รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว: ລັດຖະທຳມະນູນ ແຫ່ງ ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ) เป็นกฎหมายพื้นฐานของประเทศลาวที่กำหนดรายละเอียดของระบอบการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองลาว การจัดตั้งรัฐบาลและการบริหารราชการแผ่นดินหลังจากยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรลาวเมื่อ พ.ศ. 2518 รัฐบาลใหม่ของลาวได้ปกครองประเทศโดยไม่มีรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ใช้คำสั่ง มติต่างของรัฐเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง จนกระทั่ง พ.ศ. 2531 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งเป็นพรรคที่ปกครองประเทศได้มีนโยบายปฏิรูประบบการเมืองใหม่โดยกำหนดให้มีรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมาย สภาประชาชนสูงสุดซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติในขณะนั้น จึงได้ร่างกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งจำนวนหนึ่ง อีก 3 ปี ต่อมาจึงได้ร่างรัฐธรรมนูญของประเทศลาว และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันหยุดในประเทศลาวด้วยรัฐธรรมนูญของประเทศลาวฉบับ พ.ศ. 2534 ประกอบด้วย 10 หมวดและ 80 มาตรา ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 3 ของสภาแห่งชาติขุดที่ 5 จึงได้มีการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มหมวดและมาตราเข้าไป กลายเป็น 11 หมวดและ 98 มาตราในปัจจุบัน โดยมีการรับรองตามมติของประธานสภาแห่งชาติในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และประกาศใช้โดยประธานประเทศตามรัฐดำรัสเลขที่ 032/สปป ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2546

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญเมจิ