ส่วนงาน ของ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ส่วนงานทางวิชาการ

มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานทางวิชาการออกเป็นทั้งสิ้น 6 คณะ (School) แต่ละคณะมีมีภาควิชา (Faculty) และสาขาวิชา (Department หรือ Division) ทั้งหมดนี้ให้บริการในด้านการเรียนการสอนและวิจัย คณะวิชาของมหาวิทยาลัยมีดังนี้[note 3][8]

คณะศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์

  • ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และประวัติศาสตร์ศิลปะ
    • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
    • สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ
  • ภาควิชาเอเชียตะวันออกและตะวันออกกลางศึกษา (Asian and Middle Eastern Studies, เดิมคือภาควิชาบูรพคดีศึกษา Oriental Studies)
    • สาขาวิชาเอเชียตะวันออกศึกษา (East Asian Studies)
    • สาขาวิชาตะวันออกกลางศึกษา (Middle Eastern Studies)
  • ภาควิชาศิลปคลาสสิก (Classics)
    • พิพิธภัณฑ์โบราณคดีคลาสสิก
  • ภาควิชาเทววิทยา (Divinity)
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาภาษาสมัยใหม่และภาษายุคกลาง
    • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
    • สาขาวิชาภาษาเยอรมันและดัตช์
    • สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน
    • สาขาวิชาสลาฟศึกษา (Slavonic studies)
    • สาขาวิชาภาษาสเปนและโปรตุเกส
    • สาขาวิชาภาษากรีกสมัยใหม่
    • สาขาวิชาภาษาลาตินใหม่ (Neo-Latin)
  • ภาควิชาดุริยศาสตร์
  • ภาควิชาปรัชญา
  • ศูนย์วิจัยศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

  • ภาควิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และรัฐศาสตร์
    • สาขาวิชาโบราณคดีและมานุษยวิทยา
      • สาขาวิชาโบราณคดี
      • สาขาวิชามานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ
      • ศูนย์ศึกษาวิวัฒนาการมนุษย์ลีเวอร์ฮูล์ม (Leverhulme Centre for Human Evolutionary Studies)
      • สาขาวิชามานุษยวิชาเชิงสังคม
      • หน่วยศึกษามองโกเลียและเอเชียตอนใน
      • พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยา
      • สถาบันวิจัยโบราณคดีแมกโดนัลด์ (McDonald Institute for Archaeological Research)
    • สาขาวิชารัฐศาสตร์และนานาชาติศึกษา
      • ศูนย์เพศศึกษา
      • ศูนย์แอฟริกันศึกษา
      • ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
      • ศูนย์ลาตินอเมริกันศึกษา
      • ศูนย์เอเชียใต้ศึกษา
    • สาขาวิชาสังคมวิทยา
  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
  • ภาควิชาครุศาสตร์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาประวัติและปรัชญาวิทยาศาสตร์
    • พิพิธภัณฑ์ประวัติวิทยาศาสตร์วิพเพิล (Whipple Museum of the History of Science)
  • ภาควิชานิติศาสตร์
    • ศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศเลาเทอร์พัคท์ (Lauterpacht Centre for International Law)
  • สถาบันอาชญาวิทยา
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ดิน

คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ

  • ภาควิชาชีววิทยา
    • สาขาวิชาชีวเคมี
    • ศูนย์วิจัยครอบครัว
    • สาขาวิชาพันธุศาสตร์
    • สาขาวิชาพยาธิวิทยา
    • สาขาวิชาเภสัชวิทยา
    • สาขาวิชาสรีรวิทยา การพัฒนา และประสาทศาสตร์
    • สาขาวิชาพืชศาสตร์
      • สวนพฤกษศาสตร์
    • สาขาวิชาจิตวิทยา
      • ศูนย์เจตมิติ (psychometrics)
    • สาขาวิชาสัตววิทยา
  • ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์
    • สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
  • ศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเวลคัมทรัสต์
  • สถาบันเกอร์ดอนว่าด้วยการวิจัยมะเร็ง
  • ศูนย์ชีววิทยาระบบเคมบริดจ์
  • ห้องปฏิบัติการเซนสบรี (Sainsbury Laboratory)

คณะวิทยาศาสตร์กายภาพ

  • ภาควิชาโลกศาสตร์และภูมิศาสตร์
    • สาขาวิชาโลกศาสตร์
      • พิพิธภัณฑ์โลกศาสตร์เซดจ์วิก (Sedgwick Museum of Earth Sciences)
    • สาขาวิชาภูมิศาสตร์
      • ศูนย์วิจัยขั้วโลกสกอตต์
      • พิพิธภัณฑ์ขั้วโลก
  • ภาควิชาคณิตศาสตร์
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์และฟิสิกส์ทฤษฎี
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และสถิติเชิงคณิตศาสตร์
      • ห้องปฏิบัติการสถิติ
  • ภาควิชาฟิสิกส์และเคมี
    • สาขาวิชาดาราศาสตร์
    • สาขาวิชาเคมี
    • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และโลหวิทยา
    • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สถาบันคณิตศาสตร์ไอแซก นิวตัน

คณะแพทยศาสตร์

  • ภาควิชาชีวเคมีคลินิก
    • ห้องปฏิบัติการวิจัยเมทาบอลิก
  • ภาควิชาประสาทศาสตร์คลินิก
    • ศูนย์เคมบริดจ์ว่าด้วยการซ่อมแซมสมอง
    • หน่วยวิจัยประสาทวิทยา
    • สาขาวิชาการผ่าตัดประสาท
    • ศูนย์วิจัยการถ่ายภาพสมองวูล์ฟสัน (Wolfson Brain Imaging Centre)
  • ภาควิชาโลหิตวิทยา
    • สาขาวิชาเวชศาสตร์การถ่ายเลือด
  • ภาควิชาพันธุเวชศาสตร์
  • ภาควิชาแพทยศาสตร์
    • สาขาวิชาวิสัญญีวิทยา
    • สาขาวิชาเภสัชวิทยาคลินิก
    • สาขาวิชาวักกเวชศาสตร์ (renal medicine)
  • ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
  • ภาควิชาวิทยาเนื้องอก
  • ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
    • หน่วยวิจัยด้านผังสมอง
    • สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็ก
  • ภาควิชาสาธารณสุขและการดูแลปฐมภูมิ
    • หน่วยวิจัยการดูแลปฐมภูมิ
    • สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้ชรา (gerontology)
  • ภาควิชารังสีวิทยา
  • ภาควิชาศัลยกรรม
  • สถาบันวิจัยแพทยศาสตร์เคมบริดจ์

คณะเทคโนโลยี

  • ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์
    • สาขาวิชาพลังงาน กลศาสตร์ของไหล และเครื่องกลเทอร์โบ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วัสดุ และการออกแบบ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • สาขาวิชาการผลิตและจัดการ
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
  • ภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ (หรือ วิทยาลัยธุรกิจเคมบริดจ์จัดจ์ (Cambridge Judge Business School))
    • ศูนย์วิจัยธุรกิจ
  • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
    • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและชีวเทคโนโลยี
  • สถาบันภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน

ศูนย์ไม่สังกัดคณะ

  • ศูนย์วิจัยเชิงประยุกต์ว่าด้วยเทคโนโลยีการศึกษา
  • ศูนย์อิสลามศึกษา
  • สถาบันการศึกษาต่อเนื่อง
  • หน่วยบริการสนเทศมหาวิทยาลัย
  • หอสมุด

คอลเลจ/วิทยาลัยแบบคณะอาศัย

มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 31 คอลเลจ หรือวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (college) แต่ละวิทยาลัยจะมีหน้าที่หลักในการอำนวยความสะดวกที่พักและอาหารให้นิสิตทุกระดับ[9] รวมทั้งจัดการเรียนการสอนเสริม ติวแบบตัวต่อตัวหรือกลุ่มเล็ก ๆ (Supervisions/ ส่วนทางออกซฟอร์ดเรียก Tutorials) กับรับนิสิตปริญญาตรีด้วย นิสิตทุกคนและอาจารย์ส่วนใหญ่จะมีวิทยาลัยสังกัด ภายในวิทยาลัยจะเป็นเขตที่พักอาศัยและพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันของนิสิต โดยคละกันมาจากแต่ละคณะวิชา ทั้งนี้บางคณะอาจจะเลือกนิสิตอย่างกว้าง ๆ กระจายไปในแต่ละสาขา เช่น วิทยาลัยเซนต์แคเทอรีน[10] บางวิทยาลัยก็เลือกให้มีสาขาเอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น วิทยาลัยเชอร์ชิลล์ จะเลือกนิสิตเน้นสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์[11]

ในจำนวน 31 วิทยาลัยนี้ มีวิทยาลัยเมอร์เรย์ เอ็ดเวิร์ด (Murray Edward College) วิทยาลัยนิวแนม (Newnham College) วิทยาลัยลูซี คาเวนดิช (Lucy Cavendish College) เป็นคณะหญิงล้วน ส่วนวิทยาลัยที่เหลือเป็นแบบสหศึกษา (รับทั้งนิสิตชายและหญิง) บางวิทยาลัยในจำนวนนี้เคยมีแต่เฉพาะนิสิตชาย ได้แก่ วิทยาลัยเชอร์ชิลล์ (Churchill College) วิทยาลัยแคลร์ และราชวิทยาลัยคิงส์ (King's College) ทั้งสามวิทยาลัยดังกล่าวเริ่มรับนิสิตหญิงในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งจากการนี้เอง 16 ปีต่อมา วิทยาลัยมอดลิน (Magdalene College)[note 4][12] จึงได้เป็นวิทยาลัยชายล้วนแห่งสุดท้ายของมหาวิทยาลัย[13]

