รถไฟฟ้าปารีส
รถไฟฟ้าปารีส

รถไฟฟ้าปารีส

รถไฟฟ้าปารีส (ฝรั่งเศส: Métro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของนวศิลป์ (Art Nouveau) มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่งรถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมากรุงปารีสเป็นเมืองที่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่หนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยสถานีกว่า 245 แห่งภายในเนื้อที่กรุงปารีส 41 ตารางกิโลเมตร (16 ตารางไมล์) แต่ละสายจะมีชื่อเป็นหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 และมีสายรองอีกสองสายคือ สาย 3 (2) และสาย 7 (2) สายรองทั้งสองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสาย 3 และ 7 แต่แยกตัวออกมาภายหลังในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2510 ตามลำดับรถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียว และเม็กซิโกซิตี และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า รองจากนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และโซล ทั้งนี้สถานีชาเตอแล-เลอาลยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วยแต่ละสายจะมีเลขและสีในการบ่งบอก ส่วนทิศทางในการเดินทางเห็นได้จากสถานีปลายทางของแต่ละสาย

รถไฟฟ้าปารีส

ประเภท รถไฟใต้ดิน
จำนวนสถานี 303
เจ้าของ RATP
ผู้โดยสารต่อวัน 4,175,000 คน (2011)
เริ่มดำเนินงาน 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1900
จำนวนสาย 16 (สาย 1-14, 3 (2) และ 7 (2))
ที่ตั้ง กรุงปารีส
รางกว้าง 1,435 มม. (4 ฟุต 8 1⁄2 นิ้ว)
(รางมาตรฐาน)
ระยะทาง 214 กิโลเมตร (133 ไมล์)
ผังเส้นทาง
ผังเส้นทาง
ผู้ดำเนินงาน RATP

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล