วงกตสมัยใหม่ ของ ลายวงกต

วงกตที่เซนต์แลมแบร์ทัสที่มิงโกลสไฮม์ในเยอรมนีวงกตบนพื้นภายในมหาวิหารเกรซที่ซานฟรานซิสโก

ในช่วงปีที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการรื้อฟื้นความนิยมกันในสัญลักษณ์วงกตกันขึ้นมาอีก ที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะที่วิลเลนพาร์คที่มิลตันคีนสในสหราชอาณาจักร, มหาวิหารเกรซที่ซานฟรานซิสโก หรือ “Labyrinth in Shed 16” ที่ มอนทรีออล และ จตุรัสทรินิตีในโทรอนโตในประเทศแคนาดา

หรือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างวิดีโอเกมเป็นจำนวนมากที่ใช้วงกต และวงกตปริศนาเป็นหัวใจของเกม

นักเขียนชาวอาร์เจนตินาฮอเฮ ลุยส์ บอร์เจสหลงมนต์เสนห์ของวงกตและใช้ความคิดนี้หลายครั้งในการเขียนเรื่องสั้นหลายเรื่อง การใชวงกตของบอร์เจสเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเขียนผู้อื่นเช่นอุมแบร์โต เอโคใน “The Name of the Rose”, มาร์ค ซี. แดเนียลลิวสกี ใน “House of Leaves” หรือในหนังสือแฟนตาซี “The Chronicles of Amber” โดย โรเจอร์ เซลาซนี ที่ใช้วงกตชื่อ “the Pattern” ที่ว่าถ้าผู้ใดได้เดินเข้าไปแล้วก็มีอำนาจที่จะเคลื่อนระหว่างโลกสองโลกได้ หรือในภาพยนตร์อาวองการ์ดที่ใช้จอหลายจอในเรื่อง “In the Labyrinth” นักเขียนชาวออสเตรเลียซารา ดักกลาสใช้ความคิดเกี่ยวกับวงกตในหนังสือชุด The Troy Game ที่วงกตที่สร้างในครีตเป็นวงกตหนึ่งของโลกยุคโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งของพลังอำนาจทางเวทมนตร์

ลายวงกตใช้ในงานวิจิตรศิลป์ร่วมสมัยเช่นในงาน “Dam and Ocean” โดยปิเอต์ มงดริอง (ค.ศ. 1915), “วงกต” โดย โคอัน มีโร (ค.ศ. 1923), “Minotauromachia” โดยปาโบล ปีกัสโซ (ค.ศ. 1935), “Relativity” โดย เมาริทส์ คอร์เนเลียส เอสเชอร์ (ค.ศ. 1953), “วงกต” โดย ฟรีเดนส์ไรค์ ฮุนเดอร์วาสเซอร์ (ค.ศ. 1957), “Logological Cabinet” โดย ฌอง ดูบูเฟต์ (ค.ศ. 1970), “Connemara” โดย ริชาร์ด ลอง (ค.ศ. 1971), “Earth Maze” โดย โจ ทิลสัน (ค.ศ. 1975), “Chain Link Maze” โดย ริชาร์ด ไฟลสค์เนอร์ (ค.ศ. 1978), “Atlantis Anamorphosis'” โดย อิสท์วาน โอรอสซ์ (ค.ศ. 2000), “วงกต” โดย ดมิทรี ราคอฟ (ค.ศ. 2003) และ “Labyrinthine projection” โดย โม มอราลเลส (ค.ศ. 2000)