ราชาธิปไตย
ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย (อังกฤษ: monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองที่ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐโดยปกติถืออยู่กระทั่งสวรรคตหรือสละราชสมบัติ โดยมากมักได้อำนาจมาโดยการสืบราชสมบัติ และโดยปกติมักให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์แห่งราชวงศ์ที่ปกครองอยู่ก่อนอย่างเป็นทางการ พระมหาษัตริย์มักมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระราชาหรือพระราชินี อย่างไรก็ดี จักรพรรดิ/จักรพรรดินี, แกรนด์ดยุก/แกรนด์ดัชเชส, เจ้าชาย/เจ้าหญิง และคำอื่น ถูกใช้เพื่อระบุตำแหน่งพระมหากษัตริย์ด้วย แม้คำว่า "monarch" จะมาจากคำว่า "ผู้ปกครองคนเดียว" แต่โดยประเพณี ประมุขแห่งรัฐที่มีตำแหน่งประธานาธิบดีหรือผู้นำ (premier) ไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นพระมหากษัตริย์อย่างเป็นทางการลักษณะที่ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแตกต่างจากระบอบสาธารณรัฐคือ พระมหากษัตริย์ทรงครองแผ่นดินเป็นประมุขตลอดพระชนม์ชีพ และสืบราชสันตติวงศ์ให้กับรัชทายาทเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตหรือทรงสละราชสมบัติ แม้จะมีบ้างที่มีการเลือกตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ส่วนในสาธารณรัฐ ประมุขของรัฐ (ซึ่งมักเรียกว่าประธานาธิบดี) โดยปกติแล้วมีที่มาจากการเลือกตั้ง และทำหน้าที่อยู่ในช่วงในเวลาที่แน่นอน เช่น 4 ปี 6 ปี เป็นต้นราชาธิปไตยเป็นหนึ่งในระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด อาจถือกำเนิดขึ้นจากระบบการปกครองแบบหัวหน้าเผ่า (tribal kingship) หรือสมณเพศหลวง (royal priesthood) ในอดีต บางประเทศเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้เทวสิทธิ์ให้มาปกครองประเทศตามความปรารถนาของพระเจ้า หรือบางประเทศอาจเชื่อว่าพระมหากษัตริย์มาจากพระเจ้า ตำแหน่งพระมหากษัตริย์นี้มักจะสืบตกทอดแก่ลูกหลาน จึงส่งผลให้เกิดราชวงศ์ขึ้น พระมหากษัตริย์ยังอาจมาจากพฤติการณ์รุนแรงของกลุ่มรุกรานต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแย่งชิงสิทธิของชุมชนเหนือประเพณี ผู้นำของกลุ่มที่แย่งชิงสิทธินั้นมักสถาปนาตนเป็นพระมหากษัตริย์ สถานะพระมหากษัตริย์กล่าวกันว่าเป็นผลซึ่งเผยถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากร ชุมชน พระมหากษัตริย์และตำแหน่งของพระองค์ ราชาธิปไตยเคยเป็นระบอบการปกครองที่แพร่หลายที่สุดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัจจุบันมิได้แพร่หลายอีกต่อไป อย่างน้อยก็ในระดับชาติ ประเทศซึ่งยังปกครองแบบราชาธิปไตยอยู่ ปัจจุบันมักพบในรูปของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงถือบทบาททางกฎหมายและพิธีกรรมเป็นเอกลักษณ์ แต่ไม่ทรงใช้หรือใช้อำนาจทางการเมืองอย่างจำกัดตามรัฐธรรมนูญหรือประเพณีซึ่งจัดสรรรฝ่ายปกครองที่อื่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจ แต่อำนาจอธิปไตยอยู่ที่ประชาชน (ปรมิตตาญาสิทธิราชย์) พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ถูกสถาปนาขึ้นตามจารีตประเพณีหรือตามประมวลกฎหมายเพื่อไม่ให้มีอำนาจทางการเมืองอย่างแท้จริง บางประเทศ พระมหากษัตริย์อาจทรงมีอำนาจอยู่บ้าง แต่ก็ถูกจำกัดไว้ด้วยความเห็นชอบของประชาชนหรือบรรทัดฐานของพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ปัจจุบันมี 44 รัฐอธิปไตยในโลกที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ โดย 16 รัฐเป็นเครือจักรภพแห่งชาติ ซึ่งยอมรับว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐของตน ประเทศราชาธิปไตยทุกประเทศในยุโรปเป็นแบบภายใต้รัฐธรรมนูญ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน แต่พระมหากษัตริย์ในรัฐเล็ก ๆ มักมีอิทธิพลทางการเมืองมากกว่าในรัฐใหญ่ ๆ พระมหาษัตริย์กัมพูชา ญี่ปุ่น จอร์แดน มาเลเซียและโมร็อกโก "ครองราชย์ แต่ไม่ปกครอง" แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในอำนาจที่พระมหากษัตริย์ในประเทศเหล่านี้ทรงถือ แม้พระมหากษัตริย์จะทรงปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระมหากษัตริย์บรูไน โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบียและสวาซิแลนด์ดูเหมือนว่าจะทรงมีอิทธิพลทางการเมืองเหนือแหล่งแห่งอำนาจหน้าที่แหล่งหนึ่งแหล่งใดในชาตินั้นต่อไป ไม่ว่าจะโดยอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือโดยประเพณี

ใกล้เคียง

ราชาธิปไตย ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง ราชาธิปไตยของไอร์แลนด์ ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม ราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์ ราชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ราชาธิปไตยของสหราชอาณาจักร ราชาธิปไตยแบบระบบฟิวดัล