ยุทธการแห่งแอตแลนติก
ยุทธการแห่งแอตแลนติก

ยุทธการแห่งแอตแลนติก

 ราชอาณาจักรอิตาลี (1940–43) ลีโอนาร์ด เมอร์รีย์
เออร์เนสต์ คิง
รอยัล อี. อินเจอร์ซอลล์ยุทธการแห่งแอตแลนติกเป็นการทัพทางทหารที่ยาวนานที่สุดอย่างต่อเนื่องในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 จนกระทั่งความปราชัยของฝ่ายเยอรมนีเมื่อปี ค.ศ. 1945 ส่วนหลักการทางยุทธศาสตร์คือการปิดล้อมเยอรมนีของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ประกาศเอาไว้ในวันหลังจากได้ประกาศสงครามและเยอรมนีได้ทำการปิดล้อมโต้ตอบในเวลาต่อมา มันได้อยู่ที่สูงสุด ตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 1940 ตลอดจนถึงปี ค.ศ. 1943ยุทธการแห่งแอตแลนติกนั้นได้มีเรือ-อูและเรือรบอื่น ๆ ของครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ) และเครื่องบินรบของลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) เข้าปะทะกับกองทัพเรือแคนาดา กองทัพเรืออังกฤษ กองทัพเรือสหรัฐ และเรือขนส่งเชิงพาณิชทย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร ขบวนเรือสินค้า ส่วนใหญ่มาจากอเมริกาเหนือและจุดหมายปลายทางที่กำลังจะไปก็คือสหราชอาณาจักรและสหภาพโซเวียต จึงได้รับการคุ้มกันจากส่วนใหญ่ของกองทัพเรือบริติชและแคนาดาและกองทัพอากาศ กองกำลังเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือจากเรือและเครื่องบินรบของสหรัฐ เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1941[6] เยอรมันได้ร่วมมือกับเรือดำน้ำของกองทัพเรืออิตาลี (รีเจีย มารินา) ภายหลังจากพันธมิตรอักษะอย่างอิตาลีได้เข้าร่วมสงครามในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940ในขณะที่ประเทศเกาะ สหราชอาณาจักรจำเป็นต้องพึ่งพาสินค้านำเข้าเป็นอย่างมาก บริติซนั้นต้องการสินค้านำเข้ามากกว่าล้านตันต่อสัปดาห์เพื่อให้สามารถอยู่รอดและต่อสู้ต่อไปได้ ในจุดที่สำคัญ, ยุทธการแห่งแอตแลนติกเป็นสงครามระวางน้ำหนักเรือ (tonnage war): การต่อสู้ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขนส่งสินค้าเข้าสู่บริเตนและฝ่ายอักษะพยายามขัดขวางเส้นทางการขนส่งทางเรือที่จะทำให้ฝ่ายบริติชสามารถที่จะต่อสู้ต่อไปได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 เป็นต้นมา ฝ่ายอักษะก็ได้พยายามขัดขวางการสะสมเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตรและเตรียมอุปกรณ์ต่างๆในหมู่เกาะบริเตนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกครองทวีปยุโรป การกำจัดภัยคุกคามของเรืออูเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการผลักดันกลับแก่ฝ่ายอักษะ ผลลัพธ์ของการสู้รบคือชัยชนะทางยุทธศาสตร์สำหรับฝ่ายสัมพันธมิตร—การปิดกั้นของเยอรมันได้ล้มเหลว—สูญเสียไปอย่างมาก: เรือเชิงพาณิชย์ 3,500 ลำ และเรือรบ 175 ลำได้ถูกจมลงในมหาสมุทรแอตแลนติก จากการสูญเสียของเรืออู 783 ลำ (ส่วนมากเป็นเรือดำน้ำ ประเภทที่ 7) และเรือผิวน้ำเยอรมัน 47 ลำ รวมทั้งเรือรบประจัญบาน 4 ลำ (ชาร์นฮอร์ชต, บิสมาร์ค, ไกเซเนา และเทียร์พิทซ์) เรือลาดตระเวน 9 ลำ เรือเรดาร์ 7 ลำ และเรือพิฆาต 27 ลำ จากเรืออู 519 ลำ ถูกจมลงโดกองกำลังบริติซ, แคนาดา และฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น ๆ ในขณะที่ 175 ลำ ถูกทำลายโดยกองกำลังอเมริกัน 15 ลำ ถูกทำลายโดยโซเวียต และ 73 ลำ ถูกเจาะท้องเรือโดยลูกเรือของพวกเขาเองก่อนสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยสาเหตุหลายประการ[7]ยุทธการแห่งแอตแลนติกได้ถูกเรียกว่า เป็นยุทธนาวี"ที่ยืดเยื้อยาวนาน ใหญ่ที่สุด และซับซ้อนมากที่สุด"ในประวัติศาสตร์[8] การทัพได้เริ่มต้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากสงครามในทวีปยุโรปเริ่มต้นขึ้นในช่วงที่ถูกเรียกว่า "สงครามลวง" และในอีกหกปีต่อมา จนกระทั่งเยอรมันยอมจำนนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 มีเรือที่เกี่ยวข้องหลายพันลำในการสู้รบคุ้มครองขบวนเรือสินค้า 100 ครั้ง และบางทีมีเรือเพียงลำเดียวที่ได้เผชิญหน้ากว่า 1,000 ครั้ง ในเขตสงครามที่ครอบคลุมหลายล้านตารางไมล์ของมหาสมุทร สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีความได้เปรียบ ในขณะที่ประเทศที่ได้ยอมจำนนต่างได้เข้าร่วมและแม้แต่กระทั่งได้มีการเปลี่ยนฝ่ายในสงคราม และในขณะที่อาวุธ กลยุทธ์ มารตรการตอบโต้ และอุปกรณ์ใหม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นทั้งสองฝ่าย ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ค่อยได้เปรียบที่เหนือกว่าในการเอาชนะเรือตรวจบนผิวน้ำของเยอรมันในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 และเอาชนะเรืออู ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 แม้ว่าความสูญเสียมาจากเรืออูยังคงมีอย่างต่อเนื่องต่อไปจนกระทั่งสงครามยุติลง

ยุทธการแห่งแอตแลนติก

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่วันที่ 3 กันยายน ปี 1939 – 8 พฤษภาคม ปี 1945
(5 ปี 8 เดือน และ 5 วัน)
สถานที่มหาสมุทรแอตแลนติก, รีโอเดลาปลาตา, ทะเลเหนือ, ทะเลไอริช, ทะเลลาบราดอร์, อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์, ทะเลแคริบเบียน, อ่าวเม็กซิโก, Outer Banks, มหาสมุทรอาร์กติก
ผลลัพธ์สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
สถานที่ มหาสมุทรแอตแลนติก, รีโอเดลาปลาตา, ทะเลเหนือ, ทะเลไอริช, ทะเลลาบราดอร์, อ่าวเซนต์ลอว์เรนซ์, ทะเลแคริบเบียน, อ่าวเม็กซิโก, Outer Banks, มหาสมุทรอาร์กติก
ผลลัพธ์ สัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
วันที่ วันที่ 3 กันยายน ปี 1939 – 8 พฤษภาคม ปี 1945
(5 ปี 8 เดือน และ 5 วัน)

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่เซกิงาฮาระ ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่บะดัร ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก