ลูกโลก
ลูกโลก

ลูกโลก

ลูกโลก (อังกฤษ: globe) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ใช้สำหรับการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ โดยจำลองลักษณะของโลกหรือเทห์ฟ้าโดยอาจทำมาจากกระดาษ, พลาสติกหรืออื่น ๆ ลูกโลกทำหน้าที่คล้ายแผนที่แต่ต่างจากแผนที่ตรงที่ลูกโลกจะไม่บิดเบือนความจริงแต่จะเป็นเพียงการลดขนาดของโลกหรือเทห์ฟ้านั้น ๆ จึงทำให้สามารถแสดงภาพรวมอย่างสภาพภูมิประเทศ ขนาดประเทศและลักษณะทางกายภาพได้เหมือนจริงมากกว่า แต่ก็มีข้อเสียด้วยเช่นกันคือลูกโลกจะไม่สามารถมองภาพรวมทั้งหมดของโลกในเวลาเดี่ยวกันได้อีกทั้งยังพกพาได้ลำบากด้วยนั้นเอง[1]ลูกโลกมีสองแบบคือลูกโลกธรรมดาหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า terrestrial globe แปลตรงตัวว่าโลกบกกับอีกแบบคือทรงกลมฟ้าในภาษาอังกฤษเรียกว่า celestial globeแปลตรงตัวว่าโลกท้องฟ้าซึ่งปกติแล้วจะแสดงกลุ่มดาวบนท้องฟ้าหรือแสดงดวงดาวบนท้องฟ้าและตำแหน่งของวัตถุทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคำว่า globe มาจากภาษาละตินคำว่า globus ซึ่งมีความหมายว่าทรงกลม ลูกโลกนั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน บุคคลที่กล่าวถึงลูกโลกเป็นครั้งแรกคือสตราโบซึ่งได้อธิบายไวใน The Globe of Crates เมื่อ 150 ปีก่อนคริสต์ศักราช มาร์ติน เบไฮม์เป็นคนผลิตลูกโลกที่เก่าแก่ที่สุดชื่อว่าเออดาเฟล (Erdapfel) เมื่อ พ.ศ. 2035[2]ส่วนทรงกลมฟ้าที่เก่าแก่ที่สุดอยู่บนรูปสลักแอตลาสแบกโลกที่แกะสลักในสมัยศตวรรษที่ 2 ของจักรวรรดิโรมัน