อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัดอันดับ
CWTS (2016)5(822)
QS (Asia) (2016)8(185)
QS (World) (2016)5(701+)
RUR (2016)3(618)
SIR (2016)7(552)
THE (Asia) (2016)3(141-150)
THE (World) (2016)6(801+)
THE (BRICS) (2016)7(188)
URAP (2015)6(904)
U.S. News (2017)5(933)

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

ในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[6] โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ในกลุ่มที่ 3 ในด้านการเรียนการและด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนนร้อยละ 65-69 จากคะแนนเต็ม 100%

ส่วนการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยครั้งที่ 3 ในปีพ.ศ. 2554 พบว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการประเมินในระดับ 5 หรือในระดับดีเยี่ยมในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร) ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และระดับ 4 หรือในระดับดีในกลุ่มสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร และสัตวแพทยศาสตร์ (Plant and Soil Science) ภาควิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ (อายุรศาสตร์) ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ชีวเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา หน่วยระบาดวิทยา รังสีวิทยา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และสถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เภสัชศาสตร์) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อันดับมหาวิทยาลัย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 822 ของโลก[7]

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย ศิษย์เก่าที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่ติดอันดับ [8]

การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 5 ของประเทศไทย และอยู่ช่วงอันดับที่ 701+ ของโลก[9]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[10]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[11]

โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 8 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 185 ของเอเชีย[12]

การจัดอันดับโดย Round University Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ของประเทศไทย และอันดับที่ 618 ของโลก[13]

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 552 ของโลก และเป็นอันดับ 7 ของประเทศไทย [14]

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education

The Times Higher Education หรือ THE มีระเบียบวิธีการจัดอันดับโดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 5 ประการ วัดคะแนนเป็นเปอร์เซนต์[15]การสอน (บรรยากาศการเรียน) คิดเป็น 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย การสำรวจชื่อเสียงทางวิชาการ 15 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนของจำนวนบุคลากรต่อนักศึกษา 4.5 เปอร์เซนต์อัตราส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตต่อบัณฑิต 2.25 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต 6 เปอร์เซนต์ รายรับของมหาวิทยาลัย 2.25 เปอร์เซนต์การวิจัย (ปริมาณ รายรับ และชื่อเสียง) 30 เปอร์เซนต์ ประกอบไปด้วย สำรวจความมีชื่อเสียงทุกปี โดย Academic Reputation Survey 18 เปอร์เซนต์รายรับจากงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์ ปริมาณงานวิจัย 6 เปอร์เซนต์การอ้างอิง อิทธิพลของงานวิจัย 30 เปอร์เซนต์ทัศนะจากนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษาและงานวิจัย) 7.5 เปอร์เซนต์อัตราส่วนนักศึกษาต่างชาติต่อนักศึกษาในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ อัตราส่วนบุคลากรต่างชาติต่อในประเทศ 2.5 เปอร์เซนต์ ความร่วมมือระดับนานาชาติ 2.5 เปอร์เซนต์การส่งต่อความรู้ 2.5เปอร์เซนต์ การที่มหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำไปใช้ต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และอันดับที่ 801+ ของโลก[16]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 6 ของประเทศไทย และอันดับ 904 ของโลก[17] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2017” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย และอันดับที่ 933 ของโลก[18]

อันดับมหาวิทยาลัยด้านอื่นๆ

การจัดอันดับโดย Webometrics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 7 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 834 ของโลก[19]

การจัดอันดับสอบแข่งขันตำแหน่งครูผู้ช่วย

ข้อมูลจากการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย พ.ศ. 2560 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พบว่า 10 อันดับสูงสุดของสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู ที่มีนักศึกษาสอบผ่านเกณฑ์และขึ้นบัญชีในการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครู อันดับ 1 ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มากที่สุด จำนวน 1,320 คน รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 1,247 คน และมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 1,189 คน ตามลำดับ[20]

การจัดอันดับจำนวนศาสตราจารย์

ดูเพิ่มเติมที่: ศาสตราจารย์

ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยมีผู้ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวนทั้งสิ้น 34 คน ซึ่งเป็นอันดับ 7 ของประเทศ โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์มีดังนี้

  • ศ.นพ.กรีฑา ธรรมคำภีร์
  • ศ.ดร.รวี เถียรไพศาล
  • ศ.ดร.ธีระ เอกสมทราเมษฐ์
  • ศ.นพ.นครชัย เผื่อนปฐม
  • ศ.บัญชา สมบูรณ์สุข
  • วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล
  • วิญญู มิตรานันท์
  • ภก.ญ.วิมล ตันติไชยากุล
  • สงวนสิน รัตนเลิศ
  • พญ.สมจิตต์ จารุรัตนศิริกุล
  • สมปอง เตชะโต
  • ศ.สุทธวัฒน์ เบญจกุล*
  • นพ.สุเทพ จารุรัตนศิริกุล
  • หเทิญ ถิ่นธารา
  • ศ.อมรรัตน์ พงศ์ดารา
  • ศ.พญ.อุ่นใจ กออนันตกุล
  • ครองชัย หัตถา
  • ศ.ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน (29 พ.ย. 2555)
  • ศ.พญ.ประยงค์ เวชวานิชสนอง
  • ศ.นพ.ดร.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์*
  • ศ.ดร.ศุภยางค์ วรวุฒิคุณชัย*
  • ศ.ดร.ดวงพร คันธโชติ
  • ดำรงศักดิ์ ฟ้ารุ่งสาง
  • ทพ.บุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล
  • สุชาติ ลิ่มกตัญญู
  • เบญจมาศ เชียรศิลป์
  • ดร.ศศิธร พุมดวง
  • พูนสุข ประเสริฐสรรพ์
  • พญ.สิริพร หิรัญแพทย์
  • นพ.คณิตพงษ์ ปราบพาล
  • ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล
  • ภก.ญ.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร
  • พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย
  • สมยศ ทุ่งหว้า (19 พ.ค. 2559)
  • แมนสิงห์ รัตนสุคนธ์ (31 พ.ค. 2559)
  • ฉวีวรรณ จั่นสกุล
  • อดิศร รัตนพันธ์

/ โอนย้าย + ปรับออก - ลาออก * รับเงินเดือนขั้นสูง ** ต่อเวลาราชการ *** เกษียณ ตัวเอียง รอโปรดเกล้าฯ

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.enttrong.com/node/category/prince-of-so... http://www.leidenranking.com/ranking/2016/list http://www.photoxcite.com/ http://www.rak-mor-or.com/ http://roundranking.com/world-map.html http://scimagoir.com/rankings.php?country=THA http://www.topuniversities.com/asia-rankings/metho... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.topuniversities.com/university-rankings... http://www.topuniversities.com/university-rankings...