ยุทธการที่ฝรั่งเศส
ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสในเทือกเขาแอลป์:
5 กองพล
150,000 นายอิตาลีในเทือกเขาแอลป์:
22 กองพล
300,000 นายยุทธการที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Battle of France) หรือ ความพินาศที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Fall of France) ในเยอรมนีเรียก การทัพตะวันตก (เยอรมัน: Westfeldzug) คือการบุกโดยกองทัพเยอรมันเพื่อยึดครองภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน 1939 หลังจากที่เยอรมนียกทัพบุกครองโปแลนด์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 1939 ทางกองทัพฝรั่งเศสบุกเข้าซาร์ลันท์ของเยอรมันอย่างมีขอบเขต แต่ในกลางเดือนตุลาคมของปีนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสกลับถอนกำลังมากลับประจำตำแหน่งเดิมหลังแนวมาฌีโน ตลอดหกสัปดาห์หลังตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 1940 เป็นต้นไป กองทหารเยอรมันเอาชนะกองทหารสัมพันธมิตรโดยปฏิบัติการยานยนต์ และเข้าพิชิตฝรั่งเศส เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์ เป็นจุดสิ้นสุดของแนวรบด้านตะวันตกจนกระทั่งการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 อิตาลีได้เข้าร่วมกับเยอรมนีและประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสในวันที่ 10 มิถุนายน 1940 10 พฤษภาคม เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองยานเกราะเยอรมันได้ทำบุกโจมตีเข้าผ่านทางอาร์แดนและตามแนวแม่น้ำซอมอย่างกระทันหันด้วยความเร็วที่ทางฝ่ายสัมพันธิมิตรคาดไม่ถึง กองพลยานเกราะเยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซได้ในวันที่ 15 พฤษภาคมและบุกต่อไปทางตะวันตกโดยทันที ฝ่ายเยอรมันได้ตัดขาดเส้นทางการเดินทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในพื้นที่ และสามารถล้อมกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปช่วยเบลเยียมและจะเข้าโจมตีเยอรมันกับกองทัพที่คาดว่าจะเป็นกองทัพหลักของเยอรมัน ด้วยปฏิบัติการยานเกราะอันมีประสิทธิภาพของเยอรมันทำให้กองทหารบริติช, ฝรั่งเศส และเบลเยียมถูกผลักดันไปจนมุมอยู่ที่หาดเดิงแกร์ก รัฐบาลบริติชได้ทำการอพยพกองทัพต่างแดนบริติช (BEF) ตลอดจนกองพลฝรั่งเศสออกจากหาดเดิงแกร์กในปฏิบัติการไดนาโมจนเสร็จสิ้นวันที่ 4 มิถุนายน 1940เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุแดง" (Fall Rot) ในวันที่ 5 มิถุนายน กองพลบริติชและฝรั่งเศส 60 หน่วยที่เหลืออยู่พยายามต่อต้านการุรกรานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก เนื่องจากฝ่ายเยอรมันมีการสนับสนุนทางอากาศและมียานเกราะที่เหนือกว่ามาก กองยานเกราะเยอรมันยกทัพโอบล้อมแนวมาฌีโนจากภาคเหนือและมุ่งเข้าสู่ภาคกลางของฝรั่งเศส และเข้ายึดกรุงปารีสที่ไร้ทหารป้องกันในวันที่ 14 มิถุนายน ผู้คนในรัฐบาลฝรั่งเศสต่างหลบหนีออกไปอังกฤษก่อนหน้านั้นแล้ว ผู้นำทหารเยอรมันเข้าเจรจาข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายนในวันที่ 22 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในตราสารสงบศึกที่ป่ากงเปียญ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ที่เป็นกลางนำโดย จอมพลฟีลิป เปแต็ง ออกประกาศล้มล้างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ยอมให้เยอรมนีเข้ายึดครองภาคเหนือและชายฝั่งตลอดจนแผ่นดินหลังฝั่งทะเลของฝรั่งเศส การบุกของอิตาลีส่งผลให้ทางฝรั่งเศสเสียพื้นที่บนแถบเทือกเขาและหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลงนามตราสารสงบศึก ทางอิตาลีก็ได้ครอบครองพื้นที่ในโซนยึดครองทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส มีเขตอำนาจเพียงดินแดนนอกยึดครองแถบภาคใต้ซึ่งเรียกว่า "โซนเสรี" (Zone libre) ในเดือนพฤศจิกายน 1942 ทหารเยอรมันและอิตาลีเข้ายึดพื้นที่โซนเสรีภายใต้ชื่อปฏิบัติการอันโทน (Unternehmen Anton) แม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้ศึกครั้งนี้ แต่นายพลชาลส์ เดอ โกล แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้ลี้ภัยไปอยู่กรุงลอนดอน เขาได้ตั้งแนวร่วมเสรีฝรั่งเศส (France Libre) เพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะจนกระทั่งถูกปลดปล่อยหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในปี 1944

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่10 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 (46 วัน)
สถานที่ฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
ผลลัพธ์เยอรมนีได้รับชัยชนะ
วิชีฝรั่งเศสถูกตั้งขึ้นแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
สถานที่ ฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
ผลลัพธ์ เยอรมนีได้รับชัยชนะ
วิชีฝรั่งเศสถูกตั้งขึ้นแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
วันที่ 10 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 (46 วัน)

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่บะดัร ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก