การใช้ทางการแพทย์ ของ ยาแก้ซึมเศร้า

สำหรับความซึมเศร้า ผู้พยาบาลบ่อยครั้งใช้แบบวัด Hamilton Depression Rating Scale (HAM-D) เพื่อวัดความหนักเบาของโรคซึมเศร้า[4]คะแนนสูงสุดของแบบวัดที่มี 17 คำถามก็คือ 52 และคะแนนยิ่งสูงเท่าไร โรคก็รุนแรงมากขึ้นเท่านั้นในประเทศไทย กรมสุขภาพจิตกำหนดให้สถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิใช้แบบวัดทั้งแบบ 2 คำถาม และ 9 คำถาม โดยคะแนนที่สูงกว่า 7 ในแบบวัด 9 คำถามแสดงว่าต้องมีการตรวจสอบอย่างอื่น ๆ ต่อไป[5]

โรคซึมเศร้า

แนวทางการรักษา (สหราชอาณาจักร)

แนวทางขององค์การสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (NICE) ปี 2552 ชี้ว่า ยาแก้ซึมเศร้าไม่ควรใช้รักษาเป็นปกติในขั้นเบื้องต้นสำหรับโรคขั้นเบา เพราะว่า อัตราส่วนความเสี่ยง-ประโยชน์ไม่ดีและแนะให้พิจารณาใช้ยาในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลที่มีประวัติโรคซึมเศร้าขั้นปานกลางหรือหนัก
  • บุคคลที่มีโรคเบาแต่มีเป็นระยะเวลานาน
  • เป็นการรักษาลำดับที่สองสำหรับโรคขั้นเบาแต่คงยืนแม้รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้ว
  • เป็นการรักษาลำดับแรกสำหรับโรคขั้นปานกลางและหนัก

แนวทางยังกล่าวเพิ่มว่า ยาควรใช้ร่วมกับการแทรกแซงทางจิต-สังคมในกรณีโดยมาก และควรใช้ยาต่ออย่างน้อย 6 เดือนหลังโรคบรรเทาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และว่า คนไข้ทนยอมรับยากลุ่ม SSRIs ได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ[6]

ส่วนแนวทางรักษาของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) แนะนำว่า การรักษาลำดับต้นควรจะปรับให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งความรุนแรงของอาการ โรคที่มีร่วมกัน ประสบการณ์การรักษาในอดีต และความชอบใจของคนไข้ทางเลือกการรักษารวมทั้งการใช้ยา จิตบำบัด การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) การกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกะโหลก (TMS) หรือการรักษาด้วยแสงและแนะนำให้ใช้ยาเป็นทางเลือกลำดับต้นสำหรับโรคขั้นเบา ปานกลาง และหนัก แต่ควรให้กับคนไข้หนักทุกคนยกเว้นถ้าจะรักษาด้วย ECT[7]

แนวทางการรักษาสำหรับแพทย์ทั่วไป (ประเทศไทย)

ในปี 2553 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดพิมพ์ แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ซึ่งมีข้อแนะนำที่สรุปเกี่ยวกับยาแก้ซึมเศร้าดังจะกล่าวต่อไป[8]ให้สังเกตว่า อักษรโรมันหน้ารายการเป็นตัวบ่งความหนักแน่นของหลักฐานตามลำดับ โดย A มีหลักฐานหนักแน่นที่สุด และ D น้อยที่สุด[9]

  • (A) ยาแก้ซึมเศร้าที่ควรพิจารณาเพื่อรักษาเป็นลำดับแรกคือยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI)
  • (B) ควรเริ่มด้วยยา SSRI ในขนาดต่ำ โดยเริ่มต้นแนะนำฟลูอ๊อกซิตินขนาด 20 มก./วัน หรือ sertraline 50 มก./วัน หรือ paroxetine 10 มก./วัน
  • (A) ควรให้ยาแก่ผู้ป่วยหนักปานกลางจนถึงรุนแรง และหลังจากทุเลาในแต่ละคราวซึมเศร้า (episode) แล้วควรให้ยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน
  • (D) ลำดับการยุติรักษาด้วยยา คือ ถ้าคะแนนจากการประเมินด้วยแบบ 9 คำถาม (9Q) น้อยกว่า 7 เป็นระยะเวลา 6 เดือนติดต่อกัน จะถือว่าทุเลาอย่างสมบูรณ์ ให้ค่อย ๆ ลดยาประมาณ 25-50% ลงทุก ๆ 2 สัปดาห์ ขณะลดยาควรประเมินด้วยแบบ 9Q ทุกครั้ง
  • (B) ผู้ป่วยที่ทานยาแก้ซึมเศร้าร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิดจะมีผลข้างเคียงจากยามากกว่ายาเพียงชนิดเดียว และอาจเกิดภาวะพิษยา
  • (B) ยาแก้ซึมเศร้าชนิดต่าง ๆ สามารถใช้ร่วมกัน ในกรณีที่เป็นโรคแบบดื้อรักษา (treatment-resistant major depressive disorder ตัวย่อ trMDD) แต่ควรเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากยา

งานปริทัศน์เป็นระบบ

มีผลขัดแย้งกันจากงานที่วิเคราะห์ประสิทธิผลของยาแก้ซึมเศร้าเปรียบเทียบกับยาหลอกในบุคคลที่มีโรคขั้นอ่อนถึงปานกลางแต่มีหลักฐานที่ชัดเจนกว่าสำหรับโรคขั้นหนัก หรือว่า dysthymia ที่เรื้อรัง

