ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก
ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก

ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก

สนธิสัญญาแอนตาร์กติกและความตกลงที่เกี่ยวข้อง รวมเรียก ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก (อังกฤษ: Antarctic Treaty System, ย่อ: ATS) วางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับทวีปแอนตาร์กติกา สำหรับวัตถุประสงค์ของระบบสนธิสัญญาฯ มีการนิยาม "แอนตาร์กติกา" ว่าหมายถึงแผ่นดินและหิ้งน้ำแข็งทั้งหมดที่อยู่ใต้ละติจูด 60°ใต้ สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในปี 2504 และปัจจุบันมีภาคี 53 ประเทศ[2] สนธิสัญญาฯ กันทวีปแอนตาร์กติกาไว้เพื่อการอนุรักษ์ทางวิทยาศาสตร์ จัดตั้งเสรีภาพการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์และห้ามกิจกรรมทางทหารบนทวีป สนธิสัญญาฯ เป็นความตกลงควบคุมอาวุธความตกลงแรกซึ่งจัดตั้งขึ้นระหว่างสงครามเย็น นับแต่เดือนกันยายน 2547 สำนักงานใหญ่เลขาธิการสนธิสัญญาแอนตาร์กติกตั้งอยู่ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[3]สนธิสัญญาหลักเปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2502[1] และมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2504[4] ผู้ลงนามดั้งเดิมเป็น 12 ประเทศซึ่งมีกิจกรรมในทวีปแอนตาร์กติการะหว่างปีธรณีฟิสิกส์สากล 2500–2501 สิบสองประเทศซึ่งมีผลประโยชน์สำคัญในทวีปแอนตาร์กติกาในเวลานั้น ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลเยียม ชิลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐ[1] ประเทศเหล่านี้ตั้งสถานีในทวีปแอนตาร์กติกากว่า 50 สถานีสำหรับปีธรณีฟิสิกส์สากล

ระบบสนธิสัญญาแอนตาร์กติก

ภาคี 53[2]
เงื่อนไข ประเทศผู้ลงนามทั้ง 12 ประเทศให้สัตยาบัน
ผู้เก็บรักษา รัฐบาลสหรัฐอเมริกา[2]
ประเภท อำนาจปกครองดินแดนร่วมกัน
ที่ลงนาม กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
วันลงนาม 1 ธันวาคม 2502[1]
ผู้ลงนาม 12[2]
ภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน
วันมีผล 23 มิถุนายน 2504

ใกล้เคียง

ระบบสุริยะ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง ระบบสกาดา ระบบสารสนเทศ ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ ระบบส่งข้อความทันที ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ ระบบสองสภา