ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์
ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (อังกฤษ: Stop Online Piracy Act, เรียกโดยย่อว่า "SOPA"), หรือรหัสว่า เอช.อาร์. 3261 (H.R. 3261), เป็นร่างรัฐบัญญัติที่ลามาร์ สมิธ (Lamar Smith) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554 พร้อมเพื่อนสมาชิกสิบสองคนจากพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสอง มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความสามารถของฝ่ายบังคับใช้กฎหมายและของผู้ถือลิขสิทธิ์ในอันที่จะต่อต้านการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและสินค้าปลอมในโลกออนไลน์[2] รัฐบัญญัตินี้ใช้รัฐบัญญัติส่งเสริมไอพี (PRO-IP Act) ที่ตราขึ้นเมื่อปี 2551 และร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี (Protect IP Act) ที่วุฒิสภาแห่งสรัฐอเมริกาเสนอ เป็นแม่แบบ และบัดนี้ อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้านการยุติธรรมแห่งสภาผู้แทนราษฎร (House Judiciary Committee)[3]ร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวจักให้อำนาจกระทรวงยุติธรรม (Department of Justice) และผู้ถือลิขสิทธิ์ ร้องขอให้ศาลสั่งปราบปรามบรรดาเว็บไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าจัดให้มีหรือส่งเสริมการละเมิดลิขสิทธิ์, สั่งห้ามบรรดาเครือข่ายโฆษณาออนไลน์หรือเครือข่ายช่วยรับชำระหนี้ออนไลน์ เป็นต้นว่า เพย์แพล (PayPal) คบค้าหากินกับเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์, สั่งห้ามโปรแกรมค้นหา (search engine) เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์เหล่านั้น และสั่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้สะกัดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์เช่นว่า ร่างรัฐบัญญัตินี้ยังกำหนดให้การเข้าถึงโดยมิได้รับอนุญาตซึ่งข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดอาญาอุกฉกรรจ์ ทั้งยังให้ถือว่า การใด ๆ ที่บรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตกระทำไปเพื่อต่อต้านเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เป็นความผิดและไม่อยู่ในความรับผิดทุกประการ แต่ให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ที่เจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า เว็บไซต์ใดมีส่วนละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับผิดทางแพ่งต่อเว็บไซต์นั้น[4]ผู้สนับสนุนรัฐบัญญัตินี้ว่า รัฐบัญญัติจักเป็นเครื่องช่วยพิทักษ์รักษาตลาดทรัพย์สินทางปัญญา อันรวมถึงการงานและรัษฎากรที่งอกเงยจากตลาดดังกล่าว ทั้งยังว่า เป็นคราวจำเป็นจะต้องเพิ่มศักยภาพให้แก่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อต่อต้านเว็บไซต์ต่างชาติเป็นการเฉพาะ[5] ขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วยว่า รัฐบัญญัตินี้มีนัยเป็นการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ต (internet censorship)[6] อันจะส่งผลให้โลกอินเทอร์เน็ตง่อยเปลี้ย[7] และคุกคามเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย[8]คณะกรรมาธิการด้านการยุติธรรมฯ จัดประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554[9] และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่า ประธานกรรมาธิการคณะดังกล่าวมีกำหนดจะแปรญัตติร่างพระราชบัญญัตินี้ในวันที่ 15 ธันวาคม และว่า ยังอภิปราย และ "เปิดให้มีการปรับปรุง" ร่างรัฐบัญญัติกันได้อยู่[10]

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์

ชื่อย่อ SOPA
ชื่อเต็ม "ร่างรัฐบัญญัติเพื่อส่งเสริมความผาสุกสิริสวัสดิ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ วิสาหกิจ และนวัตกรรม โดยกำราบการลักทรัพย์สินแห่งสหรัฐอเมริกา และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นบรรดามี — เอช.อาร์. 3261" ("An Act to promote prosperity, creativity, entrepreneurship, and innovation by combating the theft of U.S. property, and for other purposes. — H.R. 3261")[1]

ใกล้เคียง

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย ร่างรัฐบัญญัติชนโลกบาล ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนญี่ปุ่น ร่างกายมนุษย์ ร่างทรง (ภาพยนตร์) ร่างแหเอนโดพลาซึม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ http://www.pcmag.com/article2/0,2817,2395653,00.as... http://www.pcmag.com/article2/0,2817,2396518,00.as... http://www.pcworld.com/businesscenter/article/2440... http://www.washingtonpost.com/blogs/post-tech/post... http://www.washingtonpost.com/blogs/post-tech/post... http://www.washingtonpost.com/business/sopa-stop-o... http://www.brookings.edu/papers/2011/1115_cybersec... http://judiciary.house.gov/hearings/hear_11162011.... http://judiciary.house.gov/hearings/pdf/112%20HR%2... http://judiciary.house.gov/issues/issues_RogueWebs...