งานวิจัยปี 2545 ค้านว่ายามีผลบรรเทาความซึมเศร้า โดยอ้างว่า หลักฐานแสดงว่ามีฤทธิ์เหมือนยาหลอก[10]นี่เป็นงานวิเคราะห์อภิมานที่รวมข้อมูลจากทั้งงานศึกษาที่ตีพิมพ์ และข้อมูลที่ไม่ได้ตีพิมพ์แต่ได้จากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) เป็นข้อมูลที่ได้ผ่านกฎหมายบังคับให้เปิดเผยข้อมูลควบคุมโดยรัฐบาล (Freedom of Information Act)ซึ่งสรุปว่า โดยทั่วไปแล้ว ยาแก้ซึมเศร้าทำงานได้ดีกว่ายาหลอก 18% ซึ่งแม้จะมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็ไม่มีนัยสำคัญทางคลินิก[11]และในปี 2551 นักวิจัยคนเดียวกันก็สรุปอีกว่า ผลทั่วไปของยาแก้ซึมเศร้ารุ่นใหม่ก็ยังอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก[12]

งานศึกษาปี 2553 ที่พุ่งความสนใจไปที่ paroxetine และ imipramine พบว่า ยาแก้ซึมเศร้าดีกว่ายาหลอกเพียงแค่เล็กน้อยในกรณีของโรคขั้นอ่อนจนถึงปานกลาง แต่ว่ามีผลสำคัญ (substantial) ในโรคขั้นหนัก[13]

ในปี 2557 FDA สหรัฐพิมพ์งานปฏิทัศน์เป็นระบบของการทดลองใช้ยาแก้ซึมเศร้าเพื่อดำรงสภาพ (maintenance) ที่ส่งให้กับองค์การในช่วงปี 2528-2555ซึ่งผู้เขียนสรุปว่า การรักษาเพื่อดำรงสภาพลดความเสี่ยงการเกิดโรคอีก 52% เทียบกับยาหลอก และผลต่างที่ว่านี้เป็นเพราะการเกิดโรคซ้ำ ๆ ในกลุ่มยาหลอก ไม่ใช่ผลจากการหยุดยา[14]

ส่วนงานทบทวนวรรณกรรมปี 2552 ที่องค์การสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (NICE) มอบหมายให้ทำสรุปว่า มีหลักฐานที่เข้มแข็งว่า SSRIs มีประสิทธิผลลดอาการซึมเศร้ามากกว่ายาหลอก 50% ในโรคขั้นปานกลางและหนัก และมีหลักฐานบ้างถึงผลคล้าย ๆ กันในโรคขั้นอ่อนแนวทางการรักษาที่พัฒนาร่วมกับงานทบทวนแสดงว่า ยาควรพิจารณาใช้ในคนไข้ที่มีโรคขั้นกลางจนถึงหนัก และที่มีโรคขั้นอ่อนแต่ว่าคงยืนหรือว่าดื้อการรักษาแบบอื่น ๆ[15]

งานปริทัศน์เป็นระบบแบบคอเครนในปี 2555 ที่ตรวจการทดลองทางคลินิกของยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic คือ amitriptylineสรุปว่า แม้ว่าจะมีหลักฐานพอสมควรว่ามีความเอนเอียงในการตีพิมพ์ (คืองานที่แสดงผลบวกมักจะตีพิมพ์มากกว่า) แต่ก็ยังมีหลักฐานที่เข้มแข็งว่าประสิทธิผลของ amitriptyline ดีกว่ายาหลอก[16]

งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2558 ที่ตรวจดูการรักษาแบบเพิ่มสำหรับโรคที่ดื้อการรักษาสรุปว่า ยา quetiapine และ aripiprazole มีหลักฐานที่เข้มแข็งที่สุดว่ามีประสิทธิผล แต่ว่าก็สัมพันธ์กับผลข้างเคียงที่เพิ่มขึ้นด้วย[17]

งานทบทวนวรรณกรรมแบบคอเครนปี 2551 ของยาสมุนไพรจากพืชสปีชีส์ Hypericum perforatum (St John's wort) และงานวิเคราะห์อภิมานปี 2558 ที่ทำโดยผู้เขียนเดียวกันบางส่วน ทั้งสองสรุปว่ายามีประสิทธิผลที่ดีกว่ายาหลอกเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและมีประสิทธิผลเท่ากับยาแก้ซึมเศร้ามาตรฐานทั่วไปโดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาอื่น ๆ แต่ก็ยังสรุปด้วยว่า ยากที่จะแสดงคุณค่าของสมุนไพรเพื่อรักษาโรคเนื่องจากข้อจำกัดทางหลักฐาน รวมทั้งความแตกต่างทางประสิทธิผลในงานทดลองที่ทำในประเทศที่พูดภาษาเยอรมันซึ่งมากกว่าเทียบกับที่ทำในประเทศอื่น ๆ[2][3] ส่วน Reversible monoamine oxidase A inhibitor (rMAO-A inhibitors) ก็มีหลักฐานแสดงว่ามีประสิทธิผลในการรักษาโดยคนไข้อดทนรับได้ดีกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ[2]ถึงอย่างไรก็ดี มีหลักฐานแสดงประสิทธิผลของยากลุ่ม SSRIs, tricyclic และ tetracyclic เพื่อรักษาโรคซึมเศร้ามากกว่ามากเมื่อเทียบกับยาอื่น ๆ รวมทั้ง St John's wort, rMAO-A inhibitors, serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor, serotonin antagonist and reuptake inhibitors, noradrenaline reuptake inhibitors, และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant[2]

แต่ก็มีงานปี 2545 ในวารสาร JAMA ที่แสดงว่า แม้ว่าผลต่างของยาหลอกในการทดลองทางคลินิกของโรคซึมเศร้าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ว่าผลต่างของยาที่ใช้ทดลองกลับค่อนข้างจะสม่ำเสมอผู้เขียนเสนอว่า คำอธิบายที่เป็นไปได้ว่าทำไมผลต่างของยาหลอกจึงเพิ่มขึ้นในการทดลองก็คือ การรวมผู้ร่วมการทดลองจำนวนมากที่มีโรคแบบสั้น ๆ ขั้นอ่อน หรือการหายเองเพราะตราบาปทางสังคมเหตุใช้ยาแก้ซึมเศร้าได้ลดลง[18]ผลยาหลอกในการทดลองทางคลินิกของการรักษาทางเลือก (CAM) ต่ำกว่าที่พบในการทดลองยาแก้ซึมเศร้าแผนปัจจุบันอย่างสำคัญ[19]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2547 สรุปว่า งานศึกษาที่ไม่สนับสนุนข้ออ้างว่ายาแก้ซึมเศร้ามีประสิทธิผล จะมีโอกาสน้อยกว่ามากที่จะตีพิมพ์เทียบกับที่สนับสนุน[20]ซึ่งก็พบคล้าย ๆ กันในงานทบทวนการทดลองยาแก้ซึมเศร้าในเด็ก[21]งานวิเคราะห์อภิมานปี 2558 ที่ตรวจดูงานศึกษายาแก้ซึมเศร้าพบว่า 79% "ได้การสนับสนุนจากอุตสาหกรรม หรือผู้เขียนเป็นลูกจ้างของอุตสาหกรรม และ/หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์"[22]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2556 พบว่า ฟลูอ๊อกซิติน และ venlafaxine มีประสิทธิผลต่อโรคซึมเศร้าในคนทุกวัยและไม่พบหลักฐานว่า ความรุนแรงของโรคสัมพันธ์กับระดับประโยชน์ที่ได้จากยานอกเหนือจากปรากฏการณ์ยาหลอก[23]

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2551 ที่ตรวจการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) สรุปว่า อาการที่ดีขึ้นเนื่องจากยากลุ่ม SSRIs เกิดขึ้นมากที่สุดโดยสิ้นอาทิตย์แรกของการใช้ยา แต่ว่ามีอาการบางอย่างที่ดีขึ้นต่อ ๆ ไปจนถึงอาทิตย์ที่ 6[24]

การทดลอง STAR*D

สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติสหรัฐ (National Institute of Mental Health) ได้ทำงานที่ใหญ่สุดและมีค่าใช้จ่ายสูงสุดในเรื่องประสิทธิผลของยาต่อโรคซึมเศร้าโดยปี 2555[25]เป็นงานที่เรียกว่า "ทางเลือกการรักษาตามลำดับเพื่อบรรเทาโรคซึมเศร้า (The Sequenced Treatment Alternatives to Relieve Depression)" (STAR*D) โดยผลที่ได้[26][27]จะแสดงย่อ ๆ ในที่นี้

คนไข้มาจากทั้งผู้ที่ไปหาหมอทั่วไปและหมอจิตเวชไม่มีการโฆษณาหาคนไข้เพื่อที่จะให้ผลที่ได้สามารถขยายใช้ได้โดยทั่วไปผู้ร่วมการทดลองต้องได้คะแนนอย่างน้อย 14 คะแนนจากแบบวัดความซึมเศร้า Hamilton Depression Scale แบบ 17 คำถาม (HAM-D17) เพื่อจะเข้าร่วมโดยทั่วไปแล้ว คะแนนระหว่าง 7-17 หมายถึงโรคขั้นอ่อน 18-24 เป็นโรคขั้นกลาง และ ≥ 24 เป็นโรคขั้นรุนแรง[28]และคะแนนเฉลี่ยของผู้ร่วมการทดลองอยู่ที่ 22

จุดสิ้นสุดหลักของการทดลองที่ได้กำหนดล่วงหน้าก็คือการทุเลาโรคตามกำหนดคะแนนจากแบบวัด โดยคนไข้ที่วัดไม่ครบจะกำหนดว่าไม่ตอบสนอง (non-responder)แต่หลังการทดลอง ผู้ตรวจสอบได้แสดงผลตามจุดทุเลาทุติยภูมิตามแบบวัด QIDS-SR16 Score เป็นหลัก ซึ่งมักจะมีค่าสูงกว่าแบบวัดแรก

  • หลังจากการรักษาคอร์สแรก 27.5% ของผู้ร่วมการทดลอง 2,876 คนถึงจุดบรรเทาคือมีคะแนน HAM-D เท่ากับ 7 หรือน้อยกว่านั้น และ 33% ถึงจุดบรรเทาตามแบบวัด QIDS-SR ผู้ที่ตอบสนองตามคะแนนของ QIDS-SR16 อยู่ที่ 47% โดยมีผู้ร่วมการทดลอง 26% เลิกการรักษากลางคัน[29][30]
  • หลังจากการรักษาคอร์สที่สอง 21-30% ของผู้ร่วมการทดลอง 1,439 ที่เหลือถึงจุดบรรเทา[27] และถ้าเปลี่ยนยา คนไข้ประมาณ 25% ก็จะถึงจุดบรรเทา[31][32]
  • หลังจากการรักษาคอร์สที่สาม 17.8% ของผู้ร่วมการทดลอง 310 คนที่เหลือถึงจุดบรรเทา[ต้องการอ้างอิง]
  • หลังจากการรักษาคอร์สที่สี่สุดท้าย 10.1% ของผู้ร่วมการทดลองที่เหลือ 109 ถึงความทุเลา[ต้องการอ้างอิง]
  • ภายใน 12 เดือน ผู้ที่ถึงจุดบรรเทาในค้อร์สแรก 33% เกิดโรคอีก และผู้ที่ถึงในรอบหลัง ๆ 42%-50% เกิดโรคอีก บุคคลที่ได้ผลจากยาแต่ไม่ถึงเกณฑ์บรรเทาเกิดโรคอีก 59-83% สูงกว่าคนที่ถึง[33]
  • ไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติหรือทางคลินิกเกี่ยวกับอัตราบรรเทา อัตราการตอบสนอง หรือระยะเวลาในการบรรเทาหรือการตอบสนอง ในบรรดายาที่เปรียบเทียบในงานนี้[34] ซึ่งรวมทั้ง bupropion (sustained release), bupropion, citalopram, lithium, mirtazapine, nortriptyline, sertraline, triiodothyronine, tranylcypromine, และ venlafaxine (extended release)

ข้อจำกัดและกลยุทธ์

บุคคลที่ใช้ยารักษาประมาณ 30-50% ไม่ตอบสนองต่อยา[35][36]ในงานศึกษาทางคลินิก คนไข้ประมาณ 1/3 มีโรคทุเลา 1/3 ตอบสนองต่อยา และที่เหลือไม่ตอบสนองผู้ที่ไม่ถึงเกณฑ์ทุเลาก็คือ ยังมีอาการที่กำหนดไม่ชัดเจนหลงเหลืออยู่ซึ่งปกติรวมทั้งอารมณ์ซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติในการนอนหลับ ความอ่อนเปลี้ย และความสนใจและความสุขที่ลดน้อยลง

แม้จะยังไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นตัวพยากรณ์ว่าคนไข้จะทุเลาแค่บางส่วนแต่ก็ชัดเจนว่า อาการที่หลงเหลือเป็นตัวพยากรณ์ทรงพลังว่าโรคจะกลับเกิดอีก โดยมีอัตรา 3-6 เท่ามากกว่าผู้ที่ทุเลาลงอย่างสมบูรณ์[37]นอกจากนั้นแล้ว ยาแก้ซึมเศร้ามักจะสูญประสิทธิผลหลังจากรักษามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง[38]แต่ตามข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ (CDC) คนอเมริกันที่กำลังทานยาแก้ซึมเศร้าน้อยกว่า 1/3 ได้เข้าพบหมอพยาบาลภายในปีที่ผ่านมา[39]

มีกลยุทธ์จำนวนหนึ่งที่ใช้รักษาเพื่อข้ามข้อจำกัดและความต่าง ๆ กันเหล่านี้[40]รวมทั้งการเปลี่ยนยา การเพิ่มยา และการให้ยารวม

การเปลี่ยนยาแบบลองผิดลองถูก

แนวทางการปฏิบัติปี 2543 ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) แนะนำว่า ถ้าไม่ตอบสนองภายใน 6-8 อาทิตย์หลังจากรักษาด้วยยา ให้เปลี่ยนใช้ยาในกลุ่มเดียวกัน แล้วจึงไปเปลี่ยนใช้ยากลุ่มอื่นในภายหลังงานวิเคราะห์อภิมานปี 2549 พบความแตกต่างกันมากมายในงานศึกษาก่อน ๆ คือ คนไข้ที่ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI 12-86% จะตอบสนองต่อยาอีกอย่างหนึ่งแต่ว่า ยิ่งได้ลองยาแก้ซึมเศร้ามามากแล้วเท่าไร โอกาสก็น้อยลงเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์กับยาที่ลองใหม่[36]แต่ว่า งานวิเคราะห์อภิมานปี 2553 ไม่พบความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนยาและการใช้ยาเดิมต่อไป คือ แม้ว่า 34% ของคนไข้ที่ดื้อการรักษาจะตอบสนองเมื่อเปลี่ยนไปใช้ยาใหม่ แต่ว่า 40% ก็จะตอบสนองแม้ไม่ได้เปลี่ยนยา[41]

การเพิ่มหรือการใช้ยารวม

ถ้ามีการตอบสนองบ้าง แนวทางของ APA เสนอให้เพิ่มยากลุ่มอื่น (augmentation)รวมทั้ง Lithium, thyroid augmentation, dopamine agonist, sex steroid, Norepinephrine reuptake inhibitor, glucocorticoid-specific agent หรือยาแก้ชักรุ่นใหม่ ๆ[42]

ส่วนกลยุทธ์รวมยา (combination) หมายถึงการเพิ่มยาแก้ซึมเศร้าอีกอย่างหนึ่ง โดยปกติเป็นอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อจะได้มีผลในด้านอื่น ๆ แม้ว่าวิธีนี้อาจจะใช้รักษา แต่ก็มีหลักฐานน้อยมากเกี่ยวกับประสิทธิผลสัมพัทธ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์จากยาเนื่องจากการใช้วิธีนี้[43]

การทดลองที่ทำเมื่อไม่นานนี้รวมการใช้ยากระตุ้น (psychostimulant) เป็นยาเพิ่มงานศึกษาหลายงานพบประสิทธิผลเมื่อให้ modafinil เป็นยารวมสำหรับโรคที่ดื้อการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาความอ่อนเปลี้ยที่เกิดจากยา SSRI[44]

การใช้ระยะยาว

ผลรักษาของยาแก้ซึมเศร้าปกติจะไม่ดำเนินต่อหลังจากการใช้ยาสักระยะหนึ่ง ทำให้อัตราโรคกลับอยู่ในระดับสูงงานวิเคราะห์อภิมานปี 2546 ในงานทดลองยาแก้ซึมเศร้าที่ควบคุมด้วยยาหลอก โดยมากจำกัดในงานที่มีระยะ 1 ปี พบว่า คนไข้ 18% ที่ตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าเกิดโรคอีกแม้ยังทานยาอยู่ เทียบกับ 41% ที่เกิดโรคอีกเมื่อเปลี่ยนจากยาแก้ซึมเศร้ามาเป็นยาหลอก[45]

ประโยชน์การรักษาแบบค่อย ๆ ลดจะเกิดขึ้นในคนกลุ่มน้อยในช่วงรักษา[46][47]มีงานศึกษาที่เสนอกลยุทธ์ใช้ยารักษาในระยะรุนแรง (acute) ตามด้วยจิตบำบัดในช่วงที่ดีขึ้น (residual)[48][49]

ประสิทธิผลและการทนรับได้โดยเปรียบเทียบ

ตารางเปรียบเทียบประสิทธิผลและการทนรับได้
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
[3][50][51][52][53][3][52][53][54][50][51][55]
[3][52][53][54]
[3][52][53][55][56][3][51][52][53][55][3][51][52][53][55][57][3][51][52][53][55][57][3][51][52][53][55][51][55]
[3][52][53][57]
[3][51][52][53][55][3][51][52][53][55][3][51][52][53][55]
Tricyclic antidepressants (TCAs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Amitriptyline 3 1 3 4 3 4 v 4 3 1 4/3
Amoxapine 2 2 4 2 2 2 2 2 2 v ND
Clomipramine 3 2/1 2 2 2 4/3 v 4 2 1 4
Desipramine 2 2/1 3 1 1 1/v 1 1 2 1/v ND
Dosulepin (Dothiepin) 2 1 4[57] ? 3/2 3/2 v 3/2 2 v 3/2
Doxepin 2 2/1 3 3 4 3 v 3 3 v 3
Imipramine 3[58][59] 1 3 4 4/3 3 1 3 3 1 3
Lofepramine 2 3 1 1 1 1 1 2 1 ? ?
Maprotiline 2 2/1 4 2 2 3 v 2 3 v ND
Nortriptyline 2 2 2 1 2 1 v 1 2 v ND
Protriptyline 2 2/1 2 1 2 1 1 2 3 1 4/3
Tianeptine 2 4 ? ? ? ? ? ? ? ? ?
Trimipramine 2 1 2 4 3 4 1 4 2 2 v
Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Isocarboxazid 2 1 3 1 2 1 2 1 v 1 4
Moclobemide 2 3 1 v v v ? v v v 1/v
Phenelzine 2 1 3 2 3 1 1 1 v 1 4
Seligiline ? 3 2 v 1 v 1 1 v v v
Tranylcypromine 2 1 3 1 2 v 2 1 v 1 4
Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Citalopram 2 3 2 1 1 v 1 v 2 1 3
Escitalopram 3 3 1 1 1 v 1 v 1 1 3
ฟลูอ๊อกซิติน 2 3 1 1 1 v 2 v 1 1 3
Fluvoxamine 2 3 2 1 1 1 1 v 1/v 2 3
Paroxetine 2 3 1 2 2 1 1 1 1/v 1 4
Sertraline 3 3 1 1 1 v 2 v 1/v 2 3
Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Desvenlafaxine 2 3/2 1/2 v v v 2 v v 2/1 3
Duloxetine 2 3 1 v v v 2 v v 2 3
Milnacipran 2 3 ? v v v 2 1 v 2 v
Venlafaxine 3 2 2 v v v 2 v 1 2 (IR)
1 (XR)
3
Noradrenergic and specific serotonergic antidepressants (NaSSAs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Mianserin 2 3 ? 4 v 4 v 1 1 v 1
Mirtazapine 3 3 1 4 v 4 v 1 1 v 1
Serotonin antagonist and reuptake inhibitors (SARIs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Nefazodone 2 3 2/1 v 1 2 v 1 v 2 v
Trazodone 2[60] 3 1 1 3 4 v v 2 3 1
Serotonin modulator and stimulators (SMSs)
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Vilazodone 2 3/2 ? v v v 2 v v 4 2
Vortioxetine 2 3 ? v v v 1/v v v 3 1
อื่น ๆ
ยา ประสิทธิผลสัมพัทธ์ การทนรับได้ อันตราย
เมื่อเกินขนาด
น้ำหนักเพิ่ม ความดันต่ำเมื่อยืน ผลระงับ ผลกระตุ้น Anti-
cholinergic
ระยะ QT ยาว พิษต่อ
ทางเดินอาหาร
SD
Agomelatine 2[61] 3 1 v v 1 1 v v 1 1/v
Bupropion 2 3 3/2 v v v 2/1 v 1 1 v
Reboxetine 1 3 1 v v v 2 v v 1 1
St John's wort 3/2 4 1 1/v 1/v 1/v 1/v 1/v 1/v 1/v 1/v

หมายเหตุ:

สำหรับผลไม่พึงประสงค์/พิษเมื่อใช้เกินขนาด

  • 4 มีผล/พิษรุนแรงมาก
  • 3 มีผล/พิษแรง
  • 2 มีผล/พิษปานกลาง
  • 1 มีผล/พิษอ่อน
  • v มีผล/พิษน้อยมาก/ไม่สำคัญ

สำหรับการทนรับได้ (tolerability)

  • 4 ทนรับได้ดีสุด ยาพวกนี้พิสูจน์ว่ามีผลดีกว่า SSRI
  • 3 ทนรับได้ดีมาก มีผลข้างเคียงอ่อนและชั่วคราว เป็นยาเช่น SSRIs
  • 2 ทนรับได้ปานกลาง เป็นยากลุ่ม TCA ที่ทนรับได้ดีกว่า
  • 1 ทนรับได้ไม่ดี เป็นยากลุ่ม TCAs และ MAOIs โดยมาก

สำหรับประสิทธิผล

  • 3 ยามีประสิทธิผลที่ดีกว่า ตามอย่างน้อยงานปริทัศน์ 1 งาน
  • 2 ยามีประสิทธิผลปกติ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิบางแหล่งอาจจะแสดงผลที่ดีกว่าเทียบกับยาที่ดีกว่า (เช่น มีงานทดลองทางคลินิกที่แสดงประสิทธิผลที่ดีกว่าของ agomelatine เทียบกับ venlafaxine) แต่ไม่มีข้อมูลพอที่จะมั่นใจ
  • 1 ยามีประสิทธิผลไม่ดีเทียบกับยาที่มีประสิทธิผลปกติ ตามอย่างน้อยงานปริทัศน์หนึ่งงาน

ตัวย่อ/คำที่ใช้ในตาราง:

  • ผลกระตุ้น - อาการที่ไม่พึงประสงค์จากยาเช่น ความกระวนกระวาย ความวิตกกังวล การนอนไม่หลับ และการสั่น
  • AMH - Australian Medicines Handbook[57]
  • ผลระงับ - ผลระงับประสาท เช่น ความง่วงซึม
  • IR - ยาแบบออกฤทธิ์ทันที
  • ND - ไม่มีข้อมูล
  • SD - ความผิดปกติทางเพศ
  • XR - ยาแบบออกฤทธิ์ระยะยาว
ตารางหมายเหตุของยา[50][51][52][54][55][56][57]
Tricyclic antidepressants (TCAs)
ยา หมายเหตุ
Amitriptyline ยับยั้งการนำเซโรโทนิน (serotonin reuptake) ไปใช้ใหม่ในอัตรา 8 เท่าของนอร์เอพิเนฟริน แต่การยับยั้งนอร์เอพิเนฟรินก็ยังมีนัยสำคัญทางคลินิก[50]

