร), เซเว่นอีเลฟเว่น สาขาที่ 14146, อาคารศิลาบาตร (SBB), ศูนย์ฝึกซ้อมกอล์ฟในร่ม KLB 601, สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารงานแพทย์และอนามัย
  • ส่วนที่ 2 คือส่วนพื้นที่การจัดศึกษา ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ, อาคารบรรยายรวมคณะบริหารธุรกิจ, อาคารท่าชัย (บัณฑิตวิทยาลัย), อาคารสุโขทัย เป็นที่ตั้งของ (คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะสื่อสารมวลชน คณะทัศนมาตรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันภาษา สถาบันบริการวิชาการทางอิเล็กทรอนิกส์ โครงการพิเศษปริญญาโท), ธนาคารออมสิน สาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก), อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ 1 และ 2, อาคารสถาบันคอมพิวเตอร์, สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา, อาคารโรงยิม 4, อาคารห้องน้ำชาย-ห้องน้ำหญิง, ตึกรับส่งข้อสอบ
  • ส่วนที่ 3 ครอบคลุมไปยัง อาคารเบกพล, ที่ทำการคณะนิติศาสตร์ (1), คณะนิติศาสตร์ใหม่ (2), ที่ก่อสร้างอาคารหอสมุดกลางแห่งใหม่ สำนักหอสมุดกลาง, อาคารสวรรคโลก, คณะศึกษาศาสตร์ (1), ศึกษาศาสตร์ (2), สำนักกีฬา, สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยรามคำแหง, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายประถม, โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง (อนุบาล), สนามเทนนิส, โรงยิม 2, โรงยิม 3, อาคารเบกพล (กองอาคารสถานที่)
  • ส่วนที่ 4 เป็นที่ตั้งของ คณะมนุษยศาสตร์ 1 และ 2, คณะวิทยาศาสตร์, อาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์, อาคารคีรีมาศ (อาคารปฏิบัติการคณะวิทยาศาสตร์), โรงอาหาร, คณะวิศวกรรมศาสตร์, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ฝ่ายมัธยม, อาคารเรียนศรีจุฬาลักษณ์ (ของคณะมนุษยศาสตร์), อาคารเรียนพิริยราม (คณะศึกษาศาสตร์ และปริญญาโทโครงการพิเศษ), อาคารของภาควิชาสถิติ, โรงยิม 1
  • ส่วนที่ 5 เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช, สระน้ำ, พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข
  • ส่วนที่ 6 เป็นที่ตั้งของ กองงานวิทยาเขตบางนา จัดการเรียนการสอนของ นักศึกษาชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และปริญญาโท ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา)
  • ส่วนที่ 7 อยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้มีมติเห็นชอบโครงการยกฐานะ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุโขทัย เป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย ในการนี้ ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับงบประมาณแผ่นดินเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียน ฯลฯ คณะธุรกิจการบริการ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

นอกจากนี้ยังมีส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นหน่วยจัดการเรียนการสอนและพื้นที่ในความดูแลของมหาวิทยาลัย คือ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ ต่างจังหวัด 23 แห่ง จัดการเรียนการสอนปริญญาตรี, โท (บางคณะ) และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัด

ภาคเหนือ

ภาคกลาง

ภาคตะวันออก

ภาคตะวันตก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคใต้


สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2/2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยในต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม และพัฒนาการอุดมศึกษาไทยแข่งขันในเวทีการศึกษาโลก พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง รวมทั้งสร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยรามคำแหงและประเทศชาติให้กว้างไกลทั่วสากลหลักสูตรที่เปิดสอนในต่างประเทศ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และกำลังจะเปิดสอนระดับปริญญาเอก ปัจจุบัน ขยายสู่ 29 ประเทศทั่วโลก มีศูนย์สอบ 38 แห่งในประเทศต่างๆ และกำลังขยายเพิ่มขึ้น การจัดสอบได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากกระทรวงการต่างประเทศ ในการให้ความอนุเคราะห์สถานที่สอบ และการดำเนินการจัดสอบ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย และสถานกงสุลใหญ่ในประเทศต่างๆ ที่มีผู้สมัครเรียน ประเทศที่มีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยรามคำแหง 29 ประเทศ ดังต่อไปนี้

  • สาขาวิทยบริการฯ สหรัฐอเมริกา
  • สาขาวิทยบริการฯ แคนาดา
  • สาขาวิทยบริการฯ สหราชอาณาจักร
  • สาขาวิทยบริการฯ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
  • สาขาวิทยบริการฯ ฝรั่งเศส
  • สาขาวิทยบริการฯ สวิตเซอร์แลนด์
  • สาขาวิทยบริการฯ เบลเยี่ยม
  • สาขาวิทยบริการฯ อิตาลี
  • สาขาวิทยบริการฯ สเปน
  • สาขาวิทยบริการฯ ออสเตรีย
  • สาขาวิทยบริการฯ โปแลนด์
  • สาขาวิทยบริการฯ โปรตุเกส
  • สาขาวิทยบริการฯ ไอซ์แลนด์
  • สาขาวิทยบริการฯ สวีเดน
  • สาขาวิทยบริการฯ นอร์เวย์

  • สาขาวิทยบริการฯ เดนมาร์ก
  • สาขาวิทยบริการฯ บาห์เรน
  • สาขาวิทยบริการฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • สาขาวิทยบริการฯ ออสเตรเลีย
  • สาขาวิทยบริการฯ นิวซีแลนด์
  • สาขาวิทยบริการฯ ญี่ปุ่น
  • สาขาวิทยบริการฯ เกาหลีใต้
  • สาขาวิทยบริการฯ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • สาขาวิทยบริการฯ อินเดีย
  • สาขาวิทยบริการฯ กัมพูชา
  • สาขาวิทยบริการฯ สิงคโปร์
  • สาขาวิทยบริการฯ มาเลเซีย
  • สาขาวิทยบริการฯ เวียดนาม

สถาปัตยกรรมที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

  • พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นจุดเด่นของพระราชวัง ซึ่งในมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีพระที่นั่งจำลององค์นี้ ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวรามคำแหงภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
  • เรือสุพรรณหงส์จำลอง อยู่กลางสระน้ำภายในเรือประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ซึ่งมีความสวยงามโดดเด่น
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไว้กลางมหาวิทยาลัยที่เรียกว่า “ลานพ่อขุน” ที่นี่ จึงเป็นจุดรวมใจของชาวรามคำแหงทั้งมวล

ชาวรามคำแหงเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทาน ปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นประจำทุกปี

  • ศาลาไทยประยุกต์ อยู่หน้าอาคารสุโขทัย เป็นศาลาประยุกต์ กลางน้ำ จัดเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานร่วมสมัย
  • หอนาฬิกา จัดเป็นหอนาฬิกาขนาดใหญ่ มีความสูงเท่ากับตึก 4 ชั้น หน้าปัด เป็นสถาปัตยกรรมศิลาจารึก เป็นกระจกสีฟ้า เดินเวลาแบบดิจิตอล
  • หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นอาคารแบบประยุกต์ 2 ชั้น โดยด้านหน้ามีหลังคาเป็นศิลาจารึก โดยภายในอาคารมีห้องรับรองไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาประกอบพระกรณียกิจที่มหาวิทยาลัย และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.facebook.com/ruscholarship/ http://www.faikham.com/ http://maps.google.com/maps?ll=13.755236,100.62014... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7552... http://www.ryt9.com/s/tpd/1397522 http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.witcomram.com/ http://www.webometrics.info/top100_continent.asp?c... http://www.globalguide.org?lat=13.755236&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.755236,100.620...