การผลิตลูกเกด ของ ลูกเกด

การผลิตลูกเกดเชิงพาณิชย์ คือการนำผลองุ่นที่เก็บเกี่ยวมาทำให้แห้ง ซึ่งทำให้แห้งโดยการให้องุ่นระเหยน้ำจากภายในทั้งหมดผ่านทางผิวขององุ่น อยู่ [10] อย่างไรก็ตาม กระบวนการกระจายน้ำดังกล่าวทำได้ยากมากเนื่องจากผิวขององุ่นถูกเคลือบด้วยไขบางๆ[10] ด้วยเหตุนี้เอง นักฟิสิกส์และนักเคมีวิทยา จึงใช้กลไกของผิวองุ่นไปพัฒนาวิธีการป้องกันการสูญเสียน้ำ[11]

การผลิตแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนในการผลิตลูกเกดเพื่อการพาณิชย์ คือกระบวนการเตรียมการก่อนผลิต การอบแห้ง และกระบวนการหลังจากอบแห้ง[10]

การเตรียมการก่อนผลิต

การเตรียมการก่อนผลิตเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตลูกเกด เพื่อเป็นการเพิ่มอัตราการระเหยของน้ำในกระบวนการอบแห้ง [10] อัตราการระเหยของน้ำที่รวดเร็วกว่าจะช่วยลดอัตราลูกเกดที่จะเป็นสีน้ำตาลและยังทำให้ได้ลูกเกดที่สีสวยน่าพอใจ[10] วิธีการดั้งเดิมในกระบวนการนี้ถูกพัฒนาขึ้นในแถบเมดิเตอร์เรเนียน และในแถบคาบสมุทรในเอเชียไมเนอร์ ใช้การจุ่มในอิมัลชั่น ซึ่งผลิตจากโปแตสเซียมคาร์โบเนต และเอทิลเอสเตอร์ ซึ่งผลิตจากกรดไขมัน[11]การจุ่มนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการสูญเสียน้ำด้วยการจุ่ม 2-3 ครั้ง [11] ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการใหม่ให้ผิวองุ่นเปิดผิวมันออกหรือ การนำไปเจือจางในน้ำด่าง วิธีการนี้เองจะกระตุ้นให้น้ำภายในระเหยออกมาทางผิวภายนอกซึ่งช่วยให้กระบวนการอบแห้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น[10]

การอบแห้ง

Chunche, naturally ventilated sheds for drying grapes into raisins in Xinjiang

การอบแห้งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ การตากแดด การผึ่ง และการอบโดยใช้เครื่องจักร[10] การตากแดดเป็นกระบวนการที่ต้นทุนที่ไม่สูง หากแต่ต้องกังกวลใจในหลายเรื่อง เช่น การปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม การรบกวนและติดโรคจากแมลง และการเน่าเสียจากเชื่อจุลินทรีย์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และยังเป็นผลให้ได้ลูกเกดคุณภาพต่ำอีกด้วย อีกทั้งการตากแดดยังเป็นกระบวนการที่ทำไดช้าและอาจไม่ได้ลูกค้าที่น่าพึงพอใจ[10] การอบแห้งด้วยเครื่องจักรจึงเป็นกระบวนการที่ปลอดภัยที่สุดและสามารถควบคุมปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้ซึ่งทำให้การอบแห้งทำได้รวดเร็วได้อีกด้วย หนึ่งในประเภทของอบแห้งด้วยเครื่องจักร คือการใช้ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งโมเลกุลของน้ำในผลองุ่นจะดูดซับ พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟในการระเหยอย่างรวดเร็ว ความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟยังทำให้ได้ลูกเกดที่เม็ดพองฟูอีกด้วย[10]

กระบวนการหลังจากอบแห้ง

หลังจากกระบวนการทำให้แห้งเรียบร้อยแล้ว ลูกเกดจะถูกส่งไปยังอาคารซึ่งลูกเกดจะถูกทำความสะอาดด้วยน้ำเพื่อนำสิ่งเจือปนต่างๆ ออก ซึ่งยังคงอยู่ในกระบวนการอบแห้ง[10] ก้านและลูกเกดซึ่งตกเกรดจะถูกคัดทิ้งในกระบวนการนี้ด้วยเช่นกัน กระบวนการทำความสะอาดนี้อาจทำให้น้ำในลูกเกดมีมากขึ้น ดังนั้นจึงมีกระบวนการอบแห้งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กระบวนการเสร็จสมบูรณ์[10]

ขั้นตอนทั้งหมดสำคัญมากต่อกระบวนการผลิตลูกเกด ในการกำหนดคุณภาพของลูกเกด บางครั้งมีการใช้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หลังจากขั้นตอนก่อนการจัดเก็บและก่อนการอบแห้งเพื่อลดอัตราการดำของลูกเกดโดยอาศัยปฏิกิริยาทางอ๊อกซิเจนระหว่างโพลิฟีนอลและสารประกอบฟีโนลิค แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์จึงช่วยให้ลูกเกดคงรสชาติและช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินระหว่างกระบวนอบแห้ง[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลูกเกด http://www.abstractsonline.com/viewer/viewAbstract... http://www.dfaofca.com/Downloadables/DRIED/RAISIN.... http://www.etymonline.com/?term=raisin http://www.sciencedaily.com/releases/2012/03/12032... http://www.snopes.com/critters/crusader/raisins.as... http://iv.ucdavis.edu/files/24413.pdf http://ndb.nal.usda.gov/ndb/search/list http://ndb.nal.usda.gov/ndb/search/list?fg=Fruits+... http://ndb.nal.usda.gov/ndb/search/list?qlookup=09... http://www.calraisins.org/professionals/healthy-be...