ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้_พ.ศ._2562–2563
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้_พ.ศ._2562–2563

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้_พ.ศ._2562–2563

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2562–63 เป็นช่วงฤดูที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนันจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกันRSMC นันจี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลขและตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศที่ก่อตัวขึ้นภายในหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี สำนักอุตุนิยมวิทยา และ เมทเซอร์วิส จะใช้มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียเป็นหลักและวัดความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะวัดความเร็วลมใน 1 นาที และใข้มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) มาเทียบเคียง

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้_พ.ศ._2562–2563

พายุไซโคลนกำลังแรง 4 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน 8 ลูก
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 924 hPa (มิลลิบาร์)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 34 คน
• ลมแรงสูงสุด 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความแปรปรวนทั้งหมด 12 ลูก
ชื่อ แฮรอลด์
ความเสียหายทั้งหมด > 131.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 8 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ระบบสุดท้ายสลายตัว 10 เมษายน พ.ศ. 2563

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545