ตัวรับความรู้สึกและสิ่งเร้า ของ ระบบประสาทรับความรู้สึก

การกระตุ้นและการตอบสนองของระบบประสาทรับความรู้สึก
ดูบทความหลักที่: ตัวรับความรู้สึก และ ตัวกระตุ้น

จากลานรับตัวกระตุ้น (receptive field) ของตน ตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) เข้ารหัสลักษณะ 4 อย่างของสิ่งเร้า คือ

  • แบบสิ่งเร้า (เช่น เป็นแสงหรือเสียง) - ตัวรับความรู้สึกแต่ละประเภทจะไวต่อสิ่งเร้าเฉพาะอย่าง ๆ เช่น ตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) ประเภทต่าง ๆ จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางสัมผัสในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นวัสดุคมหรือทื่อ
  • ความแรง (เช่นเสียงดังแค่ไหน) - ตัวรับความรู้สึกจะส่งกระแสประสาทในรูปแบบโดยเฉพาะ ๆ เพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับความแรงของสิ่งเร้า
  • ตำแหน่ง (เช่นข้างหน้าข้างหลัง) - ตำแหน่งในกายของตัวรับความรู้สึกที่รับการกระตุ้น จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของสิ่งเร้า (เช่นการกระตุ้นตัวรับแรงกลที่นิ้ว ก็จะส่งข้อมูลไปยังสมองเกี่ยวกับนิ้วนั้น)
  • ช่วงระยะที่มีตัวกระตุ้น (เช่น ดังนานหรือดังแป๊บเดียว) - ช่วงระยะเวลาที่สิ่งเร้าดำรงอยู่ บอกได้โดยรูปแบบกระแสประสาทของตัวรับความรู้สึก

การเข้ารหัสภาวะ 4 อย่างนี้มีประโยชน์กับการประมวลผลในสมอง เช่น เวลาที่มาถึงของเสียงและความต่างเฟสของคลื่นเสียงที่เป็นไปสืบต่อกัน สามารถใช้กำหนดตำแหน่งต้นเสียงได้ ตัวรับความรู้สึกส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังสมองผ่านเส้นใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber) ซึ่งเป็นส่วนของเซลล์ประสาทนำเข้า (afferent neuron) ต่อ ๆ กัน

ตัวรับความรู้สึกในมนุษย์ มีประเภทเป็นต้นดังต่อไปนี้

ลานรับตัวกระตุ้น

ดูบทความหลักที่: ลานรับตัวกระตุ้น

ลานรับตัวกระตุ้น (receptive field) เป็นบริเวณในร่างกายหรือในสิ่งแวดล้อมที่ตัวรับความรู้สึกจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น ตัวอย่างเช่น ส่วนของโลกที่ตาเห็นเป็นลานรับตัวกระตุ้นของตา และแสงที่เซลล์รับแสงคือเซลล์รูปแท่ง (rod cell) กับเซลล์รูปกรวย (cone cell) ในตาเห็น ก็เป็นลานรับตัวกระตุ้นของเซลล์[5] ลานรับตัวกระตุ้นได้ระบุแล้วสำหรับระบบการเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย

แบบสิ่งเร้า

ดูบทความหลักที่: แบบสิ่งเร้า

แบบสิ่งเร้า (stimulus modality) เป็นปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างหนึ่งที่ตัวรับความรู้สึกรับรู้ได้ เช่น อุณหภูมิ รสชาติ เสียง และแรงดัน ตัวอย่างเช่น อาหารในปากทำให้รู้อุณหภูมิและรสชาติ ดังนั้น อาหารที่เป็นสิ่งเร้าสิ่งเดียวทำให้รู้แบบสิ่งเร้า (modality) 2 อย่าง คือ อุณหภูมิและรสชาติ ในกรณีนี้ปลายประสาทรับร้อนเป็นตัวรับรู้อุณหภูมิ และเซลล์รับรสเป็นตัวรู้รส

ใกล้เคียง

ระบบประสาทรับความรู้สึก ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกาย ระบบประสาท ระบบปฏิบัติการ ระบบประสาทกลาง ระบบประสาทสั่งการ ระบบประธานาธิบดี ระบบป้องกันระยะประชิดฟาลังซ์ ระบบประสาทอิสระ ระบบประสาทซิมพาเทติก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบประสาทรับความรู้สึก http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://psych.hanover.edu/classes/sensation/chapter... http://www.journals.uchicago.edu/doi/abs/10.2307/1... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://www.who.int/entity/healthinfo/statistics/bo... //doi.org/10.1007%2FBF00198171 //doi.org/10.1016%2Fj.brainres.2008.06.090 //doi.org/10.1016%2Fj.neuron.2010.05.023 //doi.org/10.1073%2Fpnas.1214240110 //doi.org/10.1093%2Fcercor%2Fbhk015