ห ของ รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

คำที่เขียนถูกมักเขียนผิดเป็นหมายเหตุ
หกคะเมนหกคเมน, หกคะเมร
หงส์หงษ์
หน็อยแน่หนอยแน่
หนาแน่นแน่นหนา- "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.
- "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
หน้าปัดนาฬิกาหน้าปัทม์นาฬิกา
หม้อห้อม, ม่อห้อม, ม่อฮ่อมหม้อฮ่อม
หมาในหมาไน
หมามุ่ย, หมามุ้ยหมาหมุ้ย
หมูหย็องหมูหยองของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย, รวมถึงที่ทำจากวัตถุดิบอื่นด้วย เช่น ไก่หย็อง ฯลฯ (ใส่ไม้ไต่คู้เพราะออกเสียงสั้น)
หยากไย่, หยักไย่หยากใย่, หยักใย่
หย่าร้างอย่าร้าง
หยิบหย่งหยิบย่ง, หยิบโย่ง
ห่วงใยห่วงไยคำที่ใช้ไม้ม้วน
หัวมังกุท้ายมังกรหัวมงกุฎท้ายมังกร(สำนวน) ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน (มังกุคือเรือที่มีกระดูกงูใหญ่)
หัวหน่าวหัวเหน่า
หิรัญบัฏหิรัญบัตรหิรัญบัตร พบบ้างในหนังสือเก่า
หื่นหึ่นออกเสียงยาว
เหม็นสาบเหม็นสาป
เหล็กในเหล็กไนให้จำว่า เหล็กอยู่ข้างใน
เหลือบ่ากว่าแรงเหนือบ่ากว่าแรง(สำนวน) เกินความสามารถ
เหินเหิร
แหลกลาญแหลกราญ, แหลกราน
โหยหวนโหยหวล
โหระพาโหรพา, โหระภา
ใหลตายไหลตายใหล หมายถึงหลับใหล (ดู ราชบัณฑิตยสถาน)
ไหมมั๊ย, ไม๊อักษรต่ำเติมไม้ตรีไม่ได้ อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด แผลงมาจาก "หรือไม่"
ไหหลำใหหลำทับศัพท์จากภาษาจีน

ใกล้เคียง

รายการรหัสไปรษณีย์ไทย รายการเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รายการธงประจำจังหวัดของไทย รายการสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ รายการธงในประเทศไทย รายการอุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย รายการธงในสหราชอาณาจักร รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 3 รายการหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน รายการประกวดความงาม