หน่วยงานที่เปิดสอน ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดสอนระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

คณะ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เปิดสอนใน 8 คณะ ดังนี้

1.คณะวิศวกรรมศาสตร์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถือว่าเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชา 1.วิศวกรรมโยธา 2.วิศวกรรมเครื่องกล 3.วิศวกรรมไฟฟ้า 4.วิศวกรรมอุตสาหการและแมคคาทรอนิกส์ 5.วิศวกรรมเคมี 6.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 7.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม 8.วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด 9.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม 10.วิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ 11.วิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ใน 23 สาขา

1. วศ.บ. วิศวกรรมเคมี หลักสูตรปรับปรุง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

2. วศ.บ. วิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

3. วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

4. วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

5. วศ.บ. วิศวกรรมยานยนต์ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562

6. วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

7. วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และพลังงาน) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

8. วศ.บ. วิศวกรรมโยธา  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

9. วศ.บ. วิศวกรรมโยธา (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

10. วศ.บ. วิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

11. วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

12. วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

13. วท.บ. วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561

14. วศ.บ. วิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

15. วศ.บ. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

16. วศ.บ. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

17. วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

18. วศ.บ. วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

19. วศ.บ. วิศวกรรมวัสดุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

20. วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องมือ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

21. วศ.บ. วิศวกรรมอัตโนมัติ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

22. วศ.บ. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

23. วศ.บ. วิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559)


หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 19 สาขา

1. วศ.ม. วิศวกรรมเคมี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

2. วศ.ม. วิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

3. วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้า (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

4. วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

5. วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

6. วศ.ม./วท.ม. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555)(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

7. วศ.ม. วิศวกรรมโยธา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

8. วศ.ม. วิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

9. วศ.ม. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

10. วศ.ม. วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

11. วศ.ม. วิศวกรรมการเชื่อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

12. วศ.ม. วิศวกรรมโลหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

13. วศ.ม. วิศวกรรมคุณภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (รอปิดหลักสูตร)

14. วศ.ม. วิศวกรรมอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

15. วศ.ม. เทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

16. วท.ม./วศ.ม. วิศวกรรมชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

17. วศ.ม. วาริชวิศวกรรม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

18. วศ.ม. เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

19. วศ.ม. วิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)


หลักสูตรปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) , ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1จ สาขาวิชา 13 หลักสูตร

1. วศ.ด. วิศวกรรมเคมี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

2. วศ.ด. วิศวกรรมเครื่องกล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

3. ปร.ด. วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

4. ปร.ด. วิศวกรรมโยธา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

5. ปร.ด. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558)

6. วศ.ด. วิศวกรรมอาหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

7. ปร.ด. เทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

8. ปร.ด. วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

9. ปร.ด. วิศวกรรมชีวภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

10. วศ.ด. เทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556)  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

2.คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2533 แต่ได้เริ่มทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ในปัจจุบันมีหลักสูตรต่างๆ ให้เลือกมากมาย

ภาควิชา 1.คณิตศาสตร์ 2.ฟิสิกส์ 3.เคมี 4.จุลชีววิทยา

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ใน 5 สาขาวิชา 11 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 4 สาขาวิชา 11 หลักสูตร
  3. หลักสูตรปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) ใน 4 สาขาวิชา 6 หลักสูตร

3.คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เดิมมีชื่อว่า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์

ภาควิชา 1.ครุศาสตร์เครื่องกล 2.ครุศาสตร์ไฟฟ้า 3.ครุศาสตร์โยธา 4.ครุศาสตร์อุตสาหการ 5.เทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 6.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) , วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) , เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ใน 10 สาขาวิชา 15 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาโท ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 9 สาขาวิชา 9 หลักสูตร
  3. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1 สาขาวิชา 1 หลักสูตร

4.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (SOA+D)

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 เป็นคณะที่ทำการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ สอนเป็นภาษาอังกฤษทุกสาขาวิชา

ภาควิชา 1.สถาปัตยกรรม 2.สถาปัตยกรรมภายใน 3.ภูมิสถาปัตยกรรม 4.ออกแบบอุตสาหกรรม 5.ออกแบบนิเทศศิลป์

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) , ศิลปบัณฑิต (ศศ.บ.) ใน 5 สาขาวิชา 5 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาโท สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.) , ศิลปมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) , วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 3 สาขาวิชา 3 หลักสูตร
  3. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) 1 สาขาวิชา


เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) หลักสูตร 5 ปี ใน 3 สาขาวิชา ดังนี้

  • สถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • ภูมิสถาปัตยกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)

ปริญญาตรี ศิลปบัณฑิต 2 สาขา

  • ออกแบบอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) (เดิมคือหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม หลักสูตร 5 ปี)
  • ออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ)

ปริญญาโท หลักสูตรออกแบบและวางแผน

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Science (Design and Planning)
  • ศิลปมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Fine Arts (Design and Planning)
  • สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Master of Architecture (Design and Planning)

ปริญญาเอก หลักสูตรออกแบบและวางแผน

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การออกแบบและวางแผน) Ph.D in Design and Planning

5.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT)

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเพียงคณะเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศครบถ้วนทั้ง ปริญญาตรี โท และเอก

สายวิชา 1.สายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) ใน 1 สาขาวิชา 2 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 1 สาขาวิชา 4 หลักสูตร
  3. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1 สาขาวิชา 2 หลักสูตร

6.คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 เดิมมีชื่อว่า คณะพลังงานและวัสดุ นับเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้เปิดหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน 2.สายวิชาเทคโนโลยีพลังงาน 3.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีวัสดุ 4.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 5.สายวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) ใน 6 สาขาวิชา 10 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วศ.ด.) , ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 6 สาขาวิชา 6 หลักสูตร

7.คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ 2.สายวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ 3.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว 4.สายวิชาวิชาเทคโนโลยีชีวเคมี 5.สายวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) , วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) , ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.) ใน 5 สาขาวิชา 7 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 3 สาขาวิชา 3 หลักสูตร

8.คณะศิลปศาสตร์ (SOLA)

คณะศิลปศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก

สายวิชา 1.สายวิชาภาษา 2.สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

หลักสูตร

  1. หลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศ.ม.) ใน 2 สาขาวิชา 3 หลักสูตร
  2. หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) ใน 1 สาขาวิชา 1 หลักสูตร

สถาบัน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) เปิดสอนใน 2 สถาบัน ดังนี้

1.บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI)

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ใน 5 สาขาวิชา ดังนี้

  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการโลจิสติกส์ (Master of Science Program in Logistics Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารโครงการ (Master of Science in Project Management)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Master of Science in Technology and Innovation Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ (Master of Business Administration in Entrepreneurship Management)
  • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการธุรกิจโทรคมนาคม (Master of Business Administration in Telecommunication Business Management)

2.สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 7 เพื่อวิจัยพัฒนาการศึกษาระดับสูงทางด้านวิชาการหุ่นยนต์ และงานวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการรับปรึกษาด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในประเทศ


ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี http://maps.google.com/maps?ll=13.652383,100.49387... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.6523... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.globalguide.org?lat=13.652383&long=100.... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.652383,100.493... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.fibo.kmutt.ac.th/ http://www.li.kmutt.ac.th/ http://www.pdti.kmutt.ac.th/ http://www.kmutt.ac.th/