วิทยาลัยนอกจากเป็นที่อาศัยศึกษาของนิสิตแล้ว ยังแสดงถึงทัศนะทางการเมืองและสังคมของนิสิตในวิทยาลัยนั้นด้วย อาทิ วิทยาลัยคิงส์ นิสิตมักมีแนวคิดหัวก้าวหน้า (ตรงข้ามกับแนวคิดอนุรักษนิยม)[14] วิทยาลัยโรบินสันและวิทยาลัยเชอร์ชิลล์ มีงานด้านการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม[15]

วิทยาลัยแคลร์ฮอลล์ (Clare Hall) วิทยาลัยดาร์วิน (Darwin College) เป็นสองวิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา นอกจากนี้ วิทยาลัยฮิวก์ฮอลล์ (Hugh Hall) วิทยาลัยลูซี คาเวนดิช วิทยาลัยเซนต์เอดมุนด์ (St Edmunds College) และวิทยาลัยวูล์ฟสัน จะรับเฉพาะนิสิตผู้ใหญ่ซึ่งมีอายุ 21 ปีขึ้นไป ทั้งนี้วิทยาลัยที่เหลือมีนโยบายรับนิสิตทุกคณะวิชา ทุกเพศ ทุกวัย

วิทยาลัยตรีนิตี้ (Trinity College) จัดเป็นวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดของระบบอ๊อกบริดจ์ และได้รับการจัดอันดับทางวิชาการสุงที่สุดของเคมบริดจ์ติดต่อกันมาหลายปีกระทั่งปัจจุบัน มีศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัลโนเบลสูงถึง 32 คน

ราชวิทยาลัยควีนส์ หรือ สมเด็จพระราชินีนาถราชวิทยาลัย หรือ ควีนส์คอลเลจ (Queens College) เป็นหนึ่งในบรรดาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดของเคมบริดจ์ และเป็นหนึ่งในวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาการในระดับสูงสุดห้าอันดับแรกของเคมบริดจ์[16] มีศิษย์เก่าที่ชื่อเสียงทั้งเชื้อพระวงศ์, ขุนนาง, นักการศาสนา, นักการเมือง, นักดาราศาสตร์ และอื่น ๆ ก่อตั้งเมื่อปี 1444 โดยพระนางมาร์กาเร็ตแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราชวิทยาลัยควีนส์ เป็นวิทยาลัยเดียวของเคมบริดจ์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษหลายพระองค์ ทรงรับไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับ ราชวิทยาลัยควีนส์ ไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์เช่นกัน นอกจากนี้ราชวิทยาลัยควีนส์ ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสะพานคณิตศาสตร์ (Mathematical Bridge) ที่มีชื่อเสียงเพียงแห่งเดียวของเคมบริดจ์อีกด้วย

วิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดค่าที่พัก ค่าอาหารแตกต่างกันไป โดยไม่ขึ้นกับทางมหาวิทยาลัย[17][18] รวมทั้งมีเงินลงทุนเพื่อการศึกษาที่แตกต่างมากน้อยไปด้วย[19] สำหรับเมืองไทยระบบ "เวียง" ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีลักษณะร่วมบางประการ คล้ายกับระบบคอลเลจ ของอ๊อกบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ยังคงเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยไม่กี่แห่งของสหราชอาณาจักร ที่ยังคงรักษาประเพณีการฝากตัวเป็นศิษย์และการรับเข้าสู่การเป็นสมาชิกของคอลเลจ (matriculation) ซึ่งแต่ละคอลเลจจะจัดพิธีนี้ขึ้นในช่วงก่อนเปิดการศึกษาในแต่ละปี โดยนิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและนิสิตบัณฑิตศึกษาทุกคนต้องสวมเสื้อคลุม (gown) คล้ายในเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เข้าร่วมกิจกรรมอันสำคัญนี้ ถึงจะถือว่า ได้เข้าสู่สมาชิกภาพของคอลเลจอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สง่างาม อย่างสมบูรณ์ และสถานะภาพความเป็นสมาชิกอันทรงเกียรตินี้ จะติดตัวนิสิตไปตลอดชีวิต ยกเว้นจะมีการย้ายวิทยาลัยในช่วงเปลี่ยนระดับการศึกษา

รายนามวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีดังนี้

(ตัวเลขข้างท้าย คือปี ค.ศ. ที่ก่อตั้ง)

ในจำนวนวิทยาลัยทั้งหมดนี้ มี 3 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตหญิงเท่านั้น (นิวแน่ม คอลเลจ, ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ, และ เมอร์เรย์ เอ็ดเวิร์ดส์)และ 4 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา (แคลร์ ฮอลล์, ดาร์วิน คอลเลจ, วูลฟ์สัน คอลเลจ, และ เซนท์ เอดมันด์ส คอลเลจ)

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ http://www.guinnessworldrecords.com/world-records/... http://www.thaicambridge.com http://www.thaive.com/modules.php?name=News&file=a... http://www.the-thainews.com/misc/journal/jn140348_... http://cambridgethaisoc.wordpress.com/ http://web.archive.org/web/20071023055509/http://w... http://www.cambridgesociety.org http://www.samaggi.org/ http://www.admin.cam.ac.uk/offices/communications/... http://www.admin.cam.ac.uk/offices/planning/inform...