วิวัฒนาการของสังคมแนวลัทธิมาคส์ ของ ลัทธิมากซ์

การที่มาคส์มองว่าในสังคมทุนนิยมนั้นแรงงานจึงเป็นผู้ถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินวิธีแห่งการผลิตอันนำไปสู่การสร้างความกดดันให้กับโครงสร้างทางสังคม และนำไปสู่การปฏิวัติสังคมในที่สุดนั้น มาคส์ไม่ได้อธิบายไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนนี้เองเงิลส์จึงอธิบายความคิดเครื่องวิวัฒนาการของสังคมในความคิดของมาคส์ว่า สังคมของมาคส์มีวิวัฒนาการด้วยกัน 6 ขั้น คือ[4]

  • สังคมคอมมิวนิสต์โบราณ (primitive communism) เป็นสังคมโบราณของมนุษย์ที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
  • สังคมทาส (slave society) เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการที่มนุษย์เริ่มร่วมกันสร้างสังคมในลักษณะของเมือง
  • สังคมศักดินา (feudalism) เป็นวิวัฒนาการขั้นที่สามซึ่งมนุษย์เริ่มจัดการให้เกิดการปกครองที่เป็นระบบขึ้นโดยผู้ปกครองมักเป็นอภิสิทธิ์ชน (aristocracy) ในอีกด้านหนึ่งก็เกิดลักษณะทุนนิยมขึ้นบ้าง
  • สังคมทุนนิยม (capitalism) เป็นวิวัฒนการของสังคมที่ผู้ปกครองคือพวกผู้สะสมทุน (capitalists) ที่เป็นนายจ้างและเจ้าของกิจการ ที่มักเป็นชนชั้นกลาง (bourgeois)
  • สังคมสังคมนิยม (socialism) เป็นวิวัฒนาการที่เกิดจากการปฏิวัติทางสังคมของชนชั้นกรรมาชีพผู้ที่ถูกขูดรีด (proletariat) ให้กลายมาเป็นผู้ปกครองแบบ "เผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพ" (diktatur des proletariats) และมีการพิจารณาวิธีแห่งการผลิตใหม่เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วิวัฒนาการขั้นสุดท้าย
  • สังคมคอมมิวนิสม์ (communism) เป็นวิวัฒนาการทางสังคมสูงสุดของมนุษย์ ที่สังคมสามารถกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น มนุษย์ทุกคนสามารถใช้ชีวิตตามใจปรารถนาโดยมีมีเพียงความรับผิดชอบต่อตนเอง และชุมชนโดยรวม