งานทบทวนวรรณกรรมปี 2557 แสดงว่ามีพิษต่อตับ (hepatotoxic) มากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ[62]

Amoxapine บางครั้งจัดเป็นพวกเดียวกับยากลุ่ม tetracyclic มีฤทธิ์รักษาโรคจิตที่ไม่ทั่วไปด้วย (atypical antipsychotic) อาจออกฤทธิ์ได้เร็วกว่า

ยังไม่อนุมัติให้ใช้ในออสเตรเลีย แคนาดา หรือสหราชอาณาจักร แต่มีใช้ในสหรัฐอเมริกา
เป็นยา Antidopaminergic (ที่ระงับตัวรับโดพามีนของเซลล์ผ่านกระบวนการ receptor antagonism) ซึ่งหมายความว่าสามารถเป็นเหตุต่อผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal side effects คือ อาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) และกลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome)[63]
ถ้าใช้ยาเกิน สามารถทำให้ไตวายและทำให้ชัก แม้ว่าจะไม่มีพิษต่อหัวใจ[64]

Clomipramine ยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะ (~120x) มีโอกาสทำให้เกิดอาการลมชักมากกว่า TCA ชนิดอื่น ๆ[50]
Desipramine ยับยั้งการนำนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่ (norepinephrine reuptake) เป็น 22 เท่าของเซโรโทนิน[50]
Dosulepin (Dothiepin) ไม่มีขายในสหรัฐอเมริกา มีในออสเตรเลีย (ซึ่งมักจะเรียกว่า dothiepin) และสหราชอาณาจักร

น้ำหนักเพิ่ม น่าจะอยู่ที่ 2

Doxepin ยับยั้งการนำนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่ (norepinephrine reuptake) โดยเฉพาะเป็น 2.3 เท่าของเซโรโทนิน
Imipramine เป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic ที่วางตลาดเป็นยาแรก ยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่ (serotonin reuptake) โดยเฉพาะเป็น 26 เท่าของนอร์เอพิเนฟริน

เป็นพิษต่อตับมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

Lofepramine ไม่ได้รับอนุมัติในออสเตรเลีย สหรัฐ หรือแคนาดา ได้ในสหราชอาณาจักรและประเทศยุโรปอื่น ๆ

ระยะ QT ยาวอยู่ที่ 1 ขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้

Maprotiline ยับยั้งการนำนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะเป็น ~90 เท่าของโดพามีน[50]
Nortriptyline เป็นเมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของ amitriptyline ยับยั้งการนำนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะ (4.2x)
Protriptyline ยับยั้งการนำนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะเป็น 14 เท่าของเซโรโทนิน
Tianeptine เพิ่มการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่และเพิ่มการสื่อสารทางประสาทแบบโดพามีนและกลูตาเมต

ไม่ได้อนุมัติให้ใช้เพื่อรักษาในออสเตรเลีย แคนาดา สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไอร์แลนด์ มีพิษต่อตับมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

Trimipramine มีฤทธิ์ระงับระบบโดพามีน (antidopaminergic) และดังนั้น สามารถเป็นเหตุต่อผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal side effects คือ อาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) และกลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome)
Monoamine oxidase inhibitors (MAOIs)
ยา หมายเหตุ
Isocarboxazid ไม่อนุมัติให้ใช้ในออสเตรเลีย
Moclobemide เป็นยารักษาชนิดเดียวในกลุ่ม reversible inhibitor of monoamine oxidase A (RIMA) ไม่อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา อนุมัติให้ใช้รักษาในออสเตรเลีย แคนาดา ประเทศยุโรปโดยมาก (รวมทั้งประเทศเช็กเกีย ฟินแลนด์ และไอร์แลนด์) นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ แอฟริกาใต้ และสหราชอาณาจักร

ผลกระตุ้น ? (แต่การนอนไม่หลับเป็นผลสามัญตาม AMH)

Phenelzine มีแนวโน้มมากกว่า tranylcypromine และยาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมากที่จะทำตับให้เสียหาย[62]
Seligiline ดั้งเดิมใช้รักษาโรคพาร์คินสันเนื่องจาก ยับยั้ง MAO-B แบบกลับไม่ได้ แต่ว่าในขนาดที่สูงขึ้นก็จะยับยั้ง MAO-A ด้วย
Tranylcypromine สลายเป็น analogue ของแอมเฟตามีนภายในกาย สามารถทำให้ตับเสียหาย[57]
Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
ยา หมายเหตุ
Citalopram เป็น SSRI ที่มีโอกาสที่จะทำให้ระยะ QT ของคลื่นหัวใจยาวขึ้น เป็นพิษมากที่สุดเมื่อใช้เกินขนาดในบรรดา SSRI มีพิษต่อตับน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

ระยะ QT อยู่ที่ 2 (ขึ้นอยู่กับขนาด มากกว่า 40 mg/วัน อันตรายเป็นพิเศษ)

Escitalopram เป็น S-enantiomer ที่มีฤทธิ์แรงกว่าของ citalopram

อาจเป็นยา SSRI ที่มีผลมากที่สุด แม้ว่าจะยังไม่พบประสิทธิผลที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง sertraline และ escitalopramตามหลักฐานที่มีอยู่ ถ้าใช้เกินขนาดจะมีพิษน้อยกว่ายาในรูปแบบแรซีมิกของมัน คือ (R,S) -citalopramและมีพิษต่อตับน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

ฟลูอ๊อกซิติน ยา SSRI แรกที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐในปี 2530

งานศึกษาบางงานพบว่า คนไข้ที่ทานยาจะมีน้ำหนักลงนิดหน่อย (บ่อยครั้งโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ)มีระยะครึ่งชีวิตสุทธิที่นานที่สุด (โดยนับผลของเมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของมันคือ norfluoxetine ด้วย) ของยาแก้ซึมเศร้าทั้งหมดที่ใช้รักษา และดังนั้น เมื่อหยุดทานอย่างกะทันหัน ปกติจะมีอาการหยุดยาน้อยมากและที่มีก็เบาปฏิกิริยาทางผิวหนังเกิดขึ้นบ่อยกว่าเทียบกับ sertraline[52]

Fluvoxamine ไม่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐให้ใช้รักษาโรคซึมเศร้า แต่ให้ใช้เพื่อโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ในบรรดายา SSRI มี affinity กับตัวรับ sigma-1 มากที่สุดโดยเป็นตัวทำการ[65][66]

มีพิษต่อตับน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

Paroxetine เป็นยา SSRI ประเภทเดียวที่ไม่ได้อยู่ในยาหมวด C สำหรับหญิงมีครรภ์ของประเทศออสเตรเลียแต่อยู่ในหมวด D เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตในปอดสูงยังคงอยู่ในทารกแรกเกิด (PPHN)

องค์การอาหารและยาสหรัฐก็จัดอยู่ในหมวด D ด้วยเป็นยาที่สัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงของความผิดปกติทางเพศ การเพิ่มน้ำหนัก และผลข้างเคียงแบบ anticholinergic รวมทั้งความง่วงนอนมากกว่า SSRI อื่น ๆในบรรดายา SSRI มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้นที่สุด จึงเสี่ยงอาการหยุดยามากที่สุดเมื่อไม่ได้ทานยามี affinity ในระดับต่ำสุดต่อตัวรับ sigma-1[65] และเป็นยาที่เสี่ยงที่สุดต่อผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal symptoms[64]มีพิษต่อตับน้อยกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]

Sertraline เสี่ยงสูงสุดต่อผลข้างเคียงทางจิตเวช (เช่น อาการฟุ้งพล่าน พฤติกรรม/ความคิดฆ่าตัวตาย โรคจิต เป็นต้น)[52]

มีผลยับยั้งการนำโดพามีนไปใช้ใหม่เล็กน้อย (แต่มีนัยสำคัญทางคลินิก)[67][68]ในบรรดายา SSRI มี affinity สูงเป็นอันดับสองต่อตัวรับ sigma-1 โดยเป็นตัวทำการ[66]

พิษต่อทางเดินอาหารอยู่ที่ระดับ 2 โดยมากเป็นอาการท้องร่วง[55]

Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
ยา หมายเหตุ
Desvenlafaxine เป็นเมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของ venlafaxine
Duloxetine โดยไม่เหมือนยา SNRI ที่กล่าวถึงในที่นี้ duloxetine ไม่มีผลข้างเคียงสามัญเป็นความดันสูงโดยขึ้นอยู่กับขนาดที่ใช้ เป็นยาที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain) ด้วย และมีพิษต่อตับมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น ๆ โดยมาก[62]
Milnacipran ใช้โดยหลักเพื่อรักษาความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain)

อันตรายเมื่อใช้เกินขนาด ? (ยังไม่มีการรายงานเสียชีวิตเนื่องจากใช้ยานี้อย่างเดียว)

Venlafaxine ยับยั้งการนำเซโรโทนินไปใช้ใหม่โดยเฉพาะเป็น 116 เท่าของนอร์เอพิเนฟริน
Noradrenergic and specific serotonergic antidepressants (NaSSAs)
ยา หมายเหตุ
Mianserin ไม่อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

อนุมัติให้ใช้ในออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร สามารถก่อ blood dyscrasias (รวมทั้ง agranulocytosis) คือ การลดระดับของ Neutrophils รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ดังนั้นทั้ง British National Formulary และ AMH จึงแนะนำให้คอยตรวจสอบโดยการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์[57][69]

Mirtazapine อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็นทั้ง analogue และยาที่ใช้แทน Mianserin ต่อมา
Serotonin antagonist and reuptake inhibitors (SARIs)
ยา หมายเหตุ
Nefazodone มีความเสี่ยงต่อการเป็นพิษต่อตับ อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐ แต่ไม่ได้อนุมัติในแคนาดา ออสเตรเลีย หรือยุโรป
Trazodone ไม่อนุมัติให้ใช้ในออสเตรเลีย มีพิษต่อตับมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น[62]
Serotonin modulator and stimulators (SMSs)
ยา หมายเหตุ
Vilazodone มีโอกาสให้ผลข้างเคียงเป็นเซโรโทนินเป็นพิษ

อันตรายเมื่อใช้เกินขนาด ? (น่าจะต่ำนอกเหนือไปจากเซโรโทนินเป็นพิษ)

Vortioxetine วางตลาดในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกันยายน 2556 และดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงจึงน้อย แต่ผลข้างเคียงคือเซโรโทนินเป็นพิษเป็นไปได้แม้จะน้อย
อื่น ๆ
ยา หมายเหตุ
Agomelatine ไม่อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐหรือแคนาดา อนุมัติในออเสตรเลียและสหราชอาณาจักร
Bupropion อนุมัติให้ใช้ในสหราชอาณาจักรและออเสตรเลียเพื่อช่วยหยุดบุหรี่เท่านั้น แต่สหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้รักษาโรคซึมเศร้า เป็นพิษต่อตับมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าอื่น[62]
Reboxetine ไม่อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐหรือแคนาดา อนุมัติในออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร
St John's wort ไม่ใช่ยาต้องใช้ใบสั่งยาในประเทศโดยมาก มีขายโดยเป็นยาสมุนไพร

โรควิตกกังวล

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลทั่วไป

องค์การสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร NICE แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้ารักษาโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอนุรักษ์เช่นการให้การศึกษาและช่วยตนเองGAD เป็นโรคสามัญที่อาการสำคัญก็คือ ความวิตกกังวลเกินไปเกี่ยวกับเหตุการณ์และปัญหาหลายอย่าง และความลำบากในการควบคุมความคิดที่ทำให้เป็นห่วงที่คงยืนอย่างน้อยเป็นระยะ 6 เดือน

