ศัพทมูลวิทยา ของ ละหมาด

คำว่า "ละหมาด" หรือ "นมาซ" เป็นคำยืมมาจากภาษาเปอร์เซียมาจากคำว่า "นมาซ" (เปอร์เซีย: نَماز‎ namāz)

ภาษาอาหรับเรียกว่า "ศอลาต" (อาหรับ: صلاة‎ ṣalāh หรือ gen: ṣalāt; พหูพจน์ صلوات ṣalawāt) มาจากรากศัพท์ที่ประกอบด้วย ศอด (ص) , ลาม (ل) , และวาว (و) ความหมายของรากศัพท์นี้ในภาษาอาหรับคลาสสิกคือ สวดมนต์ อ้อนวอน บูชา ร้องทุกข์ กล่าวสุนทรพจน์ ขอพร ตามไปอย่างใกล้ชิด หรือ ติดต่อ ความหมายที่เป็นรากฐานของคำนี้เกี่ยวข้องกับความหมายที่ใช้ในอัลกุรอานทั้งหมด

ส่วนภาษามลายูว่า "เซิมบะห์ยัง" (มลายู: Sembahyang) ที่เป็นคำที่ประกอบจากคำว่า 'เซิมบะห์' (sembah บูชา) และ 'ฮยัง' (hyang พระเจ้า) ซึ่งเพี้ยนเป็นภาษามลายูปัตตานีว่า "ซือมาแย" หรือ "สมาแย"[2] และสำเนียงสงขลาว่า "มาหยัง"[4]