ลัทธิขงจื๊อใหม่

ลัทธิขงจื๊อใหม่ (อักษรจีน: 宋明理学 (ซ่งหมิงหลี่เสวฺ) ย่อให้สั้นๆ เป็น 理学 (หลี่เสวฺ)) เป็นหลักศีลธรรม จริยธรรม และ อภิปรัชญาในปรัชญาจีน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื๊อ และมีต้นกำเนิดโดยหานอวี้ และ หลี่อ้าว (772–841) ในสมัยราชวงศ์ซ่ง และมีความโดดเด่นในช่วงราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิงลัทธิขงจื่อใหม่เป็นความพยายามที่จะสร้างลัทธิขงจื๊อที่มีเหตุผลและมีรูปแบบทางโลกมากขึ้น โดยการปฏิเสธเรื่องไสยศาสตร์และเรื่องลึกลับซึ่งเป็นองค์ประกอบของลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อลัทธิขงจื๊อในระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่นและยุคหลังราชวงศ์ฮั่น [1] ถึงแม้ลัทธิขงจื๊อใหม่จะวิจารณ์ลัทธิเต๋าและพุทธศาสนาก็ตาม แต่แนวคิดทั้งสองสายนี้กลับมีอิทธิพลต่อปรัชญา ซึ่งลัทธิขงจื๊อใหม่ก็ได้ยืมคำศัพท์และแนวคิดบางอย่างจากพุทธและเต๋ามาใช้อธิบายแนวคิดทางอภิปรัชญา อย่างไรก็ตามลัทธิขงจื๊อใหม่ก็แตกต่างจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋าที่อธิบาย อภิปรัชญาซึ่งเป็นแรงกระตุ้นสำหรับการพัฒนาจิตวิญญาณ การสว่างวาบทางปัญญาของศาสนา และความเป็นอมตะ นักปรัชญาขงจื่อใหม่ใช้อภิปรัชญาเป็นแนวทางในการพัฒนาปรัชญาเชิงจริยธรรมอย่างมีเหตุผล [2][3]

ลัทธิขงจื๊อใหม่

ความหมายตามตัวอักษร "Song-Ming [dynasty] rational idealism"
- Gwoyeu Romatzyh Sonq-Ming liishyue
- พินอิน Sòng-Míng lǐxué
การถอดถ่ายตัวอักษรจีนกลาง- พินอิน- เวยถัวหม่า- Gwoyeu Romatzyhกวางตุ้ง- ยวึดปิง- Yale Romanization
การถอดถ่ายตัวอักษร
จีนกลาง
- พินอินSòng-Míng lǐxué
- เวยถัวหม่าSung4-Ming2 li3-hsüeh2
- Gwoyeu RomatzyhSonq-Ming liishyue
กวางตุ้ง
- ยวึดปิงSung3-Ming4 lei5-hok6
- Yale RomanizationSung-Mìhng léih-hohk
- เวยถัวหม่า Sung4-Ming2 li3-hsüeh2
จีนตัวเต็ม 宋明理學
- Yale Romanization Sung-Mìhng léih-hohk
จีนตัวย่อ 宋明理学
- ยวึดปิง Sung3-Ming4 lei5-hok6