ยาแก้ซึมเศร้าลดความวิตกกังวลใน GAD ได้ในระดับพอประมาณจนถึงปานกลาง[70]และมีผลดีกว่ายาหลอก[71]ประสิทธิผลของยาแก้ซึมเศร้าต่าง ๆ ล้วนคล้ายคลึงกัน[70][71]

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: โรคย้ำคิดย้ำทำ และ SSRI

SSRIs ใช้เป็นการรักษาลำดับสองสำหรับโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ในผู้ใหญ่ที่มีความพิการขั้นอ่อน และลำดับหนึ่งสำหรับผู้มีความพิการปานกลางจนถึงรุนแรงในเด็ก SSRIs พิจารณาว่าเป็นการรักษาลำดับสองสำหรับเด็กพิการปานกลางจนถึงรุนแรง โดยต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อเช็คผลที่ไม่พึงประสงค์ทางจิตเวช[72]SSRIs มีประสิทธิผลในการรักษา OCD คือ คนไข้มีโอกาสสองเท่าที่จะตอบสนองเทียบกับยาหลอก[73][74]ประสิทธิผลปรากฏทั้งในงานทดลองระยะสั้นเป็นเวลา 6-24 สัปดาห์และงานทดลองแบบ discontinuation เป็นระยะ 28-52 สัปดาห์[75][76][77]

ความผิดปกติในการรับประทาน

NICE แนะนำให้ใช้ยาแก้ซึมเศร้าเป็นการรักษาทางเลือกหรือการรักษาเพิ่มในขั้นแรก ที่ใช้โปรแกรมช่วยตัวเองในการรักษาโรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa)[78]ยากลุ่ม SSRIs โดยเฉพาะฟลูอ๊อกซิตินเป็นยาที่นิยมมากกว่ายาแก้ซึมเศร้าแบบอื่น ๆ เนื่องจากการยอมรับได้ การอดทนได้ และการลดระดับอาการที่ดีกว่าในการทดลองระยะสั้น แม้ว่าประสิทธิผลระยะยาวยังไม่ชัดเจนBupropion ไม่แนะนำให้ใช้รักษาความผิดปกติในการรับประทาน เนื่องจากเสี่ยงต่อการชัก[79]

NICE แนะนำแบบเดียวกันสำหรับ binge eating disorder (โรคหิวไม่หายแบบไม่อาเจียน)[78]โดย SSRIs ลดพฤติกรรมทานมากเกินไปในระยะสั้น แต่ไม่สัมพันธ์กับการลดน้ำหนักอย่างสำคัญ[80]

งานทดลองทางคลินิกโดยมากแสดงผลลบในการใช้ SSRIs เพื่อรักษาโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa)[81]NICE[78]แนะนำไม่ให้ใช้ SSRIs สำหรับโรคนี้ส่วนแนวทางจากสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ให้ข้อสังเกตว่า SSRIs ไม่มีผลเพิ่มน้ำหนัก แต่อาจใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคย้ำคิดย้ำทำที่เป็นไปด้วยกัน[80]

ความเจ็บปวด

ไฟโบรไมอัลเจีย

ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่: ไฟโบรไมอัลเจีย

งานวิเคราะห์อภิมานปี 2555 สรุปว่า ยาแก้ซึมเศร้าสามารถปรับปรุงเรื่องความเจ็บปวด คุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพ ความซึมเศร้า และปัญหาการนอนหลับในโรคไฟโบรไมอัลเจียได้ยากลุ่ม Tricyclic ดูจะมีประสิทธิผลดีสูงสุด โดยมีผลพอสมควรต่อความเจ็บปวดและการนอนหลับ และมีผลน้อยต่อความอ่อนเปลี้ยและคุณภาพชีวิตเกี่ยวกับสุขภาพอัตราของบุคคลที่ความเจ็บปวดลดลง 30% เนื่องจากรับยา tricyclics อยู่ที่ 48% เทียบกับ 28% สำหรับยาหลอกสำหรับคนที่ได้ SSRIs อัตราอยู่ที่ 36% เทียบกับ 20% ที่ได้ยาหลอก และสำหรับ SNRIs อยู่ที่ 42% เทียบกับ 32% ที่ได้ยาหลอกแต่ว่า การเลิกยาเพราะผลข้างเคียงเป็นเรื่องสามัญ[82]องค์กร European League Against Rheumatism (EULAR) แนะนำยาแก้ซึมเศร้ารวมทั้ง amitriptyline, ฟลูอ๊อกซิติน, duloxetine, milnacipran, moclobemide, และ pirlindole เพื่อบำบัดไฟโบรไมอัลเจีย โดยอาศัย "หลักฐานที่จำกัด"[83]

ความเจ็บปวดเหตุประสาท

งานวิเคราะห์อภิมานแบบคอเครนปี 2557 พบว่า ยาแก้ซึมเศร้า duloxetine มีประสิทธิผลในการบำบัดความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคเส้นประสาทเหตุเบาหวาน (diabetic neuropathy)[84]นักวิจัยกลุ่มเดียวกันทบทวนข้อมูลของยา amitryptyline เพื่อรักษาโรคเดียวกันแต่พบข้อมูลงานศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มที่สำเร็จประโยชน์น้อยมาก แต่สรุปว่า ประวัติอันยาวนานในการใช้รักษาไฟโบรไมอัลเจียและความเจ็บปวดเหตุประสาทได้อย่างสำเร็จ เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะใช้รักษาต่อไป[85]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยาแก้ซึมเศร้า http://america.aljazeera.com/articles/2014/1/22/pa... http://www.cmcsb.com/tranquil.htm http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0014-... http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S03768... http://www.jpharmacol.com/text.asp?2012/3/3/287/99... http://www.latimes.com/science/sciencenow/la-sci-f... http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS0017... http://reference.medscape.com/drug/remeron-soltab-... http://www.medscape.com/viewarticle/570825+ http://www.merckmanuals.com/professional/psychiatr...