รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (ท่าพระ-บางซื่อ-หัวลำโพง-หลักสอง-พุทธมณฑล สาย 4) (Metropolitan Rapid Transit Chaloem Ratchamongkhon Line, MRT Blue Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนนิยมเรียกว่า "รถไฟฟ้าใต้ดิน" เนื่องมาจากช่วงเริ่มแรกให้บริการรถไฟฟ้าเส้นนี้ เส้นทางเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) (บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในอดีต) โดยได้รับสัมปทานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) หรือ MRTA) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปทรงกดปุ่มระบบคอมพิวเตอร์เปิดการเดินรถไฟฟ้าสายนี้ด้วยพระองค์เอง ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง-พระราม 9 ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จด้วย[3]ปัจจุบันมีระยะทางรวม 48 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหลักสอง ผ่านสถานีท่าพระ, สถานีสุทธิสาร และสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ ตามแนววงกลม รวม 38 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีบางหว้า, สถานีสีลม, สถานีสุขุมวิท, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่สถานีเตาปูน และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีเพชรบุรีนาม เฉลิมรัชมงคล เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินในช่วงแรก คือช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ มีความหมายว่า "งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา"[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม "เฉลิมรัชมงคล" สำหรับส่วนต่อขยายทั้งสองช่วง ได้แก่ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และช่วงบางซื่อ-ท่าพระอีกด้วย[5]รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศเหนือที่สถานีเตาปูน ไปยังถนนจรัญสนิทวงศ์ และแยกท่าพระ และจากปลายทางด้านทิศใต้ สถานีหัวลำโพง ไปยังท่าพระและบางแค ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางเชื่อมต่อกันที่สถานีท่าพระ ก่อให้เกิดเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวน โดยโครงการได้มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงบางซื่อ - เตาปูน เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ช่วงหัวลำโพง - หลักสอง เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562 และช่วงเตาปูน - ท่าพระ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล

เว็บไซต์ เว็บไซต์ รฟม.
ขบวนรถ ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร (EMU-IBL)
จำนวน 57 ตู้ (19 ขบวน) : ขบวนละ 3 ตู้
ซีเมนส์ อินสไปโร (EMU-BLE)
จำนวน 105 ตู้ (35 ขบวน) : ขบวนละ 3 ตู้
รูปแบบ รถไฟฟ้ายกระดับ และรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
อาณัติสัญญาณ ซีเมนส์ เทรนการ์ด แอลซีบี 700เอ็ม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง
พุทธมณฑล สาย 4
พุทธมณฑล สาย 3
ทวีวัฒนา
พุทธมณฑล สาย 2
หลักสอง
บางแค
ภาษีเจริญ
ศูนย์ซ่อมบำรุง
เพชรเกษม 48
สีลม วุฒากาศ
บางหว้า
บางไผ่
ท่าพระ (เพชรเกษม)
สีน้ำเงินส่วนเหนือ:จรัญสนิทวงศ์ 13
สีทองไอคอนสยาม
อิสรภาพ
แม่น้ำเจ้าพระยา
สนามไชย
สามยอด
สีม่วง สะพานพุทธ – ผ่านฟ้า
วัดมังกร
สีแดงเข้ม ยศเส – คลองสาน
หัวลำโพง
สามย่าน
ศาลาแดง ราชดำริ – ช่องนนทรี
สีลม
สีเทาสวนพลู
ลุมพินี
สีเทางามดูพลี
คลองเตย
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สีเทาแยกเกษมราษฎร์
อโศก นานา – พร้อมพงษ์
สุขุมวิท
มักกะสัน ราชปรารภ – รามคำแหง
เพชรบุรี
พระราม 9
ศูนย์ซ่อมบำรุง
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
สีส้ม ประชาสงเคราะห์ – รฟม.
ห้วยขวาง
สุทธิสาร
รัชดาภิเษก
สีเหลือง จันทรเกษม – ภาวนา
ลาดพร้าว
สุขุมวิทพหลโยธิน 24
พหลโยธิน ( ห้าแยกลาดพร้าว)
สวนจตุจักร ( หมอชิต)
สุขุมวิทสะพานควาย
กำแพงเพชร
สีแดง ประดิพัทธ์ – บางซ่อน/จตุจักร
สถานีกลางบางซื่อ
เตาปูน
สีม่วง รัฐสภา – บางซ่อน
บางโพ
แม่น้ำเจ้าพระยา
บางอ้อ
บางพลัด
สิรินธร
บางยี่ขัน
สีส้ม/สีแดงอ่อน ศิริราช – ตลิ่งชัน
บางขุนนนท์
ไฟฉาย
จรัญฯ 13
ท่าพระ (จรัญสนิทวงศ์)
สีน้ำเงินส่วนใต้: อิสรภาพ - บางไผ่
จำนวนสถานี 38
เจ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟฟ้ามหานคร
ผู้โดยสารต่อวัน 400,000 คน (พ.ศ. 2562)[1]
ความเร็ว 80 กม./ชม.
สถานะ เปิดให้บริการ
ส่วนต่อขยายล่าสุด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (สถานีสิรินธร - สถานีจรัญฯ 13 - สถานีท่าพระ)
เปิดเมื่อ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
เส้นทาง 1
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร, สมุทรสาคร
รางกว้าง รางมาตรฐาน (1.435 เมตร)
ระยะทาง 48 กิโลเมตร
ปลายทาง สถานีพุทธมณฑล สาย 4
สถานีท่าพระ (วิ่งตามเส้นวงกลมจากสถานีพุทธมณฑล สาย 4หัวลำโพงบางซื่อท่าพระ แล้วย้อนกลับ)
จำนวนทางวิ่ง 2
ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ห้วยขวาง
ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยเพชรเกษม
ผู้ดำเนินงาน บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2593)[2]

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล http://www.baanjomyut.com/library/law/02/150.html http://www.bangkokmasstransit.com/ http://news.classifiedthai.com/mrt%E0%B8%9E%E0%B8%... http://www.kodmhai.com/Kkat/NKkat/Nkkat-1/New4/N11... http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html http://www.lawyerthai.com/law/articles.php?article... http://bmcl-th.listedcompany.com/business.html/pri... http://www.ryt9.com/s/iq05/2623812 http://www.ryt9.com/s/nnd/1253668 http://www.ryt9.com/s/prg/494668