รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายศรีนครินทร์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการโดย บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนโครงการและสัญญาสัมปทานกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2562[1] เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนลาดพร้าว ที่มีปัญหาการจราจรมาอย่างยาวนานโครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยวทั้งโครงการ มีแนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร และสิ้นสุดเส้นทางในจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีรัชดา จากนั้นไปตามแนวถนนลาดพร้าวจนถึงทางแยกบางกะปิ แล้วเบนไปทางทิศใต้ตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีลำสาลี เชื่อมต่อกับสถานีหัวหมากของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน จากนั้นไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านทางแยกพัฒนาการ แยกสวนหลวง แยกศรีอุดม แยกต่างระดับศรีเอี่ยม จนถึงทางแยกศรีเทพา แล้วเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ สิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสำโรง ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ระยะทางรวมประมาณ 30 กิโลเมตรเดิมทีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองได้มีการพิจารณาออกเป็นหลายระบบหลายรูปแบบด้วยกัน เช่นเป็นโครงสร้างใต้ดินแล้วยกระดับ หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวจนถึงพัฒนาการแล้วเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก หรือเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาทั้งสาย หรือเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย แต่จากการเสนอที่ผ่านมาตลอดจนการอนุมัติการดำเนินโครงการ ผลปรากฏว่าเป็นการออกแบบในส่วนของรถไฟฟ้ารางเดี่ยวทั้งสาย[2]

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ขบวนรถ บอมบาร์ดิเอร์ อินโนเวีย โมโนเรล 300
เว็บไซต์ เว็บไซต์โครงการ
ธุรกิจระบบขนส่งมวลชน บีทีเอสกรุ๊ป
รูปแบบ รางเดี่ยว
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง
สีเขียวเข้ม ห้าแยกฯ – รัชโยธิน
พหลโยธิน 24 (ส่วนต่อขยาย)
จันทร์เกษม (ส่วนต่อขยาย)
สีน้ำเงิน พหลโยธิน – รัชดาภิเษก
รัชดา
ภาวนา
โชคชัย 4
ลาดพร้าว 71
สีเทา สังคมสงเคราะห์ – ศรีวรา
ลาดพร้าว 83
มหาดไทย
ลาดพร้าว 101
บางกะปิ
สีส้ม รามคำแหง 34 – ศรีบูรพา
แยกลำสาลี
สีน้ำตาล สนามกีฬาคลองจั่น
ศรีกรีฑา
สุวรรณภูมิ รามคำแหง – ทับช้าง
สีแดงอ่อน รามคำแหง / รถไฟตอ.
พัฒนาการ
กลันตัน
ศรีนุช
ศรีนครินทร์ 38
สวนหลวง ร.9
ศรีอุดม
ศูนย์ซ่อมบำรุงเทพรัตน-ศรีเอี่ยม
สีฟ้าอ่อน เทพรัตน 25 – เปรมฤทัย
ศรีเอี่ยม
ศรีลาซาล
ศรีแบริ่ง
ศรีด่าน
ศรีเทพา
ทิพวัล
สุขุมวิท แบริ่ง – ปู่เจ้า
สำโรง
จำนวนสถานี 23 (ไม่รวมส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี)
เจ้าของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ระบบ รถไฟฟ้ามหานคร
ความเร็ว 80 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.)
สถานะ กำลังก่อสร้าง
เปิดเมื่อ ภายใน พ.ศ. 2564 (คาดการณ์)
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร และ จ.สมุทรปราการ
ระยะทาง 32 กิโลเมตร (20 ไมล์) (est.)
ปลายทาง สถานีพหลโยธิน 24
สถานีสำโรง
ผู้ดำเนินงาน บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2594)

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้าสายสีเหลือง http://www.fs-yellow-brown-pink.com http://www.youtube.com/watch?v=c_uxEa4dOE4 http://www.mrtayellowline.net http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.btsgroup.co.th/th/our-business/mass-tra... http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?Ne... http://www.mrta.co.th/Brochure/brochure_Yellow.pdf http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_bro...