มานุษยวิทยา
มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (อังกฤษ: anthropology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษามนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ หรือ การศึกษาผลงานที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ มานุษยวิทยาจึงสนใจประเด็นต่างๆที่สัมพันธ์กับมนุษย์อีกหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างทางร่างกาย รูปร่างหน้าตา สีผิว เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ บรรพบุรุษของมนุษย์ พฤติกรรมทางสังคม การใช้ภาษา การผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และวัตถุสิ่งของ มานุษยวิทยาเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นการจัดระเบียบความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เป็นระบบเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้หรือศาสตร์สาขาวิชานี้เกิดขึ้นในยุโรปและได้แพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกาในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเด็นย่อยๆเหล่านี้ทำให้เกิดการจัดหมวดหมู่เป็นสาขาย่อยของมานุษยวิทยา โดยมานุษยวิทยาสายอังกฤษ แบ่งเป็น 3 หมวด คือ มานุษยวิทยากายภาพ (Physical Anthropology) โบราณคดี (Archaeology) และมานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropology) ส่วนมานุษยวิทยาสายอเมริกัน ได้แยกเป็น 4 หมวด โดยเพิ่ม มานุษยวิทยาภาษา (Linguistic Anthropology) เข้าไป และเปลี่ยนคำว่ามานุษยวิทยาสังคมเป็นมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology) สาขาย่อยเหล่านี้จะมีระเบียบวิธีวิจัยและใช้ทฤษฎีที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมนุษย์จากสาขาย่อยเหล่านี้มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง[1]

ใกล้เคียง

มานุษยรูปนิยม มานุษยวิทยา มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มานุษยวิทยาศาสนา มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาเมือง มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มานุษยดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาการแพทย์ มานุษยวิทยากายภาพ