รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน

รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน หรือ รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามแนวถนนเทพรัตน อันเป็นทางหลวงแผ่นดินที่จะมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (แผนแม่บท MTMP) ก่อนถูกปรับปรุงให้เป็นแผนแม่บทเพื่อนำไปสู่การดำเนินการจริงใน พ.ศ. 2539 (แผนแม่บท CTMP) โดยถูกกำหนดให้เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าธนายง ตอน 1 แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (แผนแม่บท URMAP) ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมและสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง กรุงเทพมหานครจึงได้นำเส้นทางดังกล่าวกลับเข้าสู่การพิจารณา ก่อนลดระยะทางให้สิ้นสุดที่บริเวณแยกศรีเอี่ยม (ทางแยกต่างระดับระหว่างถนนบางนา-ตราด และถนนศรีนครินทร์) และได้ปรับปรุงเส้นทางอีกครั้งให้ต่อขยายไปสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมในเวลาต่อมาปัจจุบัน โครงการอยู่ในระหว่างการยื่นขอผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เพื่อเริ่มดำเนินโครงการ โดยกรุงเทพมหานครคาดหวังไว้ว่าจะสามารถเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2562–2563 และคาดว่าจะเปิดใช้งานจริงได้ภายใน พ.ศ. 2567 โดยการนำเสนอครั้งล่าสุด กรุงเทพมหานครได้กำหนดสีของสายอย่างเป็นทางการคือ "สีฟ้าอ่อน"

รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน

รูปแบบ รถไฟฟ้ารางเบายกระดับ
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
จำนวนสถานี 14 สถานี
เจ้าของ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
จังหวัดสมุทรปราการ
ระบบ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สถานะ อยู่ระหว่างการขอ EIA
เปิดเมื่อ ยังไม่กำหนด
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ
รางกว้าง 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระยะทาง 24 km (14.91 mi)
จำนวนทางวิ่ง 2
ปลายทาง บางนา
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ซ่อมบำรุงธนาซิตี้
ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนร่วมประมูล

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา