ราชวงศ์ฉิน
ราชวงศ์ฉิน

ราชวงศ์ฉิน

Chinese historiography
Timeline of Chinese history
Dynasties in Chinese history
Linguistic history
Art history
Economic history
Education history
Science and technology history
Legal history
Media history
Military history
Naval historyราชวงศ์ฉิน (จีน: 秦朝; พินอิน: Qíncháo; เวด-ไจลส์: Chʻin²-chʻao²) หรือ ราชวงศ์จิ๋น เป็นราชวงศ์แรกของจักรวรรดิจีน[2] ปกครองแผ่นดินในช่วง 221 – 206 ก่อน ค.ศ. ชื่อมากจากรัฐฉิน (ปัจจุบันคือมณฑลกานซู่และมณฑลส่านซีของจีน) ราชวงศ์ฉินก่อตั้งโดยจักรพรรดิฉินฉื่อ (จิ๋นซีฮ่องเต้) จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ จากการปฏิรูปกฎหมายของชาง ยาง ช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. ในยุครณรัฐ ส่งผลให้รัฐฉินแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในช่วงกลางและปลายศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ. รัฐฉินได้ดำเนินการพิชิตอย่างรวดเร็ว อันดับแรกได้ยุติอำนาจของราชวงศ์โจว และพิชิต 6 รัฐในเจ็ดรณรัฐ ช่วงระยะเวลา 15 ปีถือเป็นเวลาที่สั้นมากสำหรับราชวงศ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์จีนมีจักรพรรดิเพียง 2 พระองค์ แต่ได้สร้างระบบจักรวรรดิของจีนที่เริ่มตั้งแต่ 221 ก่อน ค.ศ. จนถึง 206 ก่อน ค.ศ. ราชวงศ์ฉินพยายามสร้างรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยการรวมศูนย์อำนาจการเมืองและกองทัพขนาดใหญ่สนับสนุนโดยเศรษฐกิจที่มั่นคง[3] ราชสำนักได้ปลดชนชั้นสูงและเจ้าของที่ดินเพื่อควบคุมการบริหารชาวบ้านได้โดยตรงผู้ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่และเป็นกำลังแรงงาน โครงการที่มีความทะเยอทะยานนี้เกี่ยวข้องกับชาวบ้านและนักโทษสามแสนคน เช่นการเชื่อมต่อกำแพงชายแดนทางด้านเหนือในตอนท้ายได้กลายเป็นกำแพงเมืองจีน การสร้างระบบถนนใหม่ ตลอดไปจนการสร้างสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ที่รายล้อมไปด้วยกองทัพดินเผาขนาดเท่าคนจริง[4]ราชวงศ์ฉินได้นำสู่การปฎิรูป เช่น มาตราฐานของเงินตรา การชั่งตวง วัดขนาด และระบบมาตราฐานการเขียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการรวมชาติและส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ด้านการทหารได้ใช้อาวุธ การขนส่ง และยุทธวิธีที่ทันสมัยที่สุดแม้ว่าราชสำนักมีระบบที่เข้มงวด ชาวฮั่นที่นับถือลัทธิขงจื๊อกล่าวถึงการยึดถือกฎระเบียบของราชวงศ์ฉินไว้ว่าเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จโดยอ้างเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันคือการเผาตำรา ฝังบัณฑิต ทว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะโต้แย้งความจริงของเรื่องราวนี้ขณะที่จิ๋นซีฮ่องเต้สิ้นพระชนม์ไปเมื่อ 210 ปีก่อน ค.ศ. ขุนนางสองคนของพระองค์ได้กำหนดรัชทายาทใหม่ในความพยายามที่จะมีอิทธิพลและควบคุมการปกครองของราชวงศ์ ต่อมาขุนนางทั้งสองกลับผิดใจกันจนทำให้จักรพรรดิฉินที่ 2 สวรรคต การก่อจลาจลได้เกิดไปทั่วและจักรวรรดิอ่อนแอลงในไม่ช้าก็พ่ายต่อเซี่ยง อวี่ ขุนพลรัฐฉู่ซึ่งสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งฉู่ตะวันตก (ซีฉู่ป้าหวางหรือที่รู้จักในชื่อฌ้อปาอ๋อง) และหลิว ปัง ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่นในภายหลัง แม้จะมีการปกครองในระยะสั้น แต่ราชวงศ์มีอิทธิพลอย่างมากต่อนาคตของจีนโดยเฉพาะราชวงศ์ฮั่น และชื่อของจักรวรรดิเป็นจุดกำเนิดชื่อในยุโรปว่า China

แหล่งที่มา

WikiPedia: ราชวงศ์ฉิน //doi.org/10.2307%2F1170959 //www.jstor.org/stable/1170959 https://books.google.com/?id=5PL9hSUiVEoC&printsec... https://books.google.com/?id=AD5Lx-kJsMEC&printsec... https://books.google.com/?id=Wbd-Eonn70cC&printsec... https://books.google.com/?id=cKh2KL5LqEsC&printsec... https://books.google.com/?id=gFEK1pLNqqMC&printsec... https://books.google.com/?id=xdVkzs6iI1YC&printsec... https://archive.org/details/chinaitshistory000mort https://archive.org/details/chronicleofchine00palu...