ราชวงศ์หมิง
ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง

Chinese historiography
Timeline of Chinese history
Dynasties in Chinese history
Linguistic history
Art history
Economic history
Education history
Science and technology history
Legal history
Media history
Military history
Naval historyราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644 ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น[2]ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น[3] พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนัก[4] เหล่าพ่อค้าที่คดโกงทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปโดยใช้ระบบศักดินาโดยโอนมอบสิทธิครอบครองที่ดินให้แก่พระโอรสของพระองค์ทั่วประเทศจีนและพยายามแนะนำให้พระโอรสใช้หลักกระแสรับสั่งที่เผยแพร่โดยราชสำนักหมิงชื่อว่า หวงหมิงซูซุ่น หลักการนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อพระราชนัดดาของพระองค์ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ซึ่งขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 ทรงคิดรวบอำนาจและพยายามที่จะกำจัดอำนาจของพระปิตุลาของพระองค์เอง ก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือการทัพที่จิงหนานขึ้น หลังจากการทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเอี้ยนอ๋องจูตี้ได้สืบราชสมบัติต่อเป็นฮ่องเต้ ในปี ค.ศ. 1402 พระนามว่า จักรพรรดิหย่งเล่อจักรพรรดิหย่งเล่อได้สถาปนาเมืองเอี้ยนเป็นราชธานีแห่งที่ 2 และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่เป็น เป่ย์จิง หรือ ปักกิ่ง สร้างพระราชวังต้องห้าม (หรือพระราชวังกู้กง) ซึ่งเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในขณะนั้น รื้อฟื้นระบบคูคลองเมืองและเริ่มระบบการสอบคัดเลือกเข้าราขการหรือจอหงวน ในตำแหน่งราชการที่สำคัญ ๆ พระองค์ได้ให้รางวัลแก่เหล่าขันทีที่ได้สนับสนุนและว่าจ้างให้พวกเขาทำหน้าที่ถ่วงดุลคานอำนาจกับเหล่าราชบัณฑิตนักปราชญ์ขงจื๊อ หนึ่งในขันทีที่โด่งดังคือ เจิ้งเหอ ได้นำกองเรือจีนไปประกาศศักดาทั่วสารทิศ การขึ้นสู่อำนาจของจักรพรรดิองค์ใหม่และปัจจัยใหม่ ๆ ได้ลดความฟุ่มเฟือยลง การจับกุมจักรพรรดิเจิ้งถงในปี ค.ศ. 1449 ในวิกฤตตูมูสิ้นสุดบทบาทของพระองค์ ในที่สุดกองทัพเรือของราชวงศ์หมิงได้เกิดความเสื่อมถอยลงเนื่องจากเผชิญสงครามหลายครั้งในขณะที่การใช้การเกณฑ์แรงงานก่อสร้างแนวป้อมปราการเหลียวตงเชื่อมต่อกับป้อมปราการของกำแพงเมืองจีนนำไปสู่รูปแบบลักษณะที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบันจำนวนสำมะโนประชากรในจักรวรรดิต้าหมิงได้เกิดการขยายตัวอย่างกว้างขว้างและได้รับการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องโดยราชสำนัก 10 ปีครั้ง แต่ความหวังที่จะหลีกเลี่ยงการเกณฑ์แรงงาน การเก็บภาษีและการต้องเผชิญอุปสรรคของการเก็บรวบรวมและชำระเอกสารราชการจำนวนมากที่หนานจิงได้เป็นอุปสรรคต่อการประเมินตัวเลขที่ถูกต้องมีการประเมินโดยคร่าวๆของจำนวนประชากรสมัยราชวงศ์หมิงตอนปลายมีจำนวน 160 ถึง 200 ล้านคน[5] ในยุคนี้กฎหมายไห่จิ้นได้ถูกตราขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองอาณาเขตของจักรวรรดิต้าหมิงตามชายฝั่งทะเลจากพวก โจรสลัดญี่ปุ่น ที่ซึ่งได้ลักลอบปล้นสะดมหัวเมืองท่าของหมิงหลายครั้ง จนราชสำนักต้องส่ง ชี จี้กวัง แม่ทัพแห่งราชวงศ์หมิงไปปราบ ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษจากการปราบโจรสลัดญี่ปุ่น ในศตวรษที่ 16 อย่างไรก็ตามการขยายตัวของชาวตะวันตกได้ถูกจำกัดให้ทำการค้าได้เฉพาะบริเวณใกล้เมืองท่ากวางโจวและมาเก๊า การค้าได้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวจีนกับชาวตะวันตก "การแลกเปลี่ยนโคลัมเบียน" (Columbian Exchange) หรือ การเคลื่อนย้ายพืชและสัตว์ระหว่างซีกโลกตะวันตกออกและตะวันตกโดยพ่อค้าชาวยุโรป ได้มีการนำเอาธัญพืช พืชผักและสัตว์จากยุโรปตะวันตกมาสู่ประเทศจีน พริกได้เข้ามาสู่อาหารเสฉวน ข้าวโพด และมันสัมปะหลัง ทำให้ช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนอาหารและเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อให้จำนวนประชากรของหมิงเพิ่มขึ้นจากการค้าขายกับตะวันตก การเติบโตของการค้ากับโปรตุเกส สเปนและฮอลันดา ได้สร้างอุปสงค์ใหม่แก่ผลผลิตของจีน นอกจากการค้ากับชาวยุโรปแล้วในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่ ฮ่องเต้องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์หมิง ได้มีไดเมียวแห่งญี่ปุ่นนามว่า โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิได้ก่อการกำเริบเสิบสานตั้งตนเป็นใหญ่คิดรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (เกาหลี) ซึ่งเป็นประเทศราชของราชวงศ์หมิง นำไปสู่เหตุการณ์การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1592 ทำให้จักรพรรดิว่านลี่มีพระราชโองการส่งกองทัพปราบญี่ปุ่นและเข้าช่วยเกาหลี จนในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นของฮิเดะโยะชิต้องพ่ายแพ้และถอยทัพกลับในที่สุดในปลายราชวงศ์หมิงได้เริ่มประสบปัญหาภายในหลายอย่าง จาง จวีเจิ้ง มหาอำมาตย์แห่งราชสำนักหมิงได้ริเริ่มการปฏิรูปขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่มิทันได้เริ่มประสบผลกลับล้มเหลวและถูกขัดขวาง เมื่อได้เกิดการชะลอตัวในด้านเกษตรกรรมซึ่งมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติสอดคล้องกับยุคน้ำแข็งน้อยประจบกับการจัดเก็บภาษีเริ่มมีปัญหาทำให้ปลายยุคราชวงศ์หมิงได้เกิดปัญหาการเพาะปลูกล้มเหลว อุทกภัยและโรคระบาดเริ่มตามมา ราชวงศ์หมิงได้ล่มสลายลงเมื่อเกิดกลุ่มกบฎชาวนานำโดยหลี่ จื้อเฉิง ได้นำกองทัพบุกเข้ากรุงปักกิ่ง และต่อมา อู๋ซานกุ้ย แม่ทัพหมิงผู้ทรยศได้เปิดด่านซันไฮ่กวานให้กองทัพแมนจูที่กำลังรุกรานเมืองจีนอยู่นั้นเข้ากรุงปักกิ่งได้สำเร็จและตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น ส่วนกลุ่มขุนนางและทหารที่ยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงได้รวมตัวกันหนีไปตั้งราชวงศ์หมิงใต้ (บริเวณตอนใต้ของประเทศจีน) ดำรงอยู่ถึง ค.ศ. 1683 จนถูกราชวงศ์ชิงโค่นล้ม ราชวงศ์หมิงถึงกาลอวสานอย่างสมบูรณ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ราชวงศ์หมิง http://english.people.com.cn/english/200012/28/eng... http://jwsr.ucr.edu/archive/vol12/number2/pdf/jwsr... //www.worldcat.org/issn/1076-156X http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsI... https://books.google.com/books?id=8ePxMW066j8C&pg=... https://books.google.com/books?id=cwq4CwAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=hUEswLE4SWUC&pg=... https://web.archive.org/web/20070222011511/http://... https://www.jstor.org/stable/4527509