ระบบการออกเสียงภาษาบาลี

ชื่อะบบการออกเสียงบาลีหรือฐานกรณ์เป็นการอธิบายการเกิดเสียงและการออกเสียงในภาษาบาลี โดยฐานกรณ์ คือ คำซึ่งใช้เรียกอวัยวะต่าง ๆ ในช่องปากที่ใช้ในการออกเสียง ฐานกรณ์ประกอบด้วย ฐานและกรณ์ ฐาน นั้นหมายถึง ตำแหน่งที่เกิดของเสียงซึ่งจะเป็นตำแหน่งในช่องปากที่ไม่เคลื่อนที่ในการออกเสียง ได้แก่ ริมฝีปากบน ฟันบน แนวปุ่มเหงือก หลังปุ่มเหงือก หน้าเพดานแข็ง เพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และผนังคอ ส่วนกรณ์ นั้นหมายถึงอวัยวะต่าง ๆ ในช่องทางเดินเสียง ซึ่งเคลื่อนไปประชิดหรือใกล้กับฐานในการออกเสียง ได้แก่ ริมฝีปากล่าง ปลายลิ้น ส่วนปลายลิ้น หน้าลิ้น หลังลิ้น กลางลิ้น และโคนลิ้น ในการออกเสียงต้องใช้อวัยวะที่เป็นฐานและกรณ์คู่กันเสมอ การใช้ฐานกรณ์ต่างกันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงแตกต่างกันไประบบการออกเสียงบาลี นำเสนอระบบเสียงที่สืบทอดมา ในคัมภีร์บริวารพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ สัททาวิเสส และสัทนีติสุตตมาลา โดยเปรียบเทียบ กับหลักการทางภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน ทั้งเสียงสระ พยัญชนะ และการออกเสียงพิเศษ

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี