สัญลักษณ์ ของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตรามหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย

เป็นตราสัญลักษณ์ที่อัญเชิญตราพระนามย่อ “จภ” ภายใต้จุลมงกุฎซึ่งเป็นตราพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประดิษฐานที่กึ่งกลาง อักษร “” เป็นสีแสด และอักขระ “” เป็นสีขาว มีพื้นสีม่วงรองรับและมีแพรแถบพื้นสีขาวขอบสีทองรองรับอยู่เบื้องล่างพร้อมอักษรสีม่วง คำว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ประดับอยู่ภายในแพรแถบ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์มาเป็นตรามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2536

สีประจำมหาวิทยาลัย

██สีแสด” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

██สีม่วง” เป็นสีประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสีประจำพระรัตนธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ และผู้อำนวยการการจัดการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราชและมณฑลปัตตานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยชาวนครศรีธรรมราชนับถือและยกย่องว่าเป็นผู้จัดการศึกษาสมัยใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ต้นประดู่

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ “ต้นประดู่” (Pterocarpus indicus) ส่วนมากพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ เป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกให้ร่มเงาในเมืองนครศรีธรรมราช เคยปลูกบริเวณศาลาหน้าจวนเจ้าเมือง ซึ่งรู้จักกันในนาม “ศาลาประดู่หก


อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตมีความรู้คู่การปฏิบัติ อุตสาหะสู้งาน เก่งด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี มีคุณธรรม” (Walailak graduates have practical intelligence, adversary quotient, liberal arts perspective and technology competence, all integrated with high moral.)

ความรู้คู่การปฏิบัติ” (Practical Intelligence) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ที่เป็นเชิงทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อุตสาหะสู้งาน” (Adversary quotient) หมายถึง ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในทุกสถานการณ์ที่บัณฑิตต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว หรือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอุตสาหะสู้งานเป็นคุณลักษณะที่จะนำพาบัณฑิตไปสู่ความสำเร็จได้ทั้งในฐานะที่เป็นผู้นำและสมาชิกกลุ่ม

เก่งด้านศิลปศาสตร์” (Liberal arts perspective) หมายถึง การเห็นคุณค่าของมนุษย์ การมีจิตใจอ่อนโยน มีความรอบรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์ มีความเข้าใจผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร เข้าใจและยอมรับในสังคมที่มีความหลากหลาย และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม

เก่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” (Science and technology competence) หมายถึง ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าใจและรู้ทันพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่

มีคุณธรรม” (all integrated with moral) หมายถึง ความสามารถทุกด้านที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นจะต้องมีการบูรณาการร่วมกับคุณธรรมและศีลธรรมอันดีงาม บันฑิตจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นศึกษิต แห่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ “อุทยานการศึกษาแห่งอาเซียน” (Education Park of ASEAN)

อุทยานการศึกษา” (Education Park) หมายถึง แหล่งรวมขององค์ความรู้ที่ผู้แสวงหาความรู้ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ตามอัธยาศัย โดยเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้

แห่งประชาคมอาเซียน” (of ASEAN) หมายถึง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถือเป็นมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นมหาวิทยาลัยของอาเซียนได้ด้วย องค์ความรู้ใดที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้กับทั้งสังคมไทยและประชาคมอาเซียน ในอนาคตมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คงจะได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เพิ่มขึ้น และเป็นการดำเนินแนวทางตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม