ความเชื่อ ของ ลัทธิอนุตตรธรรม

สิ่งศักดิ์สิทธิสำคัญ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์หลัก 5 องค์ผู้โปรดสามโลกตามความเชื่อของลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรมนับถือสิ่งศักดิ์หลายองค์โดยมีพระเป็นเจ้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญตามความเชื่อของลัทธิอนุตตรธรรมได้แก่

ไตรรัตน์

ไฟล์:合同 (一貫道手印).jpgวิธีประสานมือเป็นลัญจกร (合同) ในลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่า อนุตตรธรรม คือ สิ่งวิเศษสุด 3 อย่าง เรียกว่า ไตรรัตน์ ซึ่งไม่ใช่พระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา แต่หมายถึง[9][10][11]

  • จุดญาณทวาร (อักษรจีน: 玄關竅) คือตำแหน่งเหนือดั้งจมูก ตรงกลางระหว่างคิ้ว โดยเชื่อว่าจุดนี้เป็นที่สถิตของวิญญาณ วิญญาณเข้ามาในร่างกายทางจุดนี้ และเมื่อตายก็จะออกจากร่างกายทางจุดนี้เช่นกัน ถือเป็นประตูสู่นิพพาน เมื่อเตี่ยนฉวนซือเปิดจุดนี้ในพิธีรับธรรมแล้วจะทำให้ผู้นั้นบรรลุธรรมได้ง่าย
  • สัจจคาถา (อักษรจีน: 口訣) มี 5 คำ คือ "อู๋ ไท่ ฝอ หมี เล่อ" (อักษรจีน: 無太佛彌勒) ถือเป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นความลับของสวรรค์ ห้ามจดบันทึก ห้ามนำไปบอกต่อ เมื่อเผชิญภัยอันตรายท่องคาถานี้แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะช่วยให้พ้นอันตรายและวิบากกรรมต่าง ๆ ได้
  • ลัญจกร (อักษรจีน: 合同) โดยเอาปลายนิ้วโป้งขวาจรดโคนนิ้วนางขวาค้างไว้ แล้วนำปลายนิ้วโป้งซ้ายมากดที่โคนนิ้วก้อยขวา จากนั้นโอบมือเข้าหากันโดยให้มือซ้ายทับขวา เป็นท่าห่อประสานมือให้มีลักษณะเหมือนรากบัว เชื่อว่าการประสานมือแบบนี้เป็นสัญลักษณ์การไหว้ยุคพระศรีอริยเมตไตรยหรือธรรมกาลยุคขาว

ไตรรัตน์ข้างต้นนี้จะเปิดเผยได้โดยผู้ที่ได้รับอาณัติสวรรค์จากพระแม่องค์ธรรมเท่านั้น และจะถ่ายทอดให้เฉพาะบุคคลที่รับอนุตตรธรรมในพิธีถ่ายทอดเบิกธรรม (อักษรจีน: 辦道禮節 ปั้นเต้าหลี่เจี๋ย) ซึ่งจะดำเนินพิธีเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้คนนอกรับรู้ ผู้ที่รู้แล้วจะห้ามนำไปเปิดเผยต่อ เพราะเชื่อว่าจะถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ

พงศาธรรม

พระธรรมาจารย์ในพงศาธรรมของลัทธิอนุตตรธรรม มีด้วยกันทั้งหมด 64 รุ่น ซึ่งสอดคล้องกับอัฏฐลักษณ์ (ปากั้ว) ที่พระเจ้าฝูซีได้ทำกำหนดไว้ และพระเจ้าโจวเหวินได้ค้นพบ[12]

ผู้นับถืออนุตรธรรมเชื่อว่าวิถีอนุตตรธรรมสืบสายชีพจรธรรมมาจากสามศาสนาหลัก คือศาสนาพุทธ ศาสนาขงจื๊อ และศาสนาเต๋า มีการสืบสายบรรพจารย์ตั้งแต่พระอริยเจ้าฝูซี ท่านเสินหนง พระเจ้าเหยา พระเจ้าซุ่น เล่าจื๊อ ขงจื๊อ เม่งจื๊อ ตลอดจนพระมหากัสสปะ พระโพธิธรรม ฮุ่ยเหนิง ซึ่งเป็นสังฆปรินายกของนิกายเซน[13] อย่างไรก็ตามความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้สอดคล้องกับพระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา[14]

ลัทธิอนุตตรธรรมได้แบ่งพงศาธรรมออกเป็นสามยุคตามความเชื่อที่มีมาตั้งแต่ลัทธิบัวขาว ดังนี้[15]

ธรรมกาลยุคเขียว ธรรมะถ่ายทอดสู่กษัตริย์ (พระทีปังกรพุทธเจ้าปกครองธรรมกาล)

ธรรมาจารย์ 18 รุ่น ก่อน พ.ศ. 2189 ปี กษัตริย์ 11 รุ่น เจ้าเมือง 7 รุ่น

  • 1. พระอริยเจ้าฝูซี
  • 2. พระอริยเจ้าเสินหนง
  • 3. พระอริยเจ้าเซียนเอวี๋ยน
  • 4. พระอริยเจ้าเส้าเฮ่า
  • 5. พระอริยเจ้าจวนซวี้
  • 6. พระอริยเจ้าตี้คู่
  • 7. พระอริยเจ้าเหยา
  • 8. พระอริยเจ้าซุ่น
  • 9. พระอริยเจ้าอวี่

สิ้นสุดการสืบทอดวิถีธรรมในแผ่นดินจีน ธรรมะแอบแฝงซ่อนเร้นในประเทศจีน เริ่มต้นยุคแดงในประเทศอินเดีย

ธรรมกาลยุคแดง ธรรมะถ่ายทอดสู่พระนักบวชและปัญญาชน (พระศากยมุนีพุทธเจ้าปกครองธรรมกาล)

ในอินเดีย 28 รุ่น ก่อน พ.ศ. 45 ปี ลัทธิอนุตตรธรรมนำแนวคิดนี้มาจากสายสังฆปริณายกในนิกายเซน[16] สังฆปริณายกนิกายเซนในอินเดียทั้ง 28 รุ่น มีดังนี้

  • 33. พระกาณเทพเถระ
  • 34. พระราหุลตาเถระ
  • 35. พระสังฆนันทิเถระ
  • 36. พระคยาศตะเถระ
  • 37. พระกุมารตะเถระ
  • 38. พระชยัตะเถระ
  • 39. พระวสุพันธุเถระ
  • 40. พระมโนรหิตะเถระ
  • 41. พระหกเลนเถระ
  • 42. พระอารยะสิงหะเถระ
  • 43. พระวสิอสิตะเถระ
  • 44. พระปุณยมิตรเถระ
  • 45. พระปรัชญาตารเถระ
  • 46. พระโพธิธรรมเถระ

สิ้นสุดการสืบทอดวิถีธรรมในประเทศอินเดีย การสืบทอดพงศาธรรมกลับสู่แผ่นดินจีนอีกครั้ง พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) เดินทางสู่แผ่นดินจีนเพื่อสืบทอดพงศาธรรม

ธรรมกาลยุคแดง ตะวันตกตอนสอง ธรรมะถ่ายทอดสู่พระนักบวชและปัญญาชน (พระศากยมุนีพุทธเจ้าปกครองธรรมกาล)

ธรรมะกลับสู่แผ่นดินจีน 16 รุ่น พ.ศ. 1050 พระภิกษุ 6 รุ่น ฆราวาส 10 รุ่น ลัทธิอนุตตรธรรมผสมสายสังฆปริณายกของนิกายเซนในประเทศจีนกับสายธรรมาจารย์ของลัทธิเซียนเทียนเต้า ดังนี้

  • 55. พระบรรพจารย์หวง เต๋อฮุย (ผู้ก่อตั้งลัทธิเซียนเทียนเต้า)
  • 56. พระบรรพจารย์อู๋ จื่อเสียง
  • 57. พระบรรพจารย์เหอ เหลี่ยวขู่
  • 58. พระบรรพจารย์เอวี๋ยน ทุ่ยอัน
  • 59. พระบรรพจารย์หยัง หวนซวี และฉวี หวนอู๋
  • 60. พระบรรพจารย์เหยา เฮ่อเทียน
  • 61. พระบรรพจารย์หวัง เจฺว๋อี
  • 62. พระบรรพจารย์หลิว ชิงซวี

สิ้นสุดการสืบทอดธรรมะในยุคแดง เกณฑ์วาระแห่งธรรมได้เข้าสู่ธรรมกาลยุคขาว วิถีธรรมเริ่มต้นปรกโปรดอย่างกว้างขวาง

จาง เทียนหรัน จู่ซือรุ่นสุดท้ายในลัทธิอนุตตรธรรม

ธรรมกาลยุคขาว ธรรมะถ่ายทอดสู่สามัญชนทั่วไป (พระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าปกครองธรรมกาล)ยุคขาว ตะวันออก สุดท้าย ทั่วโลก 2 รุ่น พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา เป็นการปรกโปรด 3 โลกครั้งยิ่งใหญ่63. พระบรรพจารย์ลู่ จงอี64. พระบรรพจารย์จาง เทียนหรัน และบรรพจารย์ซุน ฮุ่ยหมิง

  • พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบแปดจาง เทียนหรัน ชาวมณฑลซานตง รับช่วงธรรมจักรวาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1915 จนปี 1947
  • พระธรรมจารย์สมัยที่สิบแปดซุน ฮุ่ยหมิง (ซู่เจิน) ชาวซานตง ศึกษาธรรมคู่กับท่านจาง ขุยเซิน จนถึงปี 1975 ตราบสิ้นชีวิต ได้มีศิษย์เช่น เหล่าเฉียนเหริน เฉียนเหริน จนแพร่อนุตตรธรรมสมบูรณ์ ไปทั่วโลก
  • ที่สำคัญพระธรรมาจารย์นั้นสิ้นสุดลงเพียงรุ่นที่หกสิบสี่เพียงสองพระองค์เท่านั้น ไม่มีรุ่นที่หกสิบห้าหรือผู้รักษาการใด ๆ อีกต่อไป นับแต่พระธรรมจารย์ซุน ซู่เจิน สิ้นชีวิตลง งานธรรมกิจก็ดำเนินแยกไปตามแต่ละสายงานธรรมภายใต้การปกครองของท่านธรรมปริณายก เหล่าเฉียนเหริน เฉียนเหริน เตี่ยนฉวนซือ โดยไม่มีพระธรรมาจารย์อีกต่อไป แต่ได้มีคำทำนายไว้แล้วว่าภายหลังสิ้นพระธรรมจารย์ซุน ซู่เจิน แล้ว จะมีพระธรรมาจารย์ และพระบรรพจารย์ปลอมเกิดขึ้นอีกมากมาย[ต้องการอ้างอิง]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลัทธิอนุตตรธรรม http://www.96dharma.com/archives/970 http://xn--12coa0e7b6bn4bbo7kg.blogspot.com/2012/0... http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Section... http://www.thaizhouyi.com/hexagram/hexagram-basic/... http://www.vithi.com http://www.vithi.com/menu00-4.html http://www.vithi.com/vithi02.html http://www.vithidham.com/index.php?option=com_cont... http://www.vithidham.com/index.php?option=com_cont... http://www.vithidham.com/index.php?option=com_cont...