รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549
รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549

รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการเมืองไทย พ.ศ. 2548-2553
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เกิดในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร นับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจัดในเดือนเมษายนถูกสั่งให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมานับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคนพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต[1]หลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด[2]รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และว่า รัฐประหาร "ไม่มีเหตุผลยอมรับได้"[3]การรัฐประหารในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากการที่คณะรัฐประหารได้เข้าเฝ้าในคืน วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย ประธานองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายทอดสดออกโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ภายหลังทรงพระราชกระแสรับสั่งกับ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ว่าวันหลังอย่าทำอีก [4] โดยมีผู้นำลงยูทูบ ในปี พ.ศ. 2551

รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549

วันที่สถานที่ผลลัพธ์
วันที่อังคาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549
สถานที่ ราชอาณาจักรไทย
ผลลัพธ์
สถานที่ ราชอาณาจักรไทย
ผลลัพธ์
วันที่ อังคาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2549 http://english.people.com.cn/200609/20/eng20060920... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/revolut... http://www.bangkokbiznews.com/2006/special/whiteco... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601080&si... http://www.channelnewsasia.com/stories/afp_asiapac... http://www.cnn.com/2006/WORLD/asiapcf/09/23/thaila... http://www.cnn.com/interactive/world/0609/gallery.... http://www.cnn.com/video/player/player.html?url=/v... http://www.feer.com/articles1/2006/0609/free/p023....