ยานอวกาศในอดีตและปัจจุบัน ของ ยานอวกาศ

ยานอวกาศที่มีมนุษย์

ดูเพิ่มเติม: รายชื่อของยานอวกาศที่มีมนุษย์และการบินในอวกาศของมนุษย์

ยานอวกาศลำแรก, Vostok 1

ณ ปี 2011, มีเพียงสามประเทศเท่านั้นที่ทำการบินด้วยยานอวกาศที่มีมนุษย์ ได้แก่ USSR/รัสเซีย, สหรัฐอเมริกาและจีน. อินเดีย, ญี่ปุ่น, ยุโรป/อีเอสเอ, อิหร่าน, เกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, เดนมาร์กและโรมาเนียมีแค่แผนสำหรับยานอวกาศที่มีมนุษย์ (จรวด suborbital ที่มีมนุษย์)

ยานอวกาศที่มีมนุษย์ลำแรกคือ Vostok 1 ซึ่งบรรทุกนักบินอวกาศโซเวียต ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศในปี 1961 และบินรอบโลกสำเร็จ ยังมีภารกิจอื่นอีกห้าครั้งที่ใช้ในยานอวกาศ Vostok ได้ ยานอวกาศลำที่สองชื่อ Freedom 7 ซึ่งสามารถเดินทางในวงโคจรย่อยในปี 1961 เช่นกันโดยบรรทุกนักบินอวกาศชาวอเมริกัน อลัน เชพเพิร์ทขึ้นสู่ความสูงกว่า 187 กิโลเมตร (116 ไมล์) มีภารกิจอื่นอีกห้าครั้งที่ใช้ยานอวกาศ Mercury

ยกเว้นกระสวยอวกาศ, ส่วนของยานอวกาศที่มีมนุษย์ที่สามารถกู้คืนได้เป็นแคปซูลอวกาศ

สถานีอวกาศนานาชาติมีมนุษย์ประจการำตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2000 เป็นการร่วมการงานระหว่างรัสเซีย, สหรัฐอเมริกา, แคนาดาและประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ

เครื่องบินอวกาศ

บทความหลัก: spaceplane

ยานอวกาศโคลัมเบีย (อังกฤษ: Columbia orbiter) กำลังลงจอด

ยานที่มีมนุษย์บางลำได้รับการออกแบบมาเฉพาะให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และยานเหล่านี้มักจะเรียกว่า spaceplanes ตัวอย่างแรกของยานดังกล่าวคือ North American X-15 ซึ่งทำการบินที่มีมนุษย์สองเที่ยวบินที่ความสูงกว่า 100 กิโลเมตรในปี 1960 ยานอวกาศที่นำมาใช้ใหม่ได้เป็นครั้งแรก, X-15, ถูกปล่อยบนอากาศในวิถีโค้งแบบ suborbital เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1963

ยานอวกาศโคจรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นบางส่วนลำแรกเป็นแบบไม่ใช่แคปซูลและมีปีก, กระสวยอวกาศ, ถูกส่งขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาในวันครบรอบปีที่ 20 ของการบินของ ยูริ กาการิน ในวันที่ 12 เมษายน 1981 ระหว่างยุคกระสวย, ยานแบบ orbiters 6 ลำถูกสร้างขึ้น, ทุกลำทำการบินในชั้นบรรยากาศและห้าลำในจำนวนนั้นทำการบินในอวกาศ. ยาน Enterprise ถูกใช้เฉพาะการทดสอบการบินเข้าหาและการลงจอด, การปล่อยตัวจากทางด้านหลังของโบอิ้ง 747 SCA และการร่อนไปหลุมจอดที่เอ็ดเวิร์ด AFB แคลิฟอร์เนีย. กระสวยอวกาศลำแรกที่ได้บินไปในอวกาศคือยานโคลัมเบียตามด้วยชาเลนเจอร์, Discovery, Atlantis และ Endeavour. Endeavour ถูกสร้างขึ้นเพื่อแทนที่ชาเลนเจอร์เมื่อมันหายไปในเดือนมกราคมปี 1986 โคลัมเบียระเบิดขึ้นในระหว่างการบินกลับในเดือนกุมภาพันธ์ 2003

ยานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้บางส่วนโดยอัตโนมัติเป็นลำแรกคือ Buran (พายุหิมะ) ถูกส่งขึ้นไปโดยสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 แม้ว่ามันจะทำการบินเพียงครั้งเดียว spaceplane แบบนี้ถูกออกแบบมาสำหรับลูกเรือหนึ่งคนและคล้ายกันมากกับกระสวยอวกาศของสหรัฐ ถึงแม้ว่าเครื่องเพิ่มกำลังช่วง Drop-off จะใช้ตัวขับเคลื่อนเป็นของเหลวและเครื่องยนต์หลักของมันติดตั้งอยู่ที่ฐานของบริเวณที่น่าจะเป็นถังเชื้อเพลิงภายนอกในกระสวยของอเมริกา การขาดเงินทุน, ความยุ่งยากจากการสลายตัวของสหภาพโซเวียตที่ขัดขวางมันไม่ให้ทำการบินอีกต่อไป กระสวยอวกาศได้รับการแก้ไขเรื่อยมาเพื่อให้ตัวมันเองสามารถกลับเข้าประจำการในกรณีที่มีความจำเป็น

ต่อวิสัยทัศน์สำหรับการสำรวจอวกาศ กระสวยอวกาศได้เกษียณอายุในปี 2011 สาเหตุหลักมาจากอายุมากและค่าใช้จ่ายของโครงการที่สูงถึงกว่าพันล้านดอลลาร์ต่อเที่ยวบิน. บทบาทการขนส่งมนุษย์ของกระสวยจะถูกแทนที่โดยยานสำรวจลูกเรือ (อังกฤษ: Crew Exploration Vehicle (CEV)) ที่นำกลับมาใช้ใหม่บางส่วนไม่เกินปี 2014. บทบาทของการขนส่งสินค้าหนักของกระสวยจะถูกแทนที่ด้วยจรวดใช้แล้วทิ้งเช่น Evolved Expendable Launch Vehicle (EELV) หรือ Shuttle Derived Launch Vehicle

ยาน 'SpaceShipOne' ของบริษัท Scaled Composites เป็น spaceplane แบบ suborbital ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ที่บรรทุกนักบิน ไมค์ Melvill และไบรอัน Binnie ในเที่ยวบินต่อเนื่องในปี 2004 เพื่อชนะรางวัล Ansari X Prize. บริษัทยานอวกาศจะสร้างทายาทของมันคือ สเปซชิปทู (SpaceShipTwo) ขบวนของยาน สเปซชิปทู ที่ดำเนินการโดย Virgin Galactic ควรเริ่มต้นยานอวกาศเอกชนที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เพื่อขนส่งผู้โดยสารจ่ายเงินในปี 2014

บริษัท XCOR Aerospace ยังวางแผนที่จะเริ่มต้นการบริการยานอวกาศเชิงพาณิชย์แบบ suborbital ด้วยยานชื่อ Lynx Rocketplane ผ่านการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท RocketShip Tours การทดสอบเที่ยวบินแรกมีการวางแผนในปี 2014

ยานอวกาศไร้มนุษย์

กล้องส่องทางไกล Hubble Spaceยานขนถ่ายอัตโนมัติ Jules Verne (อังกฤษ: Jules Verne Automated Transfer Vehicle (ATV)) บินเข้าหาสถานีอวกาศนานาชาติในวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2008ถูกออกแบบเป็นแบบมีมนุษย์แต่นำไปใช้บินอย่างยานอวกาศที่ไร้มนุษย์เท่านั้น
  • Zond/L1 – แคปซูลบินผ่านดวงจันทร์
  • L3 – แคปซูลและยานลงดวงจันทร์
  • TKS – แคปซูล
  • Buran -- กระสวยของโซเวียต
กึ่งมีมนุษย์ – มีมนุษย์อย่างสถานีอวกาศหรือส่วนของสถานีอวกาศ
  • Progress – ยานอวกาศบรรทุกสินค้าของ USSR/Russia แบบไร้มนุษย์
  • TKS – ยานอวกาศบรรทุกสินค้าและโมดูลสถานีอวกาศของ USSR/Russia แบบไร้มนุษย์
  • Automated Transfer Vehicle (ATV) – ยานอวกาศบรรทุกสินค้าแบบไร้มนุษย์ของยุโรป
  • H-II Transfer Vehicle (HTV) – ยานอวกาศบรรทุกสินค้าแบบไร้มนุษย์ของญี่ปุ่น
  • Dragon (ยานอวกาศ) - ยานอวกาศแบบไร้มนุษย์ส่วนบุคคล (SpaceX)
  • Tianzhou 1 - ยานอวกาศแบบไร้มนุษย์ของจีน
ดาวเทียมวงโคจรโลก
  • Explorer 1 – ดาวเทียมดวงแรกของสหรัฐ
  • Project SCORE – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรก
  • Solar and Heliospheric Observatory (SOHO) - โคจรรอบดวงอาทิตย์ใกล้ L1
  • Sputnik 1 – ดาวเทียมดวงแรกของโลก
  • Sputnik 2 – สัตว์ตัวแรกในวงโคจร (ไลก้า)
  • Sputnik 5 – แคปซูลตัวแรกที่กู้ได้จากวงโคจร (ตัวที่มาก่อน Vostok ) – สัตว์รอดชีวิต
  • Syncom – ดาวเทียมสื่อสารแบบ geosynchronous ดวงแรก
  • Hubble Space Telescope – การสำรวจวงโคจรที่ใหญ่ที่สุด
  • Boeing X-37]] – spaceplane

ณ เดือนมิถุนายน 2011, มียานอวกาศมากกว่า 2,000 ลำในวงโคจร[ต้องการอ้างอิง]

สำรวจดวงจันทร์
  • Clementine probe – ปฏิบัติการของนาวีสหรัฐ, วงโคจรดวงจันทร์, ไฮโดรเจนถูกตรวจพบที่ขั้ว
  • Kaguya (SELENE) (orbiter) JPN – วงโคจรดวงจันทร์
  • Luna 1 – บินผ่านดวงจันทร์ครั้งแรก
  • Luna 2 – กระทบดวงจันทร์ครั้งแรก
  • Luna 3 – ภาพแรกของดวงจันทร์ด้านไกล
  • Luna 9 – ลงจอดนุ่มบนดวงจันทร์ครั้งแรก
  • Luna 10 Orbiter – วงโคจรดวงจันทร์ลำแรก
  • Luna 16 – ยานกู้คืนตัวอย่างจากดวงจันทร์แบบไร้มนุษย์
  • Lunar (orbiter) – ชุดของความสำเร็จอย่างมากของยานอวกาศที่ทำแผนที่ดวงจันทร์
  • Lunar Prospector – การตรวจพบไฮโดรเจนที่ขั้วของดวงจันทร์ได้รับการยืนยัน
  • Lunar Reconnaissance Orbiter – บ่งชี้สถานที่ลงจอดที่ปลอดภัยและตำแหน่งของทรัพยากรบนดวงจันทร์
  • Lunokhod - ยานตระเวนของโซเวียต
  • SMART-1 ESA – กระทบดวงจันทร์
  • Surveyor – ยานลงจอดนุ่มลำแรกของสหรัฐ
  • Chandrayaan 1 – ปฏิบัติการดวงจันทร์ครั้งแรกของอินเดีย
มโนภาพของ Cassini–Huygens เมื่อมันเข้าสู่วงโคจรของดาวเสาร์มโนภาพของ Phoenix spacecraft เมื่อมันลงจอดบนดาวอังคารสำรวจดาวเคราะห์
  • Akatsuki (orbiter) JPN – สำรวจดาวศุกร์
  • Cassini–Huygens (orbiter) – สำรวจดาวเสาร์ลำแรก + ลงจอดบน Titan (บริวารดาวเสาร์)
  • Curiosity rover - ยานตระเวนส่งไปดาวอังคารโดยนาซาในปี 2012
  • Galileo (orbiter) – ยานสำรวจดาวพฤหัสบดีลำแรก+ทดสอบการร่อนลง
  • IKAROS JPN – ยานอวกาศที่ใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ลำแรก
  • Mariner 4 – บินผ่านดาวอังคารลำแรก, ภาพใกล้และคมชัดสูงของดาวอังคาร
  • Mariner 9 (orbiter) – ยานสำรวจดาวอังคารดวงแรก
  • Mariner 10 – บินผ่านดาวพุธลำแรก, ภาพใกล้ชิดภาพแรก
  • Mars Exploration Rover – ตระเวนดาวอังคาร
  • Mars Express (orbiter) – สำรวจดาวอังคาร
  • Mars Global Surveyor (orbiter) – สำรวจดาวอังคาร
  • Mars Reconnaissance Orbiter – เป็น orbiter สำรวจดาวอังคารที่ให้ข้อมูลภูมิอากาศ, ภาพถ่าย, ข้อมูลเรดาร์พื้นผิวล่างและการสื่อสารที่ก้าวหน้า
  • MESSENGER – ยานแบบ orbiter ที่สำรวจดาวพุธลำแรก(ไปถึงปี 2011)
  • Mars Pathfinder – ยานลงจอดดาวอังคาร + ยานตระเวน
  • New Horizons – บินผ่านดาวพลูโตลำแรก (ไปถึงปี 2015)
  • Pioneer 10 – บินผ่านดาวพฤห้สบดีลำแรก, ภาพใกล้ชิดครั้งแรก
  • Pioneer 11 – บินผ่านดาวพฤห้สบดีลำที่สอง + บินผ่านดาวเสาร์ครั้งแรก (ภาพใกล้ชิดดาวเสาร์ครั้งแรก)
  • Pioneer Venus – ยานแบบ orbiter สำรวจดาวศุกร์ลำแรก+ยานลงจอด
  • Vega 1 – บอลลูนปล่อยเข้าสู่บรรยากาศของดาวศุกร์และยานลงพื้น (ปฏิบัติการร่วมกับ Vega 2), ยานแม่บินต่อไปยังดาวหางฮัลเลย์[ต้องการอ้างอิง]
  • Venera 4 – ลงพื้นนุ่มนวลครั้งแรกบนดาวเคราะห์อื่น (ดาวศุกร์)
  • Viking 1 – ลงพื้นนุ่มนวลครั้งแรกบนดาวอังคาร
  • Voyager 2 – บินผ่านดาวพฤหัส + บินผ่านดาวเสาร์ + บินผ่าน/ภาพของดาวเนปจูนและดาวยูเรนัสครั้งแรก
อื่นๆ – อวกาศลึก
  • Cluster
  • Deep Space 1
  • Deep Impact (spacecraft)
  • Genesis (spacecraft)
  • Hayabusa (spacecraft)
  • Near Earth Asteroid Rendezvous
  • Stardust (spacecraft)
  • STEREO – การตรวจรับแบบ Heliospheric และดวงอาทิตย์ (อังกฤษ: Heliospheric and solar sensing); ภาพแรกของดวงอาทิตย์ทั้งดวง
  • WMAP
ยานอวกาศที่เร็วที่สุด
  • Helios I & II Solar Probes (252,792 กม/ชม หรือ 157,078 ไมล์/ชม)
ยานอวกาศที่ไปไกลที่สุดนับจากดวงอาทิตย์
  • Pioneer 10 ที่ 89.7 Astronomical unit (AU) เมื่อปี 2005, เดินทางออกข้างนอกที่ประมาณ 2.6 AU/ปี
  • Pioneer 11
  • Voyager 1 ที่ 106.3 (AU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2008, เดินทางออกข้างนอกที่ประมาณ 3.6 AU/ปี
  • Voyager 2 ที่ 85.49 (AU) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2008, เดินทางออกข้างนอกที่ประมาณ 3.3 AU/ปี

โครงการที่ไม่มีเงินอุดหนุนหรือถูกยกเลิก

การทดสอบการบินครั้งแรกของ Delta Clipper-Experimental Advanced (DC-XA), ระบบต้นแบบการส่งขึ้นอากาศยานที่มีมนุษย์
  • Shuguang – แค็ปซูลของจีน
  • Soyuz Kontakt – แค็ปซูลของโซเวียต
  • Almaz – สถานีอวกาศของโซเวียต
  • Manned Orbiting Laboratory – สถานีอวกาศของสหรัฐ
  • Altair (spacecraft) – ยานลงพื้นของยาน Orion ของสหรัฐ
spaceplanes หลายขั้นตอน
  • X-20 – กระสวยของสหรัฐ
  • Mikoyan-Gurevich MiG-105 (กระสวยเกลียว) ของโซเวียต
  • กระสวย Buran ของโซเวียต
  • กระสวย Hermes ของ ESA
  • Kliper กึ่งกระสวย/กึ่งแค็ปซูลของรัสเซีย
  • กระสวย HOPE-X ของญี่ปุ่น
  • กระสวย Shuguang Project 921-3 ของจีน
SSTO spaceplanes
  • RR/HOTOL ขององค์การบริหารอวกาศของอังกฤษ
  • Hopper Orbiter ของ ESA
  • DC-X (Delta Clipper) ของ McDonnell Douglas
  • Rotary Rocket - Roton แบบ Rotored-Hybrid
  • VentureStar ของ Lockheed-Martin

ใกล้เคียง

ยานอวกาศ ยานอวกาศเอนเทอร์ไพรส์ ยานอวกาศวอยเอเจอร์ 1 ยานอวกาศแคสสินี ยานอวกาศจูโน ยานอวกาศเคปเลอร์ ยานอวกาศดอว์น ยานอวกาศแอตแลนติส ยานอวกาศโคลัมเบีย ยานอวกาศมาริเนอร์ 9