เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการเดินรถ ของ รถไฟฟ้าบีทีเอส

อุบัติเหตุ

  • วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08.15 น. ผู้โดยสารเป็นลมตกพลัดตกลงไปในทางวิ่งรถไฟฟ้าสถานีหมอชิต เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสามารถช่วยเหลือได้ทันด้วยการกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉิน และตัดกระแสไฟฟ้าภายในบริเวณสถานีเพื่อลงไปช่วยเหลือ [96]
  • วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561 เวลา 8.15 น. เกิดเหตุผู้โดยสารเป็นลมพลัดตกลงไปในทางวิ่งรถไฟฟ้าสถานีราชเทวีฝั่งมุ่งหน้าสถานีสำโรง แต่ขณะเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสามารถช่วยเหลือได้ทันด้วยการกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินทั้งสองฝั่ง และตัดกระแสไฟฟ้าภายในบริเวณสถานีเพื่อลงไปช่วยเหลือ ใช้เวลา 10 นาที [97] [98]

เหตุการณ์ความวุ่นวาย

ความวุ่นวายจากกลุ่มกปปส.

ในเดือนกราคม พ.ศ. 2557 มีเหตุการณ์ชัตดาวน์กรุงเทพมหานคร โดยบีทีเอสได้ปิดการให้บริการในสถานี อโศก นานา เพลินจิต ชิดลม สนามกีฬาแห่งชาติ ราชดำริ ศาลาแดง และสยาม เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายในระบบ ทั้งนี้ ยังคงให้บริการในสถานีอื่นๆ แต่มีการปรับแผนการเดินรถใหม่ โดยไม่จอดในบางสถานี [99]

ความวุ่นวายจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ

เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553 ทำให้รถไฟฟ้าบีทีเอสประกาศหยุดการเดินรถทั้งสายเป็นเวลา 1 วัน โดยเกิดจากกลุ่มดังกล่าว นำยางรถยนต์ไปวางบนสถานีรถไฟฟ้าชิดลม และต่อมา บีทีเอสดำเนินการฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 81[100]

ระบบรถไฟฟ้าขัดข้อง

  • วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 รถไฟฟ้าสายสุขุมวิทเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถให้บริการได้ในเส้นทางระหว่างสถานีอโศกถึงสถานีอ่อนนุช เนื่องจากทำการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณรถไฟใหม่จากของบริษัทซีเมนส์ เป็นของบริษัทบอมบาร์ดิเอร์[101] และในวันถัดมารถไฟฟ้าสายสีลมก็เกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถให้บริการได้ในช่วงเวลาระหว่าง 07.20–09.30 น. [102]
  • วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556 เวลา 03.00 น. ระบบควบคุมการเดินรถหลักของบีทีเอส เกิดขัดข้อง หลังจากเริ่มทดสอบระบบประตูอัตโนมัติกั้นขอบชานชาลาในสถานีพร้อมพงษ์ และทำให้ระบบล่มลงในเวลาต่อมา ทำให้รถไฟฟ้าบีทีเอสไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติตั้งแต่เวลา 06.00–11.00 น. และระบบขัดข้องอีกครั้งในส่วนชิดลม–ปุณณวิถีในเวลา 12.30 น. ระบบถูกแก้ไขในเวลาประมาณ 14.00 น. ใช้เวลาในการแก้ไขปัญหานี้ทั้งหมด 11 ชั่วโมง [103]
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เวลา 05.00 น. เกิดเหตุขัดข้องบริเวณจุดสับรางรถไฟฟ้าช่วงสถานีชิดลมมุ่งหน้าเข้าสถานีสยาม ทำให้รถไฟฟ้าไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติในสายสุขุมวิท โดยบีทีเอสได้จัดรถวิ่งแบบ turn around เป็น 3 ช่วง คือช่วงแบริ่ง–สยาม–แบริ่ง, หมอชิต–บางหว้า–หมอชิต และสนามกีฬาแห่งชาติ–สยาม–สนามกีฬาแห่งชาติ ความถี่ 5–10 นาทีต่อคัน โดยผู้โดยสารต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีสยาม [104]
  • ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2561 รถไฟฟ้าบีทีเอสเกิดเหตุขัดข้อง 9 ครั้งภายในเดือนเดียว (ตั้งแต่วันที่ 1–25 มิถุนายน)[105] ดังนี้
    • 6 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีชิดลม ทำให้ขบวนรถล่าช้า 10 นาที
    • 12 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีอ่อนนุช ทำให้ขบวนรถล่าช้า 24 นาที
    • 13 มิถุนายน ระบบประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors) ขัดข้องที่สถานีสยาม
    • 15 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่บริเวณรางสับหลีกช่วงสถานีพร้อมพงษ์–สถานีอโศก ทำให้ขบวนรถล่าช้า 10 นาที
    • 18 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทำให้ขบวนรถล่าช้าในสายสีลม 10 นาที
    • 22 มิถุนายน รถไฟฟ้าขัดข้องอีก 2 รอบ ที่สถานีเพลินจิต ชิดลม และสำโรง
    • 24 มิถุนายน ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องตั้งแต่สถานีสยามถึงสถานีสะพานควาย ขบวนรถล่าช้าทั้งระบบ 10 นาที
    • 25 มิถุนายน ระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องอีกครั้งในช่วงระยะสถานีเดียวกัน ขบวนรถล่าช้าทั้งระบบ 15 นาที

ดร.อาณัติ อาภาภิรม ประธานกรรมการที่ปรึกษา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ออกแถลงการณ์ถึงสาเหตุของปัญหาความขัดข้องดังกล่าว 3 ข้อ

  1. บริษัทฯ และกรุงเทพธนาคม กำลังดำเนินการติดตั้งและทดสอบระบบอาณัติสัญญาณ และการติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาที่โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทส่วนใต้ ช่วงสถานีสำโรง ถึงสถานีเคหะฯ ร่วมกับบอมบาร์ดิเอร์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทส่วนใต้ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถือเป็นความขัดข้องตามปกติเมื่อครั้งที่บริษัทฯ ดำเนินการทดสอบระบบอาณัติสัญญาณที่สถานีส่วนต่อขยายเมื่อ พ.ศ. 2552–2556
  2. บริษัทฯ กำลังดำเนินการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณของโครงการส่วนเดิมทั้งสายเพื่อป้องกันคลื่นรบกวนจากภายนอก
  3. เนื่องจากสถานีสยามยังคงใช้งานระบบเดิม ทำให้มีปัญหาถูกคลื่นรบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณบ่อยครั้ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24–25 มิถุนายน เกิดจากมีคลื่นรบกวนการทำงานของระบบอาณัติสัญญาณจนทำให้ระบบล่มลง ทำให้การเดินรถอัตโนมัติไม่สามารถทำได้ บริษัทฯ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเปลี่ยนการทำงานมาใช้ระบบแมนวลในการนำรถไฟฟ้าเข้าจอดที่สถานีสยามควบคู่กับการพยายามกู้ระบบอัตโนมัติให้กลับมาทำงานได้

บีทีเอสได้แก้ไขปัญหาเบื่องต้น โดยการดำเนินการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณใหม่และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสัญญาณรบกวนเพิ่มเติมบริเวณสถานีสยาม ในวันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ทางบีทีเอส เปลี่ยนการขับเคลื่อนขบวนรถ เป็นระบบ Manual ที่พนักงานขับรถไฟฟ้า จะต้องควบคุมความเร็วเอง [106] หลังจากนั้นกสทช. มีมติให้บีทีเอสย้ายคลื่นความถี่ของระบบอาณัติสัญญาณไปอยู่ที่ช่วง 2480 MHz - 2495 MHz ความกว้าง 15 MHz แทน [107]

  • วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 11.49 น. จุดสับรางขัดข้องก่อนเข้าสถานีหมอชิต[108] ทำให้ต้องแบ่งการเดินรถ แบบ turn around เป็น 2 ช่วง คือ หมอชิต-สนามเป้า-หมอชิต และสนามเป้า-เคหะ-สนามเป้า โดยได้รับการแก้ไขปัญหาเมื่อเวลา 17.14 น. ในวันเดียวกัน[109]
  • วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เวลา 11.00 น. จุดสับรางบริเวณส่วนเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ หมอชิต ขัดข้อง การซ่อมแซมจะต้องดำเนินการในช่วงเวลาปิดทำการ ทำให้ต้องจัดรูปแบบการเดินรถเป็น 3 ช่วง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์-ห้าแยกลาดพร้าว-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้บริการในรูปแบบทางคู่, ห้าแยกลาดพร้าว-สนามเป้า-ห้าแยกลาดพร้าว ให้บริการในรูปแบบทางเดี่ยว โดยเดินรถในชานชาลาที่ 1 ตลอดช่วง และสนามเป้า-เคหะฯ-สนามเป้า ให้บริการในรูปแบบทางคู่ ตลอดทั้งวัน แต่บางช่วงเวลาสามารถให้บริการได้เต็มช่วง ห้าแยกลาดพร้าว-เคหะฯ-ห้าแยกลาดพร้าว
  • วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 17.05 น. จุดสับรางขัดข้องบริเวณช่วงก่อนเข้าสถานีสะพานตากสินฝั่ง South bound ทำให้ต้องจัดรูปแบบการเดินรถแบบ turn around เป็น 2 ช่วง คือ บางหว้า-สุรศักดิ์-บางหว้า และสนามกีฬาแห่งชาติ-สุรศักดิ์-สนามกีฬาแห่งชาติ โดยแก้ไขแล้วเสร็จในเวลา 17.30 น. แต่ต่อมาในเวลา 21.47 น. เกิดเหตุขัดข้องที่ประแจชุดเดิมอีกครั้ง ทำให้ต้องมีการจัดรูปแบบการเดินรถที่สถานีสุรศักดิ์ โดยใช้ชานชาลาที่ 3 เพียงชานชาลาเดียว ทั้งขาไปสนามกีฬาแห่งชาติ และขาไปบางหว้า

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าบีทีเอส http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/805724 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/810348 http://www.bangkokmasstransit.com/ http://bmta.bloggoo.com http://www.bmamasstransit.com/ http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=6... http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=50... http://www.hitachi-rail.com/products/signalling/at... http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html http://www.ladynaka